AWS จับมือ Facebook เปิดตัว TorchServe สนับสนุนนักพัฒนา PyTorch

AWS และ Facebook ได้ร่วมกับเปิดโอเพ่นซอร์สที่ชื่อ TorchServe เพื่อสนับสนุนนักพัฒนาด้าน Deep Learning ในการใช้งาน PyTorch

การใช้งาน Model Server เช่น เว็บแอปพลิเคชันสำหรับ Machine Learning ที่พร้อมใช้งาน ทำให้ขั้นตอนการ Deploy Model เป็นเรื่องง่ายขึ้น ทั้งในเรื่องของการโหลดโมเดลต่างๆ หรือเซิร์ฟเวอร์ที่ขยายได้อัตโนมัติ รวมถึงยังมีฟีเจอร์เช่น Logging, Monitoring และ Security ให้ด้วย ยกตัวอย่าง Model Server ที่มีอยู่เช่น TensorFlow Service และ Multi Model Server 

สำหรับ TorchServe เป็นไลบรารี Model Serving ที่จะเข้ามาตอบโจทย์สำหรับ PyTorch โดยเฉพาะ เพื่อช่วยผู้ใช้งานสามารถเพิ่มโมเดลของตนไปเป็น Production ได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องปรับแต่งโค้ดมากมาย นอกจากนี้ยังมี API สำหรับทำ Object Detection และ Text Classification รวมถึงยังรองรับ Amazon SageMaker, Container Service และ EC2 ด้วย ไม่เพียงเท่านั้นยังมีการเปิดโอเพ่นซอร์สไลบรารี ‘TorchElastic’ ที่ช่วยให้ทำ Training ทนต่อการผิดพลาดได้บน Kubernetes Cluster 

ที่มา :  https://techcrunch.com/2020/04/21/aws-and-facebook-launch-an-open-source-model-server-for-pytorch/ และ  https://aws.amazon.com/blogs/aws/announcing-torchserve-an-open-source-model-server-for-pytorch/


About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

เปิดตัว Panduit TX6A Vari-Matrix HD สาย Cat 6A UTP ขนาดเล็กที่สุดในโลก รองรับ 1-10GbE และ PoE++ ป้องกันสัญญาณรบกวนได้เหนือกว่ามาตรฐาน

ในปี 2023 นี้ถือเป็นปีที่น่าสนใจสำหรับวงการสายสัญญาณเครือข่าย เพราะผู้ผลิตทุกรายต่างเร่งพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาแข่งขันกันในหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเร็วของ Ethernet ที่เพิ่มขึ้น, การรองรับอุปกรณ์ IoT ให้ได้หลากหลายยิ่งขึ้น ไปจนถึงการตอบรับต่อประเด็นด้านความยั่งยืนหรือ Sustainability

ผลกระทบจากควอนตัมต่อระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ประเทศไทยต้องเร่งเดินหน้าแผนรับมือ [Press Release]

การคำนวณเชิงควอนตัม (quantum computing)  การแข่งขันด้านเทคโนโลยีการคำนวณแบบใหม่ที่กำลังร้อนแรง และเศรษฐกิจเอเชียรวมถึงไทยก็เกาะติดกระแสอย่างใกล้ชิด แต่นักวิจัยและนักเทคโนโลยีด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์กำลังกังวลกับข้อดีข้อเสียของการคำนวณเชิงควอนตัม แม้ประโยชน์จะมีมากมาย ตั้งแต่เรื่องแมชชีนเลิร์นนิ่ง การวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยทางการแพทย์ ไปจนถึงวิทยาการรหัสลับและระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ แต่เทคโนโลยีเดียวกันก็ก่อให้เกิดความเสี่ยงและช่องโหว่ใหม่โดยเฉพาะความสามารถในทะลุทะลวงการเข้ารหัสยุคใหม่ซึ่งถือเป็นรากฐานของอินเทอร์เน็ต การสื่อสาร และอีคอมเมิร์ซ ที่เชื่อมผสานสังคมของเราเข้าด้วยกัน