[Guest Post] ตัวตึง IT “ไพโรจน์ IKP” ย้ำหัวใจของ Automation คือ Integration

เมื่อเร็วๆ นี้ คุณไพโรจน์ ร่วมวิบูลย์สุข CEO แห่ง iknowplus บริษัทบริการด้าน IT ครบวงจร ขึ้นเวทีฉลองครบ 70 ปี IBM ประเทศไทย เพื่อเป็น Speaker ในหัวข้อ AI Powered Integration No Automation without Integration ที่คน IT จำนวนมากต่างรอคอยเก็บเกี่ยวความรู้อันน่าสนใจนี้ แต่สำหรับคนที่ไม่ได้ไปฟัง อย่าเพิ่งเสียใจ เพราะเรามี “คำต่อคำ” แบบละเอียดยิบ ของผู้ที่จัดว่าเป็น “ตัวตึง” แห่งโลก IT มีประสบการณ์มากกว่า 30 ปี และฝันจะดันวงการ IT ไทยให้ไปได้ไกลระดับสร้าง ซิลิคอน วัลเลย์ แห่งสยามประเทศ มาให้ได้ฟังกันแบบเก็บทุกเม็ดไม่มีพลาด!

เพราะโลกยุคนี้ AI หรือ “ปัญญาประดิษฐ์” มีบทบาทสำคัญมาก คุณไพโรจน์ ผู้ซึ่งเคยเป็นสมาชิก IBM มา 20 ปี และได้สร้าง iknowplus  มาแล้วกว่า 5 ปี ได้นำเสนอแนวคิดเรื่อง No automation without integration โดยฟันธงกันไปชัดๆ เลยว่า หากไร้ซึ่งการเชื่อมโยงข้อมูลที่ดีแล้ว ระบบอัตโนมัติทุกสิ่งอย่างในโลก IT จะไร้ซึ่งประสิทธิภาพโดยสิ้นเชิง

                “แน่นอนว่า No automation without integration หากไร้การเชื่อมโยงที่สมบูรณ์ เราจะไม่สามารถสร้างระบบอัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพได้ เทรนด์ IT ทุกวันนี้ ทุกคนพูดถึง AI  หรือ ปัญญาประดิษฐ์ โดยนำมาช่วยสร้างระบบอัตโนมัติต่างๆ สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในการสร้างโปรแกรมที่ชาญฉลาด คือการเชื่อมโยงข้อมูล แต่เราจะเชื่อมโยงข้อมูลอย่างไร จะเห็นได้ว่าระบบสามารถรู้ข้อมูลทุกอย่างได้ ก็เพราะจากการซัพพอร์ตด้วยข้อมูลต่างๆ ทว่าในความเป็นจริงแล้ว ข้อมูลส่วนใหญ่อยู่กันแบบกระจัดกระจาย และอยู่ในรูปแบบที่หลากหลาย เราจะกวาดข้อมูลทั้งหมดจากทุกที่และทุกรูปแบบไม่ได้ ถ้าเราไม่สามารถสร้างหรือมีระบบการเชื่อมโยงการเก็บข้อมูลที่ดี”            

                CEO แห่ง iknowplus พยายามอธิบายอย่างช้า ชัด ละเอียด และแม้ผู้ฟังหรือผู้อ่านที่ไม่ใช่คนในแวดวง IT ก็สามารถเข้าใจได้ และกล่าวต่อถึงความสำคัญในการบูรณาการระบบการทำข้อมูลว่า ในยุคนี้ ความฝันของธุรกิจ องค์กร หน่วยงาน บริษัท ที่ให้ความสำคัญกับการใช้ IT ในการดำเนินการ มีความต้องการที่จะไปให้ถึง Digital Transformation และการมาถึงของโควิด-19 เป็นตัวเร่งปฏิกิริยานั้น เพราะเมื่อโลกจริงหยุดชะงักเพราะ Social Distance แต่ธุรกิจและการทำงานยังต้องขับเคลื่อนตลอดเวลา การพึ่งพาความสามารถทาง IT ในการดำเนินธุรกิจและธุรกรรมต่างๆ ผ่านทางออนไลน์ได้ กลายเป็น “ทางหนีตาย” และเมื่อ โควิด-19 ซาลง จึงกลายเป็น “ทางใหม่” ที่สะดวกกว่า และลดภาระค่าใช้จ่าย รวมถึงเพิ่มโอกาสได้อย่างที่หลายคนคาดไม่ถึง เหล่าคน IT จึงเกิดคำถามว่า จะพัฒนาระบบ หรือ บริการ ของระบบอัตโนมัติต่างๆให้เร็วขึ้นตามทันโลกออนไลน์ได้อย่างไร? และเราจะมีวิธีการอย่างไรให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ เพื่อประสาน หรือ สนับสนุน การทำระบบอัตโนมัติให้รวดเร็ว?

                “ณ วันนี้เราพูดถึงระบบที่หลากหลายมากขึ้น ต่อเนื่องจาก Cloud Technology ที่เข้ามา ผมเชื่อว่าหลายองค์กร ณ วันนี้ จะมีทั้งระบบที่ใช้ DATA Center ของตัวเอง หรือไปใช้ Cloud จากคนอื่น ทั้ง IDUS Microsoft Google หรือ IBM ซึ่งบางทีก็เลี่ยงไม่พ้นเรื่องของข้อมูลที่เป็น Soft Data ที่เราจะต้องทำเรื่อง AI เพราะฉะนั้นจึงเป็นประเด็นว่า เราจะทำอย่างไรให้ข้อมูลของเราสนับสนุนหรือตามทันระบบที่ค่อนข้างซับซ้อน หรือ Application ที่เกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา ได้อย่างรวดเร็ว ส่วนหนึ่งเราต้องเผชิญกับปัญหาการเลิกจ้างบุคลากร จากที่เห็นตัวเลขอ้างอิงงานวิจัยต่างประเทศ ทักษะของบุคลากรในองค์กรจึงเป็นข้อจำกัดหนึ่งที่เราพยายามที่จะหาวิธีการใช้และการจัดการระบบและข้อมูลที่ง่ายขึ้น บริหารจัดการสะดวกมากขึ้น นั่นคือ Key Trends ที่เกี่ยวข้องว่า เทคโนโลยีจำเป็นต้องเกิดขึ้น โดยมีกระบวนการที่รองรับสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ซึ่งนั่นคือ สิ่งที่เราจะทำตัวกระตุ้นเพื่อซัพพอร์ตกระบวนด้านออนไลน์ต่าง ๆ ในการที่แต่ละองค์กรที่จะพัฒนาตัวเองไปสู่ดิจิตอลให้มีประสิทธิภาพ สิ่งที่เราต้องการก็คือ ระบบ Automation ที่รวดเร็ว ซึ่งภายใต้ระบบ Automation ที่รวดเร็ว ต้องมีระบบ Integration ที่มีประสิทธิภาพ หรือ Demand for speed automation and integration จะเห็นว่า นั่นคือสิ่งที่ต้องไปด้วยกัน มีตัวเลขจากฟอร์บส์ หรือ ดิจิศาสตร์ทางธุรกิจ พบว่า มากกว่า 70% ของ Digital transformation project เกิดความล้มเหลว เนื่องจากคุณภาพของระบบการเชื่อมโยงข้อมูลยังไม่ดีพอ”

                คุณไพโรจน์ยืนยันว่า การไม่คำนึงถึงนโยบายหรือกลยุทธ์ในมิติของการบริหารจัดการเรื่องข้อมูลที่เกิดขึ้นจากระบบต่างๆ ที่ไม่ดีพอ เป็นอุปสรรคสำคัญที่ขวางทางการไปสู่ Digital Transformation ดังนั้น สิ่งสำคัญคือกลยุทธ์ในการสร้างรูปแบบที่จะสามารถจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทาง IBM เล็งเห็นและมีวิสัยทัศน์ในเรื่องดังกล่าวอยู่แล้ว จึงได้สร้างและพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อช่วยในการจัดทำระบบ Integration เพื่อสร้างประสิทธิภาพของการเชื่อมโยง บริการ หรือจัดเก็บและบริหารข้อมูลต่างๆ ให้ดีขึ้น ใช้งานง่ายขึ้น โดยได้นำ AI เข้ามาประยุกต์ใช้ User สามารถ ดู feedback ข้อมูลกลับเข้าในระบบ สามารถควบคุมหลังบ้าน ซึ่งจะช่วยในการบริหารจัดการข้อมูลได้ง่ายและมีประสิทธิภาพขึ้น เช่นเดียวกันคือรูปแบบ Integration ที่มีขีดความสามารถในการสนับสนุนข้อมูลที่ถูกจัดเก็บในรูปแบบที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นไฟล์นามสกุลต่างๆ  ภาพ เสียง คลิป สตรีมมิ่ง รวมถึงการประยุกต์ใช้ที่หลากหลายมากขึ้น

                “การประยุกต์ใช้มีหลากหลายรูปแบบ บางประเภทใช้เพื่อเชื่อมโยงกับข้อมูลไม่เยอะ บางประเภทอาจเหมาะกับทั้งที่เป็น Hight Volume การมีความถี่ของข้อมูล อย่างเช่นพวก IOT มี Data ส่งฟรีตลอดเวลา ฉะนั้นเราต้องคำนึงถึงรูปแบบการเชื่อมโยงข้อมูลที่แตกต่างกัน ตัว solution จึงสามารถเลือกใช้ตามรูปแบบการเชื่อมโยงแตกต่างกันได้ แล้ว Automation เข้ามามีบทบาทอย่างไร เรื่องนี้ในมุมของการ Engage ลูกค้า ณ วันนี้ เปลี่ยนไป ทุกคนเข้าถึง Mobile ที่เป็น Smartphone และ ทุกอย่างกลายเป็น Self Service เราพยายามให้ลูกค้าใช้บริการด้วยตัวเอง สามารถที่จะรวบรวมและเสิร์ฟข้อมูลทุกอย่างอยู่กับที่ให้กับลูกค้า เพราะฉะนั้นเหล่านี้คือระบบอัตโนมัติทั้งสิ้น เราจะต้องเอาข้อมูลต่างๆในองค์กรหรือแม้กระทั่งที่อยู่ภายนอกเชื่อมโยงเข้ามา เช่น  การเงิน ธนาคาร เราไปสมัครกู้ขอสินเชื่อ ข้อมูลที่เกิดขึ้นก็จะมีความเกี่ยวข้องตั้งแต่ใบสมัคร เรื่องข้อมูลดอกเบี้ยต่างๆที่เราจะได้ หรือแม้แต่พวกข้อมูลที่เป็นฝั่งผู้ขอสมัครที่จะต้องยินยอมให้กับทางธนาคาร สิ่งเหล่านี้เราจะมีวิธีการเชื่อมโยงยังไงให้รวดเร็ว รวมถึงกรณีที่มีการอนุมัติแล้วไปถึงการแจ้งผล จะเห็นได้ว่าเทคนิคต่างๆอาจจะมีการใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกัน บางอย่างอาจจะเชื่อมต่อ NBI บางอย่างอาจจะเชื่อมป็นเทคโนโลยีแบบเดิมที่ต้องเชื่อมระบบเดิมๆ อยู่ บางอย่างข้อมูลเยอะมาก ก็ต้องมาคิดว่าต้องใช้วิธีแบบไหน เพราะอย่างนี้เอง รูปแบบของการช่วงเชื่อมโยงข้อมูล ก็จะหลากหลาย เช่นเดียวกันกับเรื่องของการจองตั๋วเครื่องบินผ่านแอพฯ อาจมีตั้งแต่ข้อมูลของไฟล์ แม้แต่การติดขัดอะไรที่เกิดขึ้น ก็มี Chat Bot ช่วยตอบ แต่ต้องอย่าลืมว่า เราต้องมีข้อมูลให้ Chat Bot เรียนรู้เพื่อมาคุยกับผู้ขอใช้บริการ รวมถึงการแจ้งเตือนต่างๆ ดังนั้นจะเห็นว่ารูปแบบของการเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับการเชื่อมโยงข้อมูลหลังบ้านหมดแล้วแต่แต่ละที่แต่ละองค์กรแตกต่างกัน”                  

                 คุณ ไพโรจน์ CEO ของ iknowplus อธิบายเพิ่มเติมอีกว่า รูปแบบของการทำ integration ทุกวันนี้ จะมีตั้งแต่ API หรืออาจมีลักษณะที่เป็น Messaging Steaming File Transfer หลากหลาย สิ่งเหล่านี้เป็น Interface ของ User Mobile Application ส่วนหลังบ้านอาจจะมีระบบ AI RPA สร้าง Bot หรือโปรแกรมโต้ตอบผู้ใช้ แต่สิ่งสำคัญหลังจากนั้น คือ “ข้อมูล” ซึ่งข้อมูลอาจจะอยู่บน Cloud Data Center ที่มีการเขียน Condition ต่างๆ ทำให้เห็นได้ชัดเจนว่า เหล่านี้คือสิ่งที่ Integration มีความซับซ้อนในการที่จะสนับสนุนการทำระบบอัตโนมัติต่างๆ ดังนั้นความสำคัญของระบบ Integration คือ “หัวใจ”  ยิ่งตอนนี้โลกต้องการข้อมูลที่เป็น Real-Time มากเท่าใด ระบบการเชื่อมโยงยิ่งต้องมีความสัมพันธ์มากขึ้นเท่านั้น เพราะฉะนั้นในส่วนของการออกแบบ Integration ก็มีมุมมองที่เปลี่ยนไปนับตั้งแต่กระบวนการของกระบวนการของ People & Process , Architecture , Technology ที่เปลี่ยนไป การเขียนโค้ด การควบคุม ที่ทันที่ที่ลงระบบบ User ก็ สามารถมอนิเตอร์ได้ทันที นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นตอบสนองการเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วของโลกที่เกิดขึ้น

                “เพราะฉะนั้นกระบวนการ Approach ของ Ownership จะเปลี่ยนไป จากแต่ก่อนคนที่รับผิดชอบ Integration จะมีทีมงานส่วนกลาง แต่ตอนนี้ดีไซน์สมัยใหม่จะให้ระบบมาอยู่ที่ Ownership ในส่วนของ Architecture พยายามทำเป็นคอนเซปต์ เป็น File Plain คือ ลด Impact เวลาขึ้นระบบ ลด Emergency ระหว่างโค้ด ถ้าเกิดปัญหาขึ้น เราสามารถที่จะไม่ต้องรีสตาร์ทระบบ แต่มีระบบการรองรับ และมีสเกลที่สามารถรองรับการ Overload ได้ปริมาณเยอะ เพื่อไปถึง Cloud Native Technology แต่เดิม คือ Intra-Base Project ที่ทีมจะประกอบด้วย ทีมIT ดู Hardware ดู Application รวมกัน มีส่วนที่เป็น Product Specialist แต่เดี๋ยวนี้ไม่ใช่ คอนเซ็ปต์มันกลายเป็นแอพพลิเคชัน ในรูปแบบ Business ถูกยุบเหลือ Role เดียว ทำหน้าที่ผ่าน Cloud Technology ขอข้อมูล ทรัพยากรผ่าน Cloud ในรูปแบบที่เรียกว่า Cloud Native  กระบวนการที่ต้องมี Specialist จะหายไป ส่วน Developer แค่เป็นส่วนที่คอยแนะนำว่าชุดข้อมูลนี้จะไปเทคโนโลยีไหน รูปแบบบทบาทของคนในองค์กรก็จะเปลี่ยนไปด้วยเทคโนโลยีที่ใช้ในลักษณะ Cloud Native ซึ่งทำให้เกิดรูปแบบการลด Error ของการเขียน Code ต่างๆ ระบบทดสอบ สร้างคอนเซปอิมเมจเชื่อมโยงกับธุรกิจ ที่มีฟังก์ชั่นตอบสนอง Intergrader จะเห็นได้ว่าโมเดลมันเปลี่ยนไปจากระบบแบบเดิมๆ ในระบบเดิมจะมี Middle ware คือ Centrally Old Antimonate ทีมตรงกลางที่คอยดูแล Middleware สิ่งที่เราจะเห็นคือ ตัวแอพพลิเคชั่นทุกอย่างมีการเชื่อมโยงกันผ่าน Middle ware เป็นคนกลางบริหารจัดการทั้งหมด แต่แนวคิดสมัยใหม่ไม่ใช่ ด้วย Concept ของ Micro Service หรือ Cloud Native โดย Owner จะดูแลส่วนที่ Integration ที่รับผิดชอบโดยตัวระบบเอง ดังนั้น Concept Micro Service  คือ แต่ละคนในทีมสามารถทำงานของตัวเองได้เลย ไม่ต้องทำงานรอกัน ทำโค้ดของตัวเองได้เลย”

                นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลง People Process แล้ว คุณไพโรจน์ยังกล่าวถึงเทคโนโลยีที่เป็นแพลตฟอร์ม ซึ่งเปลี่ยนไปในเชิงที่ Concept Multi อยู่ในรูปแบบ Concept Container Base โดยเป็นตัวช่วยให้ใช้ทรัพยากรมีประสิทธิภาพมากขึ้น Overhead น้อยลง แต่บริหารจัดการ Port Trinity การย้ายระบบบน Cloud ได้ดีขึ้น ซึ่ง Ideal Solution คือ จะนำ Software ที่เป็น Cloud Pack เข้ามามีตั้งแต่ Certified Container ผ่านการทดสอบแล้ว มีระบบ Priority แล้ว มีบริหารจัดหารที่พร้อมติดตั้งทุกอย่าง ใช้ทรัพยากรน้อยลง ทั้งหมดนี้คือส่วนของประโยชน์ของ Integrator ของ IBM ที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีแนวคิดของ Cloud Native เข้ามา โดยที่มีการปรับเรื่อง คน เทคโนโลยี ที่นำเข้ามาใช้ ซึ่งผลิตภัณฑ์ตัวนี้ เรียกว่า Cloud Pack for Integration ภายในประกอบด้วย Module ต่างๆ ตั้งแต่ Management App Integration  Enterprise Messaging เราสามารถสร้างระบบผ่านตัว AI โดยเชื่อมโยงกับ Automation Foundation ทุกอย่างคือการเชื่อมโยง ทุกอย่างจะอยู่บน Technology Container ที่จะอยู่บน Cloud ของ Vender ใดก็ได้ เพราะแพลตฟอร์มตัวนี้รองรับการสนับสนุนระบบอัตโนมัติต่างๆ โดยจะมีส่วนที่มีให้ฟรี คือ Foundation Dashboard ตัว Core คิดค่า License แบ่งกลุ่มตามการเชื่อมโยงข้อมูลที่อยู่ใน Pack ของ Cloud Pack Integration คือ ระบบ API มาตรฐานในการเชื่อมโยงรูปแบบ

                “ในส่วนของ App Integration จะใช้ในเชิงที่ข้อมูลยังเป็นแบบเดิมๆ ที่เรายังต้องการเชื่อมโยงอยู่ ส่วนของ Enterprise Messaging คือ Message Que ของ IBM, Streaming Concept, File Transfer ช่วยส่งผ่านข้อมูลไฟล์ใหญ่ๆ และ security ในการเชื่อมโยงข้อมูลทั้งหมด หน้าจอทำทุกอย่างผ่าน CI, CD, Management Monitor, หน้า Dashboard แสดง Data ข้อมูลแบบเรียลไทม์ สามารถควบคุม Performance หรือ ปัญหาได้ และพร้อมแก้ไข ดังนั้น Cloud pack ของ IBM เป็น Cloud Native Ready ออกแบบโดยใช้ Concept Micro Service แล้วยังมีเครื่องมือ Transformation Advisor สำหรับลูกค้าเดิมที่ต้องการ Drive ข้อมูลมาอยู่แพลตฟอร์มใหม่อีกด้วย” CEO แห่ง iknowplus ทิ้งท้าย

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ iknowplus
email : contact@iknowplus.co.th
Tel : 02-048-7272

 

About Maylada

Check Also

รู้จัก GhostGPT แชทบอทของเหล่าร้าย ผู้ช่วยชั้นดีของแฮ็กเกอร์

โดยทั่วไปผู้คนมักคุ้นกับ ChatGPT เป็นอย่างดีแล้ว แต่อีกด้านหนึ่งเรามักได้ยินเรื่องที่ว่าแฮ็กเกอร์เองก็มี AI เพื่อช่วยในการโจมตีได้ แม้ตัว ChatGPT หรือ Generative AI ภาคปกติจะมีการป้องกันแค่ไหนก็ตามสุดท้ายแล้วในโลกที่เปิดกว้าง คนที่คิดร้ายก็มักจะหาทางได้เสมอ และ GhostGPT …

SAP ร่วมกับ Microsoft กระตุ้นลูกค้าเข้าสู่โครงการ RISE with SAP ผ่าน Azure

RISE with SAP เป็นแคมเปญส่งเสริมกระตุ้นให้ผู้ใช้งานเดินทางสู่ ERP บนเวอร์ชันคลาวด์ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า โดยประกาศล่าสุดแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือที่ Microsoft และ SAP มีร่วมกันเพื่อสนับสนุนลูกค้าที่สนใจใช้โครงสร้างพื้นฐานของ Microsoft Azure