หัวหน้าด้านความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล (CISO) มีงานล้นมืออยู่เสมอ วันนี้เราจึงสรุปบทความที่แนะนำการบริหารจัดการความเสี่ยงด้วยโมเดล 3 ข้อเพื่อให้ผู้บริหารสามารถจัดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเตรียมรับมือกับความท้าทายด้านไซเบอร์ที่อาจะเกิดขึ้นได้ตลอด อย่างที่มีคำกล่าวจากประธานาธิบดี Ronald Regan ว่า ‘Trust, but verify’
ควบคุมการบริหาร (Management Control)
ผู้บริหารด้านความมั่นคงปลอดภัยต้องเข้าใจว่าอะไรคือทรัพย์สินที่มีค่าขององค์กรและบริหารจัดการความเสี่ยงในด้านไซเบอร์ให้อยู่ในเกณฑ์ที่องค์กรสามารถยอมรับได้ ฟังก์ชันนี้ประกอบด้วยการควบคุมในหลายปัจจัยเช่น เหตุการณ์ความเสี่ยง การอัปเดตมาตรวัดด้านความเสี่ยง (Key Risk Indicators) บริหารจัดการผลกระทบเกี่ยวพันกับ คน กระบวนการทำงาน หรือเทคโนโลยี
การบริหารจัดการความเสี่ยง (Risk Management)
ขั้นตอนนี้คือความเสี่ยงในระดับองค์กรซึ่งจะเกี่ยวเนี่องไปถึง ข้อกำหนดขององค์กร ข้อกฏหมาย การควบคุมคุณภาพและการควบคุมด้านการเงิน โดยจะมองไปถึงการกำหนดกรอบเพื่อควบคุมการทำงานเช่น นิยามมาตรวัดด้านความเสี่ยงและวิธีการวัดผล สร้างการประเมินทรัพย์สิน ทดสอบ ติดตามและวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากขั้นตอนควบคุมการบริหารและปรับการทำงานให้สามารถลดทอนความเสี่ยงไปในจุดที่องค์กรยอมรับได้
การตรวจสอบภายใน (Internal Audit)
ขั้นตอนนี้อาจต้องใช้ผู้ตรวจสอบหรือผู้ควบคุมจากนอกองค์กร โดยขั้นตอนนี้เป็นการรับประกันว่าองค์กรมีกรอบการควบคุมความเสี่ยงภายในเหมาะสมกับความเสี่ยงขององค์กรนั้นๆ
แนวคิดที่ผู้อำนวยการหรือกรรมการระดับสูงควรหลีกเลี่ยง
กรรมการบริษัทมักได้รายงานจาก CISO อยู่เรื่อยๆ นั่นทำให้กรรมการระดับสูงเข้ามาเกี่ยวพันกับกระบวนการเหล่านี้ ซึ่งมีบางอย่างที่ผู้บริหารระดับสูงควรหลีกเลี่ยงแนวคิดดังนี้
- เทคโนโลยีความมั่นคงปลอดภัยด้านไซเบอร์ชิ้นเดียวจะสามารถแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง
- ความมั่นคงปลอดภัยด้านไซเบอร์เป็นอะไรที่กะเกณฑ์ได้ กรรมการระดับสูงควรจะมองกระบวนการภาพรวมขององค์กรที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า
- เชื่อว่ากลไกในการบริหารจัดการดีอยู่แล้ว กรรมการบริหารควรจะสนับสนุนความต้องการของ CISO เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ขององค์กรได้อย่างเหมาะสมด้วย
- CISO คนเดียวสามารถจัดการได้ทุกอย่าง
- CISO จะสามารถทำอย่างที่พูดได้ ผู้นำสูงสุดและกรรมการบริหารควรจะทราบการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เป็นลำดับแรก