ฟรี eBook: แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยศูนย์วิจัยกฎหมายและการพัฒนา จุฬาฯ

ศูนย์วิจัยกฎหมายและการพัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดให้ดาวน์โหลด eBook เรื่อง “แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Thailand Data Protection Guidelines 1.0)” ฉบับภาษาไทย เพื่อให้องค์กรและหน่วยงานนำไปประยุกต์ใช้สำหรับจัดเก็บ รวบรวม นำไปใช้ และปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลทั้งของพนักงานและลูกค้าให้สอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรปหรือ GDPR ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดไปศึกษาได้ฟรี

หลังจากที่ GDPR หรือ General Data Protection Regulation ประกาศบังคับใช้เมื่อเดือนพฤษภาคม 2018 ที่ผ่านมา โดยมีข้อกำหนดให้องค์กรต่างๆ ที่มีธุรกรรมหรือการดำเนินการบนอินเทอร์เน็ตที่มีข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภคต้องปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ ที่เข้มงวดขึ้นเพื่อเพิ่มความคุ้มครองข้อมูลส่วนตัวของบุคคล ศูนย์วิจัยกฎหมายและการพัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงร่วมกันกับองค์กรภาครัฐและเอกชน ทำการศึกษา วิจัย และประชุมกลุ่มย่อย เพื่อจัดทำเอกสาร “แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” ฉบับนี้ขึ้นมา เพื่อให้องค์กรและผู้ประกอบการของไทยสามารถนำแนวทางปฏิบัตินี้ไปใช้เพื่อให้การดำเนินการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีความมั่นคงปลอดภัยและได้มาตรฐานที่ทุกคนให้การยอมรับ

เอกสาร eBook เรื่อง “แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” ฉบับนี้มีความยาว 107 หน้า ครอบคลุมเนื้อหาตั้งแต่การแนะนำ GDPR, แนวทางปฏิบัติเพื่อการกำหนดและแยกแยะข้อมูลส่วนบุคคล, ฐานในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล, หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ควบคุมและประมวลผลข้อมูล ไปจนถึงคำถามที่พบบ่อย ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลด eBook ได้ฟรี

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

เจาะลึกเครื่องมือการโจมตีแบบร้ายแรง Web DDoS “MegaMedusa” โดยกลุ่มก่อการร้ายทางโลกไซเบอร์ “RipperSec”

RipperSec เป็นกลุ่มนักเคลื่อนไหวจากมาเลเซียหรือที่ถูกจัดประเภทว่าเป็นแฮ็กเกอร์ประเภท Hacktivism ทั้งนี้มีแรงจูงใจมาจากความขัดแย้งระหว่างอิสลาเอลและชาติมุสลิม โดยคนร้ายมีการใช้เครื่องมือเพื่อทำ We DDoS ที่ชื่อว่า MegaMedusa โดยในบทความนี้ Radware จะชวนทุกท่านมาติดตามการดำเนินงานและกลยุทธ์ของเครื่องมือดังกล่าว โดยมีหัวข้อที่น่าสนใจดังนี้

GitLab แก้ไขช่องโหว่ความรุนแรงสูงในการยืนยันตัวตนแบบ SAML

GitLab ออกอัปเดตความปลอดภัยแก้ไขช่องโหว่ความรุนแรงสูงในการยืนยันตัวตนแบบ SAML ที่ส่งผลกระทบต่อ GitLab Community Edition (CE) และ Enterprise Edition (EE) แบบ self-managed