ออกแบบ SAP HANA ด้วย Scale-Out Architecture เตรียมรับการมาของโลกยุค Big Data

ด้วยปริมาณข้อมูลในการทำธุรกิจที่เติบโตขึ้นอย่างมหาศาลในปัจจุบัน การนำระบบ In-memory Computing Platform อย่าง SAP HANA เข้ามาใช้สำหรับระบบ ERP และ Business Process นั้นจึงเริ่มกลายเป็นเรื่องที่หลีกเลียงไม่ได้อีกแล้ว เพื่อให้การประมวลผลทางธุรกิจต่างๆ นั้นเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกัน การออกแบบสถาปัตยกรรมระบบสำหรับ SAP HANA นั้น ก็สามารถใช้แนวทางการออกแบบแบบ Scale-Out เพื่อลดต้นทุนในระยะยาวและรองรับการเพิ่มขยายได้ในอนาคตอีกด้วย บทความนี้เราจะมาทำความรู้จักการออกแบบ Scale-Out System สำหรับ SAP HANA ด้วยเทคโนโลยีจาก Lenovo กันครับ

Credit: http://shopap.lenovo.com/th/en/systems/converged-systems/
Credit: http://shopap.lenovo.com/th/en/systems/converged-systems/

ระบบ Scale-Out สำหรับ SAP HANA เป็นอย่างไร?

อันที่จริงแล้ว SAP HANA นั้นรองรับการเพิ่มขยายได้ทั้งแบบ Scale-Up ด้วยการเปลี่ยน Server ไปใช้รุ่นที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ หรืออัปเกรด Storage ให้ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และแบบ Scale-Out ที่เพิ่มขยายขนาดของ Cluster ต่อไปเรื่อยๆ แต่ด้วยข้อดีหลายๆ ประการของระบบ Scale-Out นั้น ก็ทำให้การติดตั้ง SAP HANA แบบ Scale-Out ได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเช่นกัน

โดยทั่วไปแล้วการออกแบบระบบ Scale-Out Architecture สำหรับ SAP HANA นั้น มักจะเป็นการใช้ระบบ Scale-Out File System อย่างเช่น XFS และ GPFS ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับการออกแบบระบบ High Performance Computing (HPC) ที่เหมาะสมหรับระบบ SAP HANA ขนาดใหญ่ที่ต้องการประสิทธิภาพของการประมวลผลและเข้าถึงข้อมูลในแบบสูงสุดนั่นเอง

ทาง Lenovo หลังจากที่ได้เข้าซื้อกิจการในส่วนของ x86 Server มาจาก IBM แล้ว ก็ได้มีการจับมือเป็นพันธมิตรกับ IBM ในระยะยาวและนำเทคโนโลยี General Parallel File System (GPFS) ซึ่งเป็นเทคโนโลยี File System จากทาง IBM ที่ทำให้ Server แต่ละเครื่องสามารถนำ Local Storage มาทำงานผสานร่วมกันเสมือนเป็น Storage กลางระบบเดียวกันได้ เพื่อตอบรับต่อความต้องการในการใช้งาน Application ใดๆ แบบ Scale-Out ที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลเดียวกันได้ทั้งหมด และเพิ่มขยายได้อย่างง่ายดายนั่นเอง

lenovo_sap_hana_on_gpfs

 

ข้อดีของการออกแบบ SAP HANA แบบ Scale-Out ด้วย Lenovo และ GPFS

สำหรับระบบ SAP HANA ที่ออกแบบแบบ Scale-Out โดยการใช้ Lenovo System X และ IBM GPFS นั้น จะมีข้อดีดังต่อไปนี้

 

คุ้มค่าต่อการลงทุนมากกว่า

GPFS นี้สามารถใช้งานได้กับทั้งบน Server แบบ 2/4/8 Socket ทำให้สามารถตอบรับการติดตั้ง SAP HANA ในทุกๆ ขนาดได้เป็นอย่างดี ในขณะที่เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ SAN แล้ว การใช้เทคโนโลยีอย่าง GPFS นั้นจะทำให้องค์กรสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ดีกว่าเพราะไม่ต้องลงทุนกับ Hardware ในส่วนของ SAN Storage และ Storage Networking เพิ่มเติม รวมถึงการบริหารจัดการเองนั้นก็ยังมีความซับซ้อนน้อยกว่าด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้องค์กรเองก็สามารถเริ่มต้นลงทุนจากระบบขนาดเล็กๆ ก่อน เพื่อไปเพิ่มขยายแบบ Scale-Out ในภายหลังได้ ซึ่ง GPFS เองนี้ก็สามารถติดตั้งได้ตั้งแต่การเริ่มต้นใช้งาน Server ที่ 1 เครื่อง เพื่อให้ประสิทธิภาพของระบบ File System สูงขึ้นและไม่ต้องมีความวุ่นวายในการย้าย File System ในอนาคตเมื่อต้องการทำ Scale-Out อีกด้วยเช่นกัน

 

ประสิทธิภาพสูง รองรับการเพิ่มขยายได้

เดิมทีนั้น GPFS เป็นระบบ File System สำหรับใช้ในงานระดับ High Performance Computing ได้เลย ดังนั้นการนำมาใช้กับระบบของ SAP HANA นี้ก็เป็นการจับคู่กันที่น่าสนใจทีเดียว โดย GPFS นั้นสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วกว่า XFS 1.35-2 เท่า และเร็วกว่า NFS 5-10 เท่าเลยทีเดียว อีกทั้งหากเทียบกับ SAN แล้ว GPFS นั้นจะมี Latency ที่ต่ำกว่าเนื่องจากสามารถเข้าถึงข้อมูลในบางส่วนได้จาก Local Storage ในตัว ทำให้ไม่ต้องประสบปัญหา Latency จาก SAN และ Network อีกต่อไป

ในแง่ของการเพิ่มขยายนั้น Lenovo System x นี้ก็ได้ผ่านการรับรองจาก SAP โดยตรงสำหรับการติดตั้งแบบ 56-node Scale-Out Configuration ซึ่งตัวสถาปัตยกรรมการออกแบบนี้ก็รองรับการเพิ่มขยายสูงสุดได้ถึง 224-node และรองรับการจัดเก็บข้อมูลได้เกินกว่า 1,000 TB ทำให้สามารถตอบรับต่อการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาลที่จะเติบโตยิ่งขึ้นในอนาคตจากการมาของ Big Data Analytics และ Internet of Things (IoT) ได้ในตัว

 

รองรับการทำ High Availability และ Disaster Recovery ได้ง่าย

ความทนทานนั้นถือเป็นหัวใจที่สำคัญมากต่อระบบ ERP และ Business Process ของธุรกิจองค์กร GPFS นั้นจะช่วยให้การทำ Failover สามารถออกแบบได้ง่ายขึ้นโดยอาศัยเพียงแค่การเตรียม Server สำรองเอาไว้เท่านั้น ทำให้ไม่ต้องมากังวลกับความยุ่งยากในการจัดการของชั้น Storage อีกต่อไป อีกทั้ง GPFS ยังใช้แนวคิดของการทำ Failure Group ทำให้สามารถออกแบบระบบขนาดใหญ่อย่างเช่นใช้ Server 100 ชุด เป็นระบบ Active 95 เครื่องและ Standby 5 เครื่องก็ได้เช่นกัน ทำให้ความยืดหยุ่นในการทำ Failover นั้นสูงขึ้นกว่าการใช้ SAN ในการจัดเก็บข้อมูลสำหรับ SAP HANA

 

Lenovo พร้อมขยายตลาด SAP ด้วย System x และ GPFS แล้ว

จากการเข้าซื้อกิจการของ IBM ในส่วน System x มา ทำให้ปัจจุบันนี้ Lenovo ได้มีฐานลูกค้าองค์กรที่ใช้งาน SAP HANA มากกว่า 4,000 องค์กรทั่วโลกแล้ว โดย Lenovo System x นี้มี Server ทั้งขนาด 2/4/8 Socket ทำให้สามารถตอบรับต่อความต้องการ SAP HANA ได้ในทุกๆ ขนาด อีกทั้งเมื่อจับมือร่วมกับเทคโนโลยี Storage จาก IBM, Nutanix และผู้ผลิตรายอื่นๆ ก็ทำให้ Lenovo สามารถนำเสนอสถาปัตยกรรมระบบสำหรับ SAP HANA และระบบอื่นๆ ของ SAP ได้อย่างหลากหลาย ทั้งการทำ Scale-Out ด้วย GPFS, การทำ Hyperconverged Infrastructure ด้วย Nutanix และการใช้ SAN Storage เพื่อตอบโจทย์ต่อระบบ Data Center ขนาดเล็กและขนาดกลาง

 

สำหรับผู้ที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Lenovo Server ที่รองรับ SAP สามารถตรวจสอบรายการได้ที่ http://shop.lenovo.com/us/en/systems/solutions/alliances/sap/#tab-sap_certification ทันที ส่วนผู้ที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งาน SAP HANA บนระบบต่างๆ ของ Lenovo สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://shop.lenovo.com/us/en/systems/solutions/alliances/sap/#tab-sap_hana หรือติดต่อทีมงาน Lenovo Thailand เพื่อพูดคุยในรายละเอียดเชิงลึกเพิ่มขึ้นก็ได้เช่นกัน

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

แฮ็กเกอร์หน้าใหม่ ใจดีแจกฟรี FortiGate VPN Credential ของ 15,000 อุปกรณ์

Belsen Group กลุ่มแฮ็กเกอร์ที่เพิ่งปรากฏชื่อขึ้นในสื่อต่างๆ กำลังเรียกร้องความสนใจด้วยการแจกฟรีไฟล์ข้อมูลของ FortiGate ราว 15,000 อุปกรณ์ใน Dark Web ที่ภายในประกอบด้วย IP Address, VPN Credential …

ขอเชิญเข้าร่วมงาน “AWS Community Day – Thailand 2025” [25 ม.ค.2025 9:00 – 17:00 น. ณ C asean Ratchada]

หากท่านคือหนึ่งในผู้ใช้งานคลาวด์ AWS ในประเทศไทย ไม่ควรพลาดกับงาน “AWS Community Day – Thailand 2025” จาก AWS User Group (Thailand) …