[สัมภาษณ์] คุณสุพรรณี อำนาจมงคล แห่ง Red Hat กับมุมมองอนาคตของเทคโนโลยี Virtualization ในยุค Hybrid Cloud 

Virtualization คือเทคโนโลยีที่มีการใช้งานในวงกว้างมาอย่างยาวนาน แต่หลังจากโลกได้ผ่านยุค Digital Transformation การใช้งาน Container ได้เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยคุณสมบัติและความยืดหยุ่นของ Cloud Native จึงทำให้เทรนด์อนาคตชัดเจนแล้วว่า Workload ส่วนใหญ่จะกลายเป็น Container ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ 

หากแต่ Virtualization โดยเฉพาะ Virtual Machine (VM) ก็ยังคงมีความสำคัญและมีการใช้งานในวงกว้าง ณ ตอนนี้อยู่ดี ทีมงาน TechTalkThai ได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณสุพรรณี อำนาจมงคล ผู้จัดการประจำประเทศไทยของ Red Hat ซึ่งชี้มุมมองอนาคตของเทคโนโลยี Virtualization ในยุค Hybrid Cloud ว่าจะเป็นอย่างไรจากมุมมองผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ Open Source ชั้นนำ คุณสุพรรณีกับ Red Hat มีมุมมองอย่างไรบ้าง ติดตามได้ในบทความนี้

Virtualization หรือ Virtual Machine คือเทคโนโลยีที่มีการใช้งานในวงกว้างมาอย่างยาวนานแล้ว ด้วยประโยชน์หลากหลายประการ อาทิ ประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าการซื้อเครื่องมาจำนวนมาก ๆ สามารถแจกจ่ายทรัพยากรแบ่งส่วนในภายในอุปกรณ์เดียว ทำให้ใช้งานทรัพยากรได้คุ้มค่ามากขึ้น รวมทั้งยังช่วยทำให้ประหยัดพื้นที่ภายใน Data Center มากขึ้น เป็นต้น 

อย่างไรก็ดี คุณสุพรรณี ได้หยิบยกเอาสถิติจาก IDC ที่ชี้ให้เห็นว่าตอนนี้โลก Virtualization ในตอนนี้ แม้ว่าจะยังคงกินส่วนแบ่งตลาดได้มากที่สุดอยู่ หากแต่ในอนาคตก็อาจจะไม่ได้เป็นดังที่เคยเป็นมา และ Container คือเทคโนโลยีที่กำลังผงาดขึ้นมา และคาดว่าน่าจะกินส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดแทนเทคโนโลยี Virtualization ในอนาคตอันใกล้นี้

คุณสุพรรณี อำนาจมงคล ผู้จัดการประจำประเทศไทยของ Red Hat

“ถ้าดูเทรนด์ตามภาพนี้ จะเห็นทิศทางเลยว่าสีแดง (Virtualization) กำลังค่อย ๆ ลดลง ในขณะที่สีฟ้า (Container) กำลังค่อย ๆ เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะใน 3 ปีหลัง ซึ่งถ้าดูตัวเลขปีนี้ คือคิดเป็นประมาณ 30% แล้ว” คุณสุพรรณี อำนาจมงคล ผู้จัดการประจำประเทศไทยของ Red Hat กล่าว “มีคนกล่าวไว้ว่าภายใน 5 ปีไม่เกิน หรืออาจจะแค่ 3-4 ปีเท่านั้นที่ตัวเลขดังกล่าวจะสลับกัน”

สาเหตุสำคัญที่ทำให้เทรนด์ดังกล่าวเกิดขึ้นมา คือเหตุการณ์ความเปลี่ยนแปลงสำคัญในช่วงปลายปี 2023 ที่ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลากหลายส่วนตามมา ซึ่ง คุณสุพรรณี พบว่าองค์กรลูกค้ามีแนวความคิดแยกออกมาเป็น 2 แบบด้วยกัน ได้แก่

  • ฉันต้องการโยกย้าย (Migrate) โดยเร็วที่สุด คือการย้ายออกจากแพลตฟอร์ม Virtualization เดิมไปใช้แพลตฟอร์ม Virtualization ใหม่แทน
  • ฉันต้องการปรับปรุงให้ทันสมัย (Modernize) คือการเปลี่ยนจากการใช้งาน Virtualization ให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้นด้วยการปรับไปใช้ Container แทน หากแต่อาจจะยังคงใช้ Virtualization ควบคู่กับไปหรือที่เรียกว่า Coexist

“จากข่าวในช่วงปลายปีที่ผ่านมาถึงต้นปีที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เลยเป็นคำถามว่าแล้วลูกค้าจะปรับตัวกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงตรงนี้อย่างไรบ้าง ซึ่งจากที่ได้มีโอกาสพูดคุยกับลูกค้าแล้วพบว่ามีความคิดอยู่ 2 แบบ” คุณสุพรรณี กล่าว “สิ่งหนึ่งที่ลูกค้ามองเรื่อง Modernize คือเขาไม่สามารถ Modernize ได้ทั้งหมดไปในที่เดียว มันยังมีคำว่า Coexist ระหว่าง Workload แบบเดิมกับแบบใหม่”

จากข้อมูลที่ คุณสุพรรณี ได้รับจากลูกค้า จึงทำให้เห็นได้ว่าแม้องค์กรลูกค้าจะเลือกทำวิธี Modernization หรือปรับเปลี่ยน Workload ไปเป็นเทคโนโลยี Containerization เลยก็ตาม แต่ก็ยังคงมี Workload บางส่วนที่ยังคงจำเป็นต้องใช้งาน Virtualization แบบเดิมอยู่ดี จึงทำให้เห็นได้ว่าเทคโนโลยี Virtualization นั้นคงจะยังไม่ได้หายไปหรือว่าถูกทดแทนด้วย Container ไปเสียทั้งหมด

แต่สิ่งที่เกิดขึ้น ได้ส่งผลกระทบต่อองค์กรที่อาจจำเป็นต้องบริหารจัดการ Workload 2 รูปแบบควบคู่กันไป ซึ่งจะทำให้มีความท้าทายในหลากหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่าย การจัดการซอฟต์แวร์ 2 รูปแบบ ผู้เชี่ยวชาญที่ต้องพร้อมดูแลในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความซับซ้อนหรือการทำงานที่ซ้ำซ้อนกันไปมาได้

ด้วยเหตุนี้ Red Hat จึงมีผลิตภัณฑ์ Red Hat OpenShift Virtualization ที่พร้อมสนับสนุนให้องค์กรสามารถบริหารจัดการ Workload ทั้งรูปแบบ Virtualization หรือ Virtual Machine รวมทั้ง Container ได้ภายในแพลตฟอร์มเดียว ทำให้องค์กรสามารถจัดการได้ผ่าน Unified Platform ที่จะทำให้บริหารจัดการได้ง่าย มองเห็นในภาพเดียว และที่สำคัญคือได้ประสิทธิภาพที่ดีทั้ง 2 เทคโนโลยีในแพลตฟอร์มเดียว

“เปรียบเทียบอย่างง่าย มองว่า Data Center เหมือนมีรถสองแบบ แบบแรกคือรถยนต์ที่เปรียบเสมือน Virtualization ที่ใหญ่ แข็งแรง จุคนได้เยอะแต่อาจเคลื่อนตัวได้ช้า ในขณะที่อีกแบบคือมอเตอร์ไซค์ที่เหมาะกับอะไรที่ต้องการเล็ก ๆ เคลื่อนตัวได้ไว ไปได้ไว เปลี่ยนเส้นทางได้ง่าย ซึ่งก็เปรียบเหมือนเทคโนโลยีใหม่ที่เป็น Container” คุณสุพรรณี กล่าว 

คุณสุพรรณี อำนาจมงคล ผู้จัดการประจำประเทศไทยของ Red Hat

“เทคโนโลยีทั้งคู่ยังคงมีประโยชน์ด้วยความต้องการที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้น เราจะทำยังไงให้มีโซลูชันที่สามารถใช้ถนนเส้นเดียว คนดูแลคนเดียวกัน Skill Set แบบเดียวกันได้ เพื่อให้เป็นถนนที่รองรับได้ทั้งรถยนต์และมอเตอร์ไซค์” คุณสุพรรณี กล่าวเสริม

ทั้งหมดนี้คือมุมมองเทคโนโลยี Virtualization ในอนาคตของยุค Hybrid Cloud จากทาง คุณสุพรรณี อำนาจมงคล ผู้จัดการประจำประเทศไทยของ Red Hat ซึ่งชัดเจนว่าเทคโนโลยี Virtualization แม้ว่าจะมีการใช้งานที่ลดน้อยลงไป แต่ Virtualization ก็ยังคงมีความสำคัญและคงจะไม่ได้หายไปไหน เพราะว่าบาง Workload จะยังไม่เหมาะหรือไม่สามารถแปลงไปเป็น Container ได้ ด้วยเหตุนี้ Red Hat จึงมีผลิตภัณฑ์ Red Hat OpenShift Virtualization ที่พร้อมสนับสนุนการบริหารจัดการได้ทั้ง VM และ Container ภายในแพลตฟอร์มเดียวได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ 

“จากที่เห็น Pain Point ขององค์กรลูกค้าในการทำ Migrate หรือ Modernize แล้ว จึงมองว่า Red Hat OpenShift Virtualization น่าจะตอบโจทย์ได้ Red Hat จึงขอเป็นทางเลือกให้กับองค์กรลูกค้า สำหรับทั้งในปีนี้และปีหน้า” คุณสุพรรณี กล่าว

สนใจผลิตภัณฑ์หรือโซลูชันของ Red Hat สามารถติดต่อกับทีมงาน Red Hat ประเทศไทยได้ทันที และสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับ Red Hat OpenShift Virtualization เพิ่มเติมได้ที่นี่

About chatchai

Tech Writer แห่ง TechTalk Thai ที่สนใจในทุกนวัตกรรมและเทคโนโลยี

Check Also

รู้จัก GhostGPT แชทบอทของเหล่าร้าย ผู้ช่วยชั้นดีของแฮ็กเกอร์

โดยทั่วไปผู้คนมักคุ้นกับ ChatGPT เป็นอย่างดีแล้ว แต่อีกด้านหนึ่งเรามักได้ยินเรื่องที่ว่าแฮ็กเกอร์เองก็มี AI เพื่อช่วยในการโจมตีได้ แม้ตัว ChatGPT หรือ Generative AI ภาคปกติจะมีการป้องกันแค่ไหนก็ตามสุดท้ายแล้วในโลกที่เปิดกว้าง คนที่คิดร้ายก็มักจะหาทางได้เสมอ และ GhostGPT …

สรุปข่าวเด่น Enterprise IT ประจำสัปดาห์ [20 – 24 ม.ค.2025]

สัปดาห์ที่ปัญหาเรื่องฝุ่น PM 2.5 รุนแรงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจนทำให้หลายธุรกิจต้องพบกับความท้าทายและอาจต้องหยุดชะงักลง แต่ถึงอย่างนั้นวงการเทคโนโลยีก็ยังคงมีความก้าวหน้าต่อไป และกลางสัปดาห์นี้คืองาน Samsung Galaxy Unpacked ที่เปิดตัว S25 ซีรีส์ใหม่อย่างเป็นทางการ ที่ชัดเจนว่า AI ที่อยู่ในมือผู้ใช้จะทรงประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อย …