CDIC 2023

8 มาตรฐานเทคโนโลยี Wi-Fi แห่งอนาคตที่ Network Engineer ทุกคนควรรู้จัก

NetworkWorld ได้ออกมาสรุปถึงมาตรฐาน Wi-Fi ต่างๆ และเปรียบเทียบกันเอาไว้ ทางทีมงาน TechTalkThai เห็นว่ามีหลายมาตรฐานที่เหล่าผู้อ่านน่าจะยังไม่รู้จัก จึงขอหยิบยกมาแนะนำกันในบทความนี้ด้วยกัน 8 มาตรฐานเพื่อให้ทำความรู้จักและเตรียมรับมือกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะมาในอนาคตกันได้ง่ายขึ้น ดังนี้ครับ

** บทความนี้จะข้ามมาตรฐานที่เราใช้งานกันอยู่แล้วอย่างเช่น 802.11a/b/g/n/ac ไปนะครับ

Credit: ShutterStock.com

 

1. 802.11ah

802.11ah นี้มีอีกชื่อหนึ่งว่า Wi-Fi HaLow โดยทำงานบนย่านความถี่ย่านต่ำกว่า 1GHz ลงไป ซึ่งมักจะเป็นช่วงย่าน 900MHz แต่ก็มีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศอีกเช่นกัน

802.11ah ถูกออกแบบมาเพื่อเสริมระยะ Wi-Fi ให้กับย่านความถี่ 2.4GHz และ 5GHz โดยมีความเร็วสูงสุดที่ 347Mbps และใช้พลังงานในการเชื่อมต่อที่ต่ำ อีกทั้งด้วยระยะที่ไกล ก็ทำให้ 802.11ah เหมาะกับการนำไปใช้งานร่วมกับระบบ Internet of Things (IoT) เป็นหลักนั่นเอง

 

2. 802.11ad

มาตรฐาน Wi-Fi ความเร็วระดับ 6.7Gbps ที่ย่านความถี่ 60GHz แต่มีระยะเพียงแค่ 3.3 เมตรเท่านั้น สำหรับการรับส่งข้อมูลปริมาณมหาศาลในระยะใกล้ โดยไม่ส่งสัญญาณรบกวนกับสัญญารณ Wi-Fi ย่านปกติที่ใช้งานกัน

 

3. 802.11aj

มาตรฐานนี้ต่อยอดขึ้นมาจาก 802.11ad โดยใช้ย่านความถี่ 45GHz และ 59GHz – 64GHz หรือเรียกกันว่าย่าน China Millimeter Wave โดยยังคงรองรับ Backward Compatibility กับ 802.11ad ได้ และเพิ่มย่านความถี่ที่รองรับให้มากขึ้น โดยผู้ใช้งานยังคงเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายได้ในรูปแบบเดียวกับมาตรฐาน 802.11 อื่นๆ

 

4. 802.11ak

เป็นมาตรฐานที่ถูกออกแบบมาเพื่อผสานเทคโนโลยีในมาตรฐาน 802.11 ซึ่งเป็นเทคโนโลยี Wi-Fi เข้ากับมาตรฐาน 802.3 ซึ่งเป็นเทคโนโลยี Ethernet โดยมุ่งเน้นเพื่อให้การสื่อสารบน 802.11 นี้สามารถส่งข้อมูลโดยมีการทำ 802.1q Bridged Network ได้ในตัว รวมถึงยังมีการปรับปรุง Data Rate, Security และ QoS ด้วย เพื่อให้การนำไปใช้งานภายในอาคารบ้านเรือนและโรงงานเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

5. 802.11ax

มีอีกชื่อหนึ่งว่า High Efficiency WLAN โดยถูกออกแบบมาสำหรับใช้งานในสถานที่ที่มีผู้ใช้งานหนาแน่น เช่น ภายในสนามกีฬา, ภายในสนามบิน โดยยังคงใช้ย่านความถี่ 2.4GHz และ 5GHz เช่นเดิม ด้วยเป้าหมายว่าจะออกแบบให้มีประสิทธิภาพสูงกว่า 802.11n และ 802.11ac 4 เท่าเป็นอย่างน้อย พร้อมให้มีการทำ Spectrum Utilization ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยมาตรฐานนี้คาดว่าจะถูกอนุมัติภายในเดือนกรกฎาคม 2019

 

6. 802.11ay

หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ Next Generation 60GHz โดยมีเป้าหมายเพื่อให้มี Throughput สูงสุดได้ถึง 20Gbps บนย่านความถี่ 60GHz พร้อมทั้งมีระยะรับส่งข้อมูลที่ไกลขึ้นและเสถียรยิ่งขึ้น มาตรฐานนี้คาดว่าจะถูกอนุมัติในปี 2019

 

7. 802.11az

เป็นมาตรฐานที่ถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Next Generation Positioning (NGP) โดยถูกออกแบบมาเพื่อให้สามารถระบุระยะห่างระหว่างแต่ละ Station ที่เชื่อมต่อกับ Wi-Fi มาตรฐานต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ และมีการปรับเปลี่ยน MAC Layer และ PHY Layer เพื่อให้การระบุตำแหน่งและระยะมีความแม่นยำสูงยิ่งขึ้นด้วยการใช้โปรโตคอล Fine Timing Measurement ซึ่งมาตรฐานนี้คาดว่าจะถูกอนุมัติภายในปี 2021

 

8. 802.11ba

เป็นที่รู้จักกันในชื่อ Wake-Up Radio (WUR) โดยถูกออกแบบมาเพื่อลดการใช้พลังงานในการสื่อสารและการรอรับข้อมูลของเหล่าอุปกรณ์และ Sensor ต่างๆ ภายใน IoT ให้มีอายุยืนยาวได้เป็นหลัก

 

ที่มา: https://www.networkworld.com/article/3238664/wi-fi/wi-fi-standards-and-speeds-explained-compared.html


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

ยกระดับบริการขององค์กรอย่างมั่นใจด้วย HPE Aruba Networking SASE โดย ยิบอินซอย

HPE Aruba Networking นำเสนอ Unified SASE ที่รวมเอาความสามารถของเทคโนโลยี SD-WAN และ SSE เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อความง่ายดายในการบริหารจัดการ SD-WAN, Routing, WAN Optimization ตลอดจนการบังคับใช้นโยบายความปลอดภัยได้แบบ end-to-end เพื่อให้การทำงานของแอปพลิเคชันมีประสิทธิภาพสูงขึ้น มั่นคงปลอดภัย ลดต้นทุน และพร้อมให้บริการเสมอ

ตอบโจทย์ “การควบคุมการเข้ารหัส” จากประกาศของ ก.ล.ต. ด้วยโซลูชันจาก Thales

เมื่อไม่นานมานี้ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ออกประกาศเกี่ยวกับ “แนวปฏิบัติในการจัดให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ” ซึ่งพูดถึงแนวทางของธุรกิจภายใต้การดูแลของ ก.ล.ต. ว่าต้องมีวิธีการกำกับดูแลระบบไอทีและจัดหาการรักษาความมั่นคงปลอดภัย พร้อมกันนี้ยังต้องตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ แต่ที่น่าสนใจคือหมวดหนึ่งภายใต้ประกาศคือหัวข้อ “การควบคุมการเข้ารหัส” มาถึงตรงนี้คำถามสำคัญคือ แล้วธุรกิจใดที่ถูกควบคุมภายใต้ประกาศของกลต. และท่านจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรต่อไป โดยเฉพาะการควบคุมการเข้ารหัส ต้องมีอุปกรณ์หรือโซลูชันใดที่ถูกนำเข้ามา …