นับเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1993 ที่ IBM ไม่ได้ยื่นจดสิทธิบัตรในสหรัฐฯ มากที่สุดในปี 2022

จำนวนสิทธิบัตรของ IBM ลดลง 44% เหลือ 4,734 สิทธิบัตรในปี 2022 ครองอันดับสองรองจาก Samsung ที่ 8,513 รายการ ตามรายงานสิทธิบัตรของ Harrity 2022 Patent 300® List
จากรายงานของบลูมเบิร์ก พบว่า รายการของ “เซมิคอนดักเตอร์และหน่วยความจำฮาร์ดแวร์” ลดลงมากที่สุดในสิทธิบัตรที่ลงนามโดย IBM
IBM เปลี่ยนโฟกัสมุ่งสู่ ‘Open Innovation’ มากขึ้น โดยเปลี่ยนจากการยื่นจดสิทธิบัตรเป็นการทำงานเกี่ยวกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่น ไฮบริดคลาวด์, ข้อมูล, AI, ระบบอัตโนมัติ และควอนตัมคอมพิวติ้งผ่าน “นวัตกรรมแบบเปิด” และการร่วมมือกับองค์กรและสถาบันภายนอก นอกจากนี้ Darío Gil รองประธานอาวุโสของ IBM ได้กล่าวไว้ว่า
“IBM จะไม่ติดตามเป้าหมายของการเป็นผู้นำด้านสิทธิบัตรที่เป็นตัวเลขอีกต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม IBM ก็ยังเป็นผู้คิดค้นพัฒนาสิ่งใหม่ๆ และยังคงดำเนินการจดสิทธิบัตรสำหรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ในอนาคตต่อไป และจะคำนึงถึงผลกระทบในโลกแห่งความเป็นจริงของเทคโนโลยีนั้น ไม่ใช่แค่จำนวนสิทธิบัตรเพราะ IBM คือผู้สร้างมันขึ้นมา”
ที่ผ่านมา IBM ได้เริ่มเปิดเทคโนโลยีให้กับแหล่งข้อมูลภายนอกในปี 2016 ด้วยการเปิดแหล่งที่มาของซอฟต์แวร์ Qiskit สำหรับคอมพิวเตอร์ควอนตัม ซึ่งถูกดาวน์โหลดโดยผู้คนมากกว่า 1.5 ล้านคนนับตั้งแต่เปิดตัว ในขณะที่ผู้ใช้ IBM Quantum ที่ลงทะเบียนแล้วกว่า 400,000 รายใช้เทคโนโลยีนี้เพื่อเขียนสิ่งพิมพ์ทางวิทยาศาสตร์มากกว่า 1,700 ฉบับ
และเมื่อเดือนธันวาคม 2022 ที่แล้ว IBM ได้ประกาศว่ากำลังร่วมมือกับ Rapidus บริษัทเซมิคอนดักเตอร์ลอจิกของญี่ปุ่น เพื่อพัฒนาและนำเทคโนโลยี 2 นาโนเมตรของ IBM ไปใช้ โดย Rapidus หวังที่จะผลิตชิปขนาด 2 นาโนเมตรที่ญี่ปุ่นจากความช่วยเหลือของ IBM (แหล่งข่าวอ้างอิง : https://www.techtalkthai.com/ibm-has-partnered-with-rapidus-a-new-japanese-chip-maker/)