Linux Foundation ออกรายงานศึกษาช่องโหว่ในซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส

Linux Foundation’s Core Infrastructure Initiative (CII) และ Labotary for Innovation of Science จากฮาร์วาร์ดได้ร่วมกันออกรายงานวิเคราะห์ช่องโหว่ในซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สหรือ Census II โดยศึกษาถึงปัจจัยของช่องโหว่ที่เกิดขึ้นและแพ็กเกจโอเพ่นซอร์สที่ได้รับความนิยมซึ่งถูกนำไปใช้เป็นส่วนประกอบในแอปพลิเคชันจริง

Credit: ShutterStock.com

ต้องบอกว่า Census II เป็นรายงานผลการศึกษาในเฟสสอง (ยังไม่จบ) ซึ่งพาร์ทแรก Census I จะศึกษาเกี่ยวกับว่าแพ็กเกจซอฟต์แวร์ไหนใน Debian ที่มีผลกระทบสำคัญต่อการทำงานของ Kernel ซึ่งในผลการศึกษาใน Census II จะศึกษาว่าส่วนประกอบโอเพ่นซอร์สไหนเป็นส่วนประกอบในแอปพลิเคชันจริงที่ถูกใช้บ่อยและมีความเสี่ยงจากช่องโหว่อย่างไร

โดยนิยามของ Free and Open Source Software (FOSS) ไม่ได้หมายถึงโปรแกรมโอเพ่นซอร์สอย่าง MySQL, Apache หรือ Linux แต่หมายถึงไลบรารีหรือส่วนประกอบเล็กๆ ที่นักพัฒนานำเข้ามาใช้ในโปรเจ็คโดยส่วนใหญ่อาจจะมีโค้ดแค่ไม่กี่ร้อยบรรทัด ซึ่งแม้ว่าจะเป็นส่วนประกอบเล็กๆ แต่ก็สร้างจุดอ่อนได้อย่างมีนัยสำคัญดังเช่นที่เกิดขึ้นกับบั๊ก Heartbleed ที่เกิดขึ้นในไลบรารี OpenSSL

สำหรับผลการศึกษากว่า 200 โปรเจ็คโอเพ่นซอร์สพบว่ามีโปรเจ็ค JavaScript ยอดนิยมคือ Async, Inherits, Isarray, Kind-of, Lodash, Minimist, Natives, QS:A, Readable-stream และ String_decoder ส่วนโปรเจ็คที่ไม่ใช่ JavaScript ที่ได้รับความนิยมคือ Com.fasterxml.jackson.core:jackson-core, Com.fasterxml.jackson.core:jackson-databind, Com.google.guava:guava, Commons-codec, Commons-io, Httpcomponents-client, Httpcomponents-core, Logback-core, Org.apache.commons:commons-lang3 และ Slf4j เป็นต้น ทั้งหมดนี้อาจจะดูไม่คุ้นสำหรับคนที่ไม่ใช่โปรแกรมเมอร์

ปัญหาที่ทีมนักวิจัยค้นพบว่าเป็นความเสี่ยงให้เกิดช่องโหว่มีดังนี้

  • ไม่มีมาตรฐานกลางในการตั้งชื่อส่วนประกอบซอฟต์แวร์เหล่านั้น ซึ่งทำให้เกิดความซับซ้อนต่อการป้องกันด้านความมั่นคงปลอดภัยตามมา โดย NIST เองพยายามแก้ปัญหามาระยะใหญ่แล้ว
  • 7 ใน 10 ของโปรเจ็คโอเพ่นซอร์สมาจากบัญชีนักพัฒนาส่วนบุคคล นั่นหมายความว่าการป้องกันยังอาจไม่เข้มงวดเท่ากับโปรเจ็คจากบริษัทยักษ์เช่น Microsoft, Google หรือ IBM เป็นต้น ทำให้เป็นไปได้ว่าเมื่อบัญชีเหล่านั้นถูกแฮ็ก อาจส่งผลกระทบในวงกว้างด้วยความนิยมของส่วนประกอบนั้นๆ
  • นักพัฒนายังไม่ยอมปรับเปลี่ยนแพ็กเกจใหม่ๆ แทนของเดิมในแอป อาจเพราะกลัวเรื่องบั๊กหรือด้วยเหตุผลใดก็ตาม ทั้งที่แพ็กเกจใหม่ก็ทำงานฟังก์ชันเดียวกัน ดังนั้นส่วนแอปพลิเคชันที่ใช้งานจริงจึงมีความเสี่ยงต่อช่องโหว่จากแพ็กเก็จเก่านั่นเอง ทั้งนี้การเขียนแอปใหม่อาจดูน่าสนุกกว่าอัปเดตโค้ดเดิมแต่ก็เป็นเรื่องจำเป็น

ผู้สนใจสามารถติดตามรายงานได้ที่ ‘Vulnerabilities in the Core, a preliminary report and Census II of open-source software

ที่มา :  https://www.zdnet.com/article/the-linux-foundation-identifies-the-most-important-open-source-software-components-and-their-problems/ และ  https://www.securitymagazine.com/articles/91752-the-linux-foundation-harvards-lab-for-innovation-science-release-census-for-open-source-software-security


About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

Google เปิดตัว Secure AI Framework แนวทางการสร้าง AI อย่างปลอดภัย

Google เปิดตัว Secure AI Framework ช่วยแนะนำแนวทางการสร้าง AI อย่างปลอดภัย

Cisco เปิดตัวบริการ Multicloud Defenese

Cisco ได้ประกาศเปิดตัวบริการใหม่ Cisco Multicloud Defense ช่วยสร้างนโยบายรักษาความมั่นคงปลอดภัยสำหรับระบบ MultiCloud รองรับผู้ให้บริการ Public Cloud หลายราย