Black Hat Asia 2023

IEEE เริ่มร่างมาตรฐานสำหรับ Ethernet ความเร็ว 25/50/100/200/400Gbps เพิ่มเติม

IEEE ได้ประกาศเริ่มต้นร่างมาตรฐานสำหรับ Ethernet ความเร็ว 25/50/100/200/400Gbps เพิ่มเติม โดยแบ่งการร่างมาตรฐานนี้ออกเป็น 3 โครงการใหญ่ๆ ด้วยกัน ได้แก่

Credit: ShutterStock.com
Credit: ShutterStock.com
  • IEEE P802.3cc มาตรฐาน Ethernet ความเร็ว 25Gbps บน Single-mode Fiber ที่ระยะทาง 10 กิโลเมตรและ 40 กิโลเมตร คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในครึ่งหลังของปี 2017
  • IEEE P802.3cd มาตรฐาน Ethernet ความเร็ว 50Gbps, 100Gbps และ 200Gbps คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในครึ่งแรกของปี 2018
  • IEEE P802.3bs มาตรฐาน Ethernet ความเร็ว 200Gbps และ 400Gbps คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในครึ่งหลังของปี 2017

ในปลายทางความเร็ว Ethernet ทุกระดับนี้จะสามารถใช้งานได้บนทั้ง Copper, Multi-mode Fiber และ Single-mode Fiber อย่างครบถ้วน

โดยสรุปแล้ว ระบบเครือข่ายกำลังจะเร็วขึ้นไปอีกหลายขั้นเลยทีเดียวครับด้วยมาตรฐานเหล่านี้

ที่มา: http://www.networkworld.com/article/3107105/lan-wan/the-ieee-standards-association-initiates-three-new-ethernet-projects.html


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

MFEC: พลิกโฉมการจัดการ Infrastructure ตอบโจทย์ Modernize Application ด้วย VMware Tanzu

แนวคิดการยกเครื่องแอปพลิเคชันเดิมสู่บริบทของการทำงานสมัยใหม่หรือที่เรียกว่า Modernization นั้นเริ่มกลายเป็นนโยบายหลักขององค์กร เนื่องจากหลายปีที่ผ่านมาการก้าวเข้ามาของเทคโนโลยี Container นั้นได้สนับสนุนให้แนวคิดนี้ทำได้สะดวกขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้แอปพลิเคชันสามารถนำพลังจากเทคโนโลยีคลาวด์มาใช้ได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้ดูแลระบบไอทีขององค์กรกลับกำลังเผชิญกับความท้าทายมากมาย ซึ่ง VMware Tanzu คือแพลตฟอร์มที่จะช่วยให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายของการทำ Modernization ประสบความสำเร็จได้ โดยที่ยังรักษาระบบการทำงานแบบเดิม …

บริหารจัดการ Multi-Cloud ครบวงจรอย่างมั่นใจ ด้วย VMware Aria จาก Fujitsu

แม้ Multi-Cloud จะไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับธุรกิจองค์กรแล้วในทุกวันนี้ แต่การบริหารจัดการ Multi-Cloud ให้มีประสิทธิภาพได้อย่างรอบด้านนั้นก็ยังคงเป็นความท้าทายของผู้บริหารฝ่าย IT ในหลายองค์กร เพราะ Cloud แต่ละระบบนั้นต่างก็มีความแตกต่างในเชิงรายละเอียด และยากต่อการรวบรวมข้อมูลการใช้งานมาวิเคราะห์แบบรวมศูนย์