CDIC 2023

Microsoft ขยายความร่วมมือ AI กับ Meta

ในวันที่ 2 ของการประชุมนักพัฒนา Microsoft Build 2022 ทาง Microsoft ได้แชร์รายละเอียดระหว่าง Microsoft และ Meta ว่าจะสานต่อการขยายขีดความสามารถด้าน AI ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง โดย Meta ได้เลือก Azure เป็นผู้ให้บริการระบบคลาวด์เชิงกลยุทธ์ เพื่อเร่งการวิจัยและพัฒนา AI ของตนเอง
Microsoft และ Meta ต่างกล่าวในงานประชุมว่า จะร่วมมือกันเพื่อปรับขนาดการนำ PyTorch ไปใช้บน Azure โดยสอดคล้องกับการประกาศของ Microsoft เมื่อปีที่ผ่านมาต่อสาธารณชนเกี่ยวกับการเพิ่มความเข้มข้นในการสนับสนุนลูกค้าระดับองค์กรที่ใช้งานเฟรมเวิร์กของการเรียนรู้เชิงลึก PyTorch ของทาง Meta บน Azure และหวังว่าในอีกไม่นานการพัฒนาของ PyTorch เวอร์ชันใหม่จะสามารถอำนวยความสะดวกในการใช้งานโซลูชันบน Azure ที่ใช้ PyTorch มีความรวดเร็วมากขึ้น
 
ปีที่แล้ว Meta เริ่มใช้ Azure VM สำหรับการวิจัย AI ขนาดใหญ่บางรายการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฝึกอบรม AI แบบ distributed โดยใช้ประโยชน์จากคลัสเตอร์บน Azure
 
ในงาน Build 2022 Microsoft ได้ประกาศเปิดตัวชุดอุปกรณ์ใหม่สำหรับนักพัฒนาซอฟแวร์ Arm-based ที่ทำงานอยู่บนแพลตฟอร์ม Qualcomm Snapdragon ซึ่งจะวางจำหน่ายในช่วงปลายปีนี้ นับว่าเป็นการตอกย้ำความสำคัญของการพัฒนาระบบ AI ชัดเจนมากขึ้น อ่านข่าวนี้เพิ่มเติมได้จาก https://www.techtalkthai.com/microsoft-bring-project-volterra-arm-based-ai-ships-to-windows/
 
นอกจากนี้ Microsoft ยังประกาศบริการที่พร้อมให้ใช้งานเพิ่มเติม :
  • Azure OpenAI Services พร้อมให้ใช้งานแล้ว โดยในปี 2019 Microsoft ได้ลงทุนกว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อแลกมาด้วยการเข้าถึงโมเดลต่างๆ จาก OpenAI รวมไปถึง GPT-3 base series (Ada, Babbage, Curie และ DaVinci), Codex series และ Embedding Models ที่รวมเข้ากับความสามารถระดับองค์กรของ Azure
  • Cognitive Service for Language คือ API สำหรับการจำแนกสรุปเอกสารภาพและเสียงสนทนา ที่ใช้พิสูจน์ประโยชน์จากงานด้าน Call Center
ปัจจุบัน Microsoft มีโมเดลของ AI อะไรบ้าง :
  • Turing สำหรับการทำความเข้าใจภาษาที่หลากหลาย
  • Z-Code สำหรับการแปลภาษา
  • Florence สำหรับการจดจำภาพ
  • Azure Cognitive Services ให้บริการด้าน คำพูด ภาษา การตัดสินใจ เป็นภารกิจหลัก
  • Azure Applied AI Services คือการค้นหาทางปัญญา ตัวจดจำฟอร์ม โปรแกรมช่วยอ่าน บริการบอท และตัววิเคราะห์วิดีโอ
เมื่อปี 2560 สมัยเป็นที่รู้จักกันในนาม Facebook ได้มีประกาศรูปแบบ ONNX (Open Neural Network Exchange) โครงการโอเพนซอร์สโดย บริษัท Microsoft และ Facebook เพื่อช่วยให้นักพัฒนาสามารถย้ายโมเดลการเรียนรู้เชิงลึกระหว่างเฟรมเวิร์ก AI ต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
 

About Pawarit Sornin

- จบการศึกษา ปริญญาตรี สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต - เคยทำงานด้าน Business Development / Project Manager / Product Sales ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Wireless Networking และ Mobility Enterprise ในประเทศ - ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

Gartner Hype Cycle ด้าน AI ปี 2023

Gartner ได้ออกคาดการณ์สำหรับการพัฒนาของ AI ในปี 2023 ซึ่งเจาะจงไปที่ Generative AI โดยหัวข้อแบ่งได้ 2 ส่วนคือ นวัตกรรมที่ได้รับการกระตุ้นจาก Generative AI และอีกส่วนคือ …

[รีวิว] Asus Zenbook 14X OLED รุ่น Sandstone Beige สีเบจ ให้ความรู้สึกเหมือนเซรามิก

Asus Zenbook 14X OLED มีการออกแบบที่โดดเด่นในสีเบจ Sandstone Beige เคลือบผิวด้วยเซรามิกรูปแบบใหม่ที่เราไม่เคยเห็นมาก่อนบนฝาแล็ปท็อป มีรูปทรงบางเบา ขนาดหน้าจอ 14.5” (2880×1800) OLED มาพร้อมพลังขับเคลื่อนชิป CPU …