สัมภาษณ์พิเศษผู้บริหาร Lenovo Thailand กับทิศทางของ Lenovo ในตลาด Data Center ที่หลายๆ คนอาจไม่รู้

lenovo_logo_w170

พอดีทางทีมงานได้มีโอกาสพูดคุยกับทางคุณจีรวุฒิ วงศ์พิมลพร กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยจากบริษัท เลอโนโว (ประเทศไทย) จำกัด ในหัวข้อเกี่ยวกับทิศทางในตลาด Data Center ของ Lenovo Thailand และการมาของเทคโนโลยี Hyper-converged Infrastructure ที่นับวันจะยิ่งเติบโตรวดเร็วมากขึ้นเรื่อยๆ ในสายตาของ Lenovo Thailand ก็ขอนำสรุปเรื่องราวการพูดคุยครั้งนี้ พร้อมกับข้อมูลที่น่าสนใจมากฝากผู้อ่านทุกท่านกัน เผื่อเป็นทางเลือกใหม่ในการลงทุนกันต่อไปดังนี้ครับ

lenovo_executives_banner

 

ทิศทางใหม่ของ Lenovo ในตลาด Data Center

เป็นที่รู้กันว่าก่อนหน้านี้ Lenovo ได้เข้าซื้อกิจการในส่วน x86 Server มาจาก IBM มาได้ระยะหนึ่งแล้ว และหลังจากที่ Lenovo ได้ค่อยๆ ทะยอยปรับเปลี่ยนนโยบายการดำเนินงานต่างๆ ให้เข้ากับความต้องการของลูกค้า พร้อมๆ กับการจัดทัพผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นสำหรับ Data Center ให้ตอบโจทย์ได้อย่างครอบคลุม ทำให้ปัจจุบัน Lenovo มีผลิตภัณฑ์ฝั่ง Data Center ครบถ้วนทั้ง Server, Storage, Network, Power Distribution Unit และ Management Software แล้ว เรียกได้ว่าเป็นการปูพื้นฐานเพื่อการต่อยอดเติบโตในตลาดของ Data Center ในอนาคตนั่นเอง

และแน่นอนว่าด้วยความที่ Lenovo ถือเป็นน้องใหม่ในวงการ Data Center ดังนั้น Lenovo จึงไม่ได้ผูกติดกับแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ใดเป็นหลัก และสามารถจับมือกับ 3rd Party Partner ชั้นนำได้ทุกยี่ห้อเพื่อนำเสนอ Solution ที่ดีที่สุดแก่องค์กรลูกค้า รวมถึงการ OEM ผลิตภัณฑ์ต่างๆ

แต่ถึงกระนั้น Lenovo ก็ไม่ได้ต้องต่อสู้ในตลาด Data Center ด้วยตัวเองเท่านั้น การเข้าซื้อกิจการ x86 Server จากทาง IBM ก็ทำให้ทุกวันนี้ Lenovo เองยังคงมีสัมพันธ์ที่ดีกับ IBM และให้ IBM เป็นหนึ่งในทีมบริการหลักให้แก่โซลูชั่นต่างๆ ของ Lenovo ในขณะที่ทีมงานของ Lenovo เองก็คอยพัฒนาบริการเสริมต่างๆ มาตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในตลาดเพิ่มเติม ทำให้ปัจจุบันนี้ Lenovo พร้อมที่จะให้บริการ On-site Service สำหรับ Hardware ต่างๆ ได้ทั่วประเทศไทยแล้ว

ในขณะเดียวกัน การเข้าซื้อกิจการ x86 Server เข้ามา ก็ยังทำให้ Lenovo เองมีผลิตภัณฑ์ครอบคลุมแบบ End-to-End ไปด้วย เพราะ Lenovo เองถือเป็นอีกหนึ่งผู้ผลิตที่มีผลิตภัณฑ์ในฝั่งของ Endpoint Device ที่ครอบคลุม ตั้งแต่ PC, Notebook, Tablet, Smartphone, Smartwatch และอื่นๆ อีกมากมาย ทำให้การพัฒนาโซลูชั่นระดับองค์กรนั้นมีความเป็นไปได้ที่หลากหลาย และตอบรับแนวโน้มการมาของ Internet of Things ได้เป็นอย่างดี

คุณจีรวุฒิ วงศ์พิมลพร กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยจากบริษัท เลอโนโว (ประเทศไทย) จำกัด
คุณจีรวุฒิ วงศ์พิมลพร กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยจากบริษัท เลอโนโว (ประเทศไทย) จำกัด

 

บุกตลาด Hyperconverged ด้วย Lenovo HX Series พร้อมเทคโนโลยีจาก Nutanix

เพิ่งเป็นอีกหนึ่งข่าวใหญ่ของ Lenovo เมื่อเร็วๆ นี้ไปกับการจับมือกับ Nutanix เพื่อรุกตลาดทั่วโลกโดยเฉพาะฝั่งเอเชียร่วมกันด้วย Lenovo HX Series ที่นำเทคโนโลยี Server ของ Lenovo มาติดตั้งเข้ากับซอฟต์แวร์ Acropolis ของ Nutanix สร้างระบบ Hyperconverged Infrastructure และรุกสู่ตลาด Data Center ขององค์กรอย่างรวดเร็ว

ในครั้งนี้ทางทีมงาน Lenovo Thailand เองก็ได้ให้ข้อมูลใหม่ๆ ที่น่าสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Lenovo HX Series เอาไว้ดังนี้ครับ

Lenovo HX Series จากการผสานเทคโนโลยีระหว่าง Lenovo และ Nutanix
Lenovo HX Series จากการผสานเทคโนโลยีระหว่าง Lenovo และ Nutanix

 

ทำไม Lenovo ถึงสนใจตลาด Hyperconverged และทำไมถึงเลือกจับมือกับ Nutanix?

ด้วยความที่ Nutanix เองก็เป็นหนึ่งในผู้ผลิตหน้าใหม่ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง และในช่วงที่ผ่านมา Nutanix ก็ได้พิสูจน์ตัวเองเป็นอย่างดีทั้งในแง่ของเทคโนโลยีและตลาดที่มีความต้องการในส่วนนี้ สอดคล้องกับกลยุทธ์ของ Lenovo ที่ปัจจุบันนี้ต้องการจับมือกับผู้ผลิตเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการนำเสนอโซลูชั่นที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า จึงเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือกันระหว่าง Lenovo และ Nutanix ในการพัฒนา Lenovo HX Series ร่วมกันในครั้งนี้

และหลังจากที่มีการประกาศตัว Lenovo HX Series ไปทั่วโลก ในไทยเองก็มีกระแสตอบรับจากลูกค้าที่ถือว่าดีมาก เนื่องจากความง่ายในการติดตั้งใช้งาน, ความทนทานที่มีมาให้ทั้งในระดับของ Software และ Hardware รวมถึงการประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาวสำหรับการลงทุนของลูกค้า ทำให้ Lenovo HX Series นี้กลายเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ ในโครงการอัพเกรด Data Center ขององค์กรแทบทุกขนาดไปแล้ว

 

แนะนำ Lenovo HX Series คร่าวๆ

ตอนนี้ Lenovo HX Series ได้ออกมาด้วยกัน 9 รุ่น ดังนี้

  • Lenovo HX7510 Server ขนาด 2U บรรจุ 1 Node สำหรับเน้นระบบที่ต้องการ IO สูงๆ และ Database โดยเฉพาะ โดยรองรับ 2.5″ HDD 24 ลูก และรองรับสูงสุด 44 CPU Cores
  • Lenovo HX5510 Server ขนาด 2U บรรจุ 1 Node สำหรับเน้นพื้นที่จัดเก็บข้อมูล โดยรองรับ 3.5″ HDD ได้ 8 ลูก และรองรับสูงสุด 36 CPU Cores
  • Lenovo HX5510-C Server ขนาด 2U บรรจุ 1 Node สำหรับเน้นพื้นที่จัดเก็บข้อมูลแต่ไม่เน้นการประมวลผล โดยรองรับ 3.5″ HDD ได้ 8 ลูก และรองรับสูงสุด 8 CPU Cores
  • Lenovo HX3710 Server ขนาด 2U บรรจุ 4 Node สำหรับเน้นการประมวลผล สำหรับ VDI และ Virtualization ขนาดเล็ก โดยแต่ละ Node รองรับ 2.5″ HDD ได้ 6 ลูก และรองรับสูงสุด 36 CPU Cores
  • Lenovo HX3510-G Server ขนาด 2U บรรจุ 1 Node สำหรับเน้นการประมวลผล สำหรับ VDI และ Virtualization ขนาดเล็ก โดยรองรับ 2.5″ HDD ได้ 8 ลูก, รองรับสูงสุด 44 CPU Cores และรองรับการเพิ่ม NVIDIA M60 GPU จำนวน 2 ชุด
  • Lenovo HX3310 Server ขนาด 1U บรรจุ 1 Node สำหรับเน้นการประมวลผล สำหรับ VDI และ Virtualization ขนาดเล็ก โดยรองรับ 2.5″ HDD ได้ 8 ลูก และรองรับสูงสุด 44 CPU Cores
  • Lenovo HX2710-E Server ขนาด 2U บรรจุ 4 Node สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก โดยแต่ละ Node รองรับ 2.5″ HDD ได้ 6 ลูก และรองรับสูงสุด 20 CPU Cores
  • Lenovo HX2310-E Server ขนาด 1U บรรจุ 1 Node สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก โดยรองรับ 2.5″ HDD ได้ 7 ลูก และรองรับสูงสุด 20 CPU Cores
  • Lenovo HX1310 Server ขนาด 1U บรรจุ 1 Node สำหรับสาขาขององค์กร โดยรองรับ 2.5″ HDD ได้ 8 ลูก และรองรับสูงสุด 14 CPU Cores

โดย Lenovo HX Series ทั้งหมดนี้จะติดตั้ง Nutanix Acropolis พร้อม Hypervisor ของ Nutanix ลงไปบน Server เริ่มต้นจำนวน 3 Node เป็นอย่างต่ำ และจะสามารถเริ่มต้นใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องซื้อ License ของระบบ Virtualization เพิ่มเติม แต่ถ้าหากต้องการใช้ VMware vSphere ก็สามารถซื้อ License แยกมาทำการติดตั้งเพิ่มได้เช่นกัน ผู้ที่สนใจสามารถตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://shop.lenovo.com/us/en/systems/converged-systems/hx_series/ ทันที

Lenovo HX Series นี้รองรับการเพิ่มขยายได้แบบ Scale-out และมี License เสริมสำหรับการเพิ่มจำนวน Node สูงสุดในการ Scale-Out, การทำ Backup และการทำ Disaster Recovery ได้ตามความต้องการ แบ่งเป็น License ระดับ Nutanix Starter, Nutanix Pro และ Nutanix Ultimate License

 

ต่อยอดเทคโนโลยีของ Nutanix ด้วย Software และบริการจาก Lenovo

คำถามที่น่าสนใจมากคำถามหนึ่งก็คือ Lenovo HX Series แตกต่างจาก Nutanix หรือผู้ผลิตรายอื่นที่ OEM Nutanix อย่างไร? ซึ่งทางทีมงาน Lenovo Thailand ก็ได้ให้ข้อมูลที่ค่อนข้างชัดเจนเอาไว้ดังนี้

  • โมเดลที่แตกต่าง: จะเห็นได้ว่าโมเดลเริ่มต้นของ Lenovo HX Series นั้นแตกต่างจาก Model เริ่มต้นของ Nutanix พอสมควร ทำให้การเจาะกลุ่มตลาดแตกต่างกันไปนั่นเอง
  • การคิดราคา License ที่แตกต่าง: Lenovo HX Series นี้จะมีการคิดราคาอ้างอิงจาก Spec ของ Hardware ที่เลือกใช้งาน ดังนั้นในหลายๆ กรณี ถึงแม้จะเป็นระบบที่ OEM จาก Nutanix เหมือนกัน แต่ราคาของ Lenovo HX Series ก็จะยืดหยุ่นและคุ้มค่ากับการลงทุนมากกว่า
  • เพิ่มระบบ Lenovo XClarity: Lenovo XClarity จะทำหน้าที่ในการตรวจสอบและบริหารจัดการ Hardware ทั้งหมดเป็นหลัก ในขณะที่ชั้นของ Software นั้นจะเป็นหน้าที่ของ Nutanix Prism ไป ทำให้การดูแลรักษา Data Center สามารถทำได้อย่างครอบคลุมและง่ายดายยิ่งขึ้น
  • บริการติดตั้งและสนับสนุนหลังการขายจาก Lenovo Thailand: ทีมงาน Lenovo Thailand มีการจัด Hardware สำรองทั้งหมดเอาไว้ในประเทศไทย พร้อมมีทีมวิศวกรพร้อมให้บริการทั้งก่อนและหลังการขายทั่วประเทศไทยแบบ 24×7 ได้อย่างครอบคลุม ทำให้องค์กรสามารถมั่นใจในการใช้งานเทคโนโลยี Hyperconverged ได้ยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน

 

ก็ขอจบเพียงเท่านี้สำหรับการสัมภาษณ์ในครั้งนี้ครับ ทางทีมงาน TechTalkThai ต้องขอขอบคุณทางทีมงาน Lenovo Thailand ที่มาให้สัมภาษณ์ในครั้งนี้ด้วยครับ

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

ยิบอินซอย เปิดพื้นที่โลกแห่งปัญญาประดิษฐ์ “YIP IN TSOI สวัสดี AI 2024” สัมผัสการทำงานของ AI เทคโนโลยีแห่งอนาคต [PR]

เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท ยิบอินซอย จำกัด ได้จัดงาน “YIP IN TSOI สวัสดี AI 2024” ขึ้น ณ ศูนย์ …

JP1/ITDM2 เพื่อการจัดการระบบไอทีที่สะดวกสบายยิ่งขึ้น

ในยุคที่องค์กรต้องพึ่งพาเทคโนโลยีทางด้านไอทีในการดำเนินงาน ส่งผลให้การจัดการสินทรัพย์ไอทีมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการติดตามสินทรัพย์ที่มีความหลากหลาย การจัดการซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งบนอุปกรณ์แต่ละตัว หรือการป้องกันความเสี่ยงเรื่องการเข้าใช้งานระบบ และความปลอดภัยของข้อมูลจากการเข้าถึงทั้งภายในและภายนอกองค์กร ซึ่งสิ่งที่กล่าวทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการทำงาน และความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ