นักวิทยาศาสตร์จาก DARPA หน่วยงานวิจัยเทคโนโลยีของสหรัฐฯ ออกมาระบุว่า ขณะนี้ทาง DARPA กำลังสนใจการรับส่งข้อมูลไร้สายบนย่านความถี่ต่ำระดับ 0.3 – 30 kHz และกำลังเตรียมพัฒนาโครงสร้างทางกายใหม่ให้มีความซับซ้อนและขนาดเล็กลงจากเทคโนโลยีที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน แต่ยังคงสามารถรับส่งสัญญาณได้ดีเหมือนเดิม
DARPA ระบุไว้ใน Request for Information ว่า “บนย่านความถี่ต่ำระดับนี้ ความยาวคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าบนพื้นที่โล่งจะมีระดับเป็นสิบกิโลเมตร ส่งผลให้จำเป็นต้องมีโครงสร้างขนาดใหญ่ในการรับส่งข้อมูลเมื่อใช้เทคโนโลยีเสารับส่งสัญญาณในปัจจุบัน เสาสัญญาณทั่วไปมักมีขนาดเล็กกว่าความยาวคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามาก กล่าวคือจะมีขนาดเพียงแค่ 1 ใน 10 ของความยาวคลื่นเท่านั้น [แต่เมื่อความยาวคลื่นมีขนาดหลายสิบกิโลเมตร ย่อมทำให้เสาสัญญาณมีขนาดใหญ่มากอยู่ดี] DARPA กำลังมองหานวัตกรรมใหม่ที่จะช่วยให้เสาสัญญาณลดขนาดลงเหลือ 1/10,000 ของความยาวคลื่น หรืออย่างน้อยที่สุดก็มีขนาดเล็กกว่าเทคโนโลยีที่ดีที่สุดในปัจจุบัน 103 เท่า”
การลดขนาดลงอย่ามหาศาลนี้ไม่มีทางเป็นไปได้เลยกับการออกแบบเสารับส่งสัญญาณที่ใช้กันอยู่ในปัจจบัน DARPA ระบุว่าขณะนี้กำลังเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ วัสดุที่ใช้ กลไกการดำเนินการต่างๆ และภาพรวมของสถาปัตยกรรมที่ใช้ในการรับส่งข้อมูล เพื่อระบุความต้านทานที่เหมาะสม การจัดการกับพลังงาน การมอดูเลตสัญญาณ การขยายระบบ และประเด็นอื่นๆ ที่อาจนำมาปรับใช้ให้เสารับส่งสัญญาณมีขนาดเล็กลงได้
นอกจากการรับส่งข้อมูลบนย่านความถี่ต่ำแล้ว DARPA ยังให้ความสนใจระบบเครือข่ายไร้สายอีกหลายประเด็น เช่น
- ออกแบบแผงวงจรซิลิกอนเพื่อเพิ่มสมรรถนะของคลื่นสัญญาณวิทยุให้สูงขึ้น 2 เท่า ซึ่งจะช่วยให้สามารถเชื่อมต่อได้เร็วขึ้น ในขณะที่มีขนาดเล็กและราคาถูกลง
- จัดการแข่งขัน Spectrum Collaboration Challenge โดยมีจุดประสงค์เพื่อนำ Machine Learning ระดับสูงมาใช้ปรับแต่งสเปกตรัมของระบบเครือข่ายไร้สาย