CDIC 2023

AWS ร่วมกับ เดลิเทค (ประเทศไทย) เสริมภาคธุรกิจประยุกต์ใช้งาน AI และ Machine Learning

เมื่อวันพุธที่ผ่านมาทางทีมงาน TechTalkThai ได้มีโอกาสไปร่วมงานรอบสื่อมวลชนที่จัดขึ้นโดย AWS ประเทศไทยเพื่อส่งเสริมให้วงการธุรกิจให้หันมาใช้งาน AI และ Machine Learning กันมากขึ้น โดยเราได้รับเกียรติบรรยายในส่วนของฝั่งผลิตภัณฑ์ของ AWS จาก คุณ สุรวุฐิ์ พรทาบทอง Solution Architect บริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด และ ดร.วิชญ์ เนียรนาทตระกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เดลิเทค (ประเทศไทย) จำกัด มาบรรยายโซลูชันการใช้งานที่เกิดขึ้นจริงในประเทศไทยครับ

นายสุรวุฐิ์ พรทาบทอง AWS Solution Architect

AWS แรกเริ่มเดิมทีเกิดมาจากธุรกิจขายหนังสือออนไลน์ซึ่งได้เริ่มนำนวัตกรรมด้าน AI มาใช้นานแล้วด้วยการทำระบบ Recommedation เพื่อแนะนำลูกค้าว่ามีสินค้าอะไรน่าสนใจและน่าจะตรงกับความสนใจของลูกค้าเพื่อช่วยเรื่องของยอดขาย นอกจากนี้แล้วยังได้ยกตัวอย่างว่าในคลังสินค้าเองก็ได้ใช้หุ่นยนต์เพื่อจัดการกับของที่จัดวางอยู่บนชั้นโดยสามารถคละสินค้าได้อันเนื่องมาจากความสามารถในการทำนายว่าเมื่อลูกค้าซื้อสินค้านั้นไปแล้วมีแนวโน้มว่าจะซื้อสินค้าใดต่อได้ อีกตัวอย่างหนึ่งคือ Amazon Go หรือซูปเปร์มาร์เก็ตที่ไม่ต้องมีพนักงานคิดเงินโดยอาศัยนวัตกรรมของ Computer Vision ผนวกกับ Deep Learning เพื่อตรวจจับการเคลื่อนไหวได้อย่างแม่นยำ เป็นต้น ทั้งหมดนี้คือนวัตกรรมที่ AWS มีและอยากจะนำมาแบ่งปันเพื่อให้ธุรกิจได้นำไปต่อยอดใช้งานเพื่อผลประโยชน์ในการขายมากขึ้น

นอกจากนี้ในส่วนของความหมาย AI และ Machine Learning นั้นคุณ สุรวุฐิ์ ได้ให้ความหมายว่า “AI หมายถึงการพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถได้เหมือนมนุษย์อาจจะเป็นเขียนโปรแกรมหรือทำสคริปต์ไว้ก็ได้ แต่เมื่อโจทย์ยากขึ้นเราก็ใช้ Machine Learning เพื่อเรียนรู้ข้อมูล ต่อมาในการตัดสินใจที่ยากขึ้นและฝั่งฮาร์ดแวร์ปัจจุบันมีประสิทธิภาพเพิ่มมากแล้ว โจทย์เช่น การเล่นหมากรุกเราไม่สามารถทราบความเป็นไปได้ทั้งหมดจึงใช้อัลกอริทึมอย่าง Deep Learning เข้ามาช่วยแก้ปัญหาที่ซับซ้อนกว่าเดิม

Credit : AWS Thailand Presentation

ในฝั่ง AWS นั้นได้นำเสนอโมดูลต่างๆ เพื่อตอบโจทย์ให้ภาคธุรกิจสามารถเข้าถึง AI และ Machine Learning ได้ง่ายมากขึ้นผ่านทาง API โดยแกนหลักแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ Application Services และ AI Platform & Engine (ตามรูปด้านบน) ปัจจุบันบริการแอปพลิเคชันที่ AWS ให้บริการครอบคลุมมีดังนี้

  • Amazon Rekognition – สามารถทำการตรวจจับวัตถุในภาพว่าคืออะไร เช่น นำไปใช้ตรวจจับว่าวัตถุในภาพเป็น คน สัตว์ หรือสิ่งของอะไร ภาพนั้นเป็นภาพอนาจารหรือไม่ หรือ นำไปใช้จดจำหน้าบุคคลมีชื่อเสียง หรือ ระบบสแกนใบหน้าว่าใครเป็นเจ้าของบ้าน การทำเปรียบเทียบใบหน้าเพื่อค้นหาบุคคลที่สูญหายจากรูปภาพบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต การค้น Text ในรูปภาพว่ามีอะไรบ้าง นอกจากนั้น AWS ยังสามารถค้นเนื้อหาในวิดีโอทั้งแบบ Online และ Store (บันทึกไว้ก่อน) ว่ามีวัตถุหรือบุคคลใดปรากฏในวิดีโอช่วงไหน นี่เป็นเพียงตัวอย่างเบื้องต้นเท่านั้นที่สามารถนำบริการจาก AWS ไปประยุกต์ใช้งานได้
  • Amazon Lex – เป็น Chatbot ที่สามารถให้บริการได้ทั้ง Text และ Voice สามารถประยุกต์ใช้งานในภาคธุรกิจที่ให้บริการได้อย่างทันสมัย
  • Amazon Polly – เป็นการแปลง Text ให้อ่านเป็นเสียงได้ เช่น ประยุกต์ใช้กับการพากย์ภาพยนต์หรือนิทานได้
  • Amazon Transcribe – แปลงเสียงเป็น Text เช่น นำไปใช้ในกระบวนการบันทึกเสียงต่างๆ อย่าง Call Center หรือ การบันทึกคดีได้
  • Amazon Translate – ตัวแปลงภาษา
  • Amazon Comprehend – บริการ Natural Language Processing (NLP) ที่ใช้ ML เพื่อหาคำหรือความสัมพันธ์ภายในข้อความได้ เช่น การอ่านจับใจความสำคัญ อีกทั้งทราบความรู้สึกว่าเป็นด้านบวกหรือลบได้ ดังนั้นเราอาจจะจับคู่ Comprehend, Lex และ Transcibe มาเพื่อพัฒนาบริการให้สามารถทราบความรู้สึกของลูกค้าได้

กรณีที่ต้องการทำ Customize Model ให้เข้ากับโจทย์ของข้อมูลที่ Amazon ไม่ได้ให้มานั้นในส่วนของ SageMaker หรือแพลต์ฟอร์มการสร้างโมเดลด้าน AI และ ML นั้นเข้ามาเพื่อช่วยให้ Data Scientist นั้นทำงานได้ง่ายมากขึ้นตั้งแต่การนำข้อมูลเข้า สร้างโมเดลทางคณิตศาสตร์มีส่วนช่วยให้การแนะนำ Tunning Parameter ของ Model และติดตั้งเพื่อใช้งานโดยไม่ต้องกังวลเรื่องของ Resource มากนัก เพราะทาง AWS ทราบดีว่า Data Scienctist หรือ Data Engineer นั้นขาดแคลนขนาดไหน อีกทั้งยังมีส่วนหน้าช่วยในการย้ายข้อมูลปริมาณมากขึ้น Cloud ตั้งแต่หลักหลายสิบ Terabyte ไปจนถึงระดับ Petabyte โดยบริการ เช่น Kinesis, Snowball, Snowmobile, DBS Migration (ย้าย Database) เป็นต้น

ดร.วิชญ์ เนียรนาทตระกูล Dailitech

บริษัท เดลิเทค (ประเทศไทย) จำกัด เป็นบริษัทที่เป็น SI ให้คำปรึกษาด้านการนำ Innovation AI เข้าไปตอบโจทย์ให้ลูกค้าในองค์กรธุรกิจต่างๆ ซึ่ง ดร. วิชญ์ เนียรนาทตระกูล, กรรมการผู้จัดการ กล่าวว่าตนนั้นสงสัยว่า “ทำไมเกิด Data Innovation ในต่างประเทศเช่น Nextflix และ Uber?” แล้วเราจะสามารถนำนวัตกรรมเหล่านั้นมาตอบโจทย์ให้ลูกค้าในองค์กรประเทศไทยได้อย่างไร นอกจากนี้ยังให้แนวคิดว่าปัจจุบันองค์กรไม่สามารถทำแอปพลิเคชันแนวเดิมๆ ที่มีการคลิกตอบโต้อย่างเดียวได้แล้ว ต้องคิดและปรับตัวแล้วว่าจะมีการนำ Chatbot เข้ามาใช้งานได้อย่างไรเพราะมันเป็นเทรนด์ที่คนต้องการ ซึ่งกรณีศึกษา 2 กรณีที่หยิบยกขึ้นคือ

  • แสนสิริ A.I. Box คือ Home Automation (เป็นเหมือนผู้ช่วยส่วนตัว) เช่น พยากรณ์อากาศ ถามสภาพการจราจร สั่งการเครื่องใช้ต่างๆ เป็นต้น
  • อีกตัวอย่างหนึ่งที่กำลังทำอยู่คือ การทำ Shelf Space Share เพื่อดูว่าสินค้าของตนนั้นมีสัดส่วนบนชั้นสินค้าเท่าไหร่ให้ผู้ผลิตสินค้าสามารถนำไปใช้เจรจาต่อรองกับหน้าร้านได้ว่าสินค้าของตนนั้นมีจำนวนอย่างไร พร้อมทั้งมีหลักฐานได้ด้วย ทั้งนี้เพื่อลดจำนวนคนที่ต้องเข้าไปนับสินค้าเพียงแค่เข้าไปถ่ายรูปชั้นวางของตนและโปรแกรมจะนำภาพถ่ายไปวิเคราะห์หาโลโก้บนสินค้า ดังนั้นจะสามารถทราบถึงจำนวนของสินค้าคู่แข่งได้ด้วย

ด้วยประสบการณ์ที่มีมาอย่างยาวนานเกือบ 10 ปีในด้าน AI และ ML ทางเดลิเทคเองได้ทำเรื่องการตัดคำภาษาไทยมาก่อน ปัจจุบันได้ประยุกต์ใช้เครื่องมือของ AWS ให้สามารถตอบโจทย์องค์กรด้าน DevOps และ ML ได้ง่ายมากขึ้นอีกทั้งยังทราบผลได้รวดเร็ว โดยลูกค้าจะรู้ผลโดยใช้เวลาไม่กี่เดือนว่าโปรเจ็คนั้นสามารถเกิดได้หรือไม่ ไม่เหมือนสมัยก่อนที่ต้องใช้เวลาเป็นปีๆ แต่อย่างไรก็ตามทาง ดร. วิชญ์ และทีมงานได้แนะนำว่าบริษัทที่ต้องการใช้งาน AI หรือ ML ในองค์กรควรจะมีคุณสมบัติดังนี้

  • มีข้อมูลที่เป็นรูปแบบของดิจิตอลโดยต้อง Transform ข้อมูลแบบกระดาษเป็น Digital ทั้งหมดเสียก่อน
  • มีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลด้วย
  • มีการบริหารและจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบที่ดี
  • เตรียมทีมให้พร้อมสอดรับกับเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

สำหรับผู้สนใจ หรือ นักศึกษาที่กำลังเรียนอยู่ทาง ดร. วิชญ์ ก็ได้ฝากมาเพื่อการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่สายงาน Data scientist ว่า “ควรจะใส่ใจกับเรื่องคณิตศาสตร์ไว้ให้มากเพราะเบื้องหลังโมเดลของ ML หรือ AI นั้นมีพื้นฐานมาจากคณิตศาสตร์ อย่างน้อยควรจะสามารถเขียนโปรแกรมได้อย่างดีและมีทักษะในการแก้ปัญหาเกีั่ยวกับข้อมูลเบื้องต้นเพราะในงานจริงๆ ข้อมูลของแต่ละองค์กรมีความแตกต่างกันอย่างมาก” สำหรับผู้สนใจการนำเทคโนโลยีด้าน AL & ML ไปตอบโจทย์ในองค์กรสามารถติดต่อบริษัท เดลิเทค ได้ครับ


About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

พบช่องโหว่ใหม่ ‘Looney Tunables’ กระทบระบบปฏิบัติการ Linux หลายตัว

พบช่องโหว่ใหม่ ‘Looney Tunables’ กระทบระบบปฏิบัติการ Linux หลายตัว เช่น Fedora, Ubuntu และ Debian

AWS จะเริ่มบังคับใช้ MFA สำหรับเข้าถึง Management Console ช่วงกลางปีหน้า

AWS จะเริ่มบังคับใช้ Multi-factor Authentication (MFA) ในขั้นตอนการยืนยันตัวตน สำหรับเข้าถึง AWS Management Console ช่วงกลางปีหน้า