ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมานี้ AIS Business ก็ถือเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีโอกาสได้เข้าไปร่วมงานกับเหล่าธุรกิจองค์กรในไทย ในการนำนวัตกรรมทางด้าน Internet of Things (IoT) มาใช้งานจริงจนประสบความสำเร็จไปหลากหลายกรณี ในบทความนี้เราจะมาแนะนำบริการต่างๆ ของ AIS Business ว่าจะสามารถช่วยองค์กรตอบโจทย์ด้าน IoT ได้อย่างไรกันดังนี้ครับ
เทคโนโลยีและเครือข่าย พร้อมรองรับระบบ IoT ได้ครบถ้วนทุกความต้องการ
ที่ผ่านมาเวลาเราพูดถึงระบบ IoT ในไทยนั้นเรามักนึกถึงภาพของการนำอุปกรณ์ IoT ไปใช้งานในสายการผลิตหรือตามอาคารสำนักงานต่างๆ กันเสียเป็นส่วนมาก แต่ทาง AIS นั้นถือว่ามีความได้เปรียบในโซลูชันทางด้าน IoT เพราะเป็นผู้ที่มีโครงข่ายไร้สายกระจายอยู่ทั่วประเทศครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัดทั่วไทย ไปจนถึงเชื่อมต่อเครือข่ายข้ามประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ รวมถึงยังมีการลงทุนด้านระบบเครือข่ายเฉพาะสำหรับ IoT อย่างเช่น NB-IoT และ eMTC (LTE CAT-M1) จนกระจายครอบคลุมทั่วประเทศด้วย ทำให้หากธุรกิจองค์กรต้องการโซลูชันทางด้านระบบ IoT ที่ต้องมีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดอย่างเช่นการใช้งาน IoT กับยานพาหนะ หรือระบบ IoT ที่ต้องการใช้งานกระจายตามสาขาต่างๆ ทั่วประเทศหรือทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็สามารถพูดคุยกับ AIS Business เพื่อให้นวัตกรรมเหล่านั้นเป็นจริงขึ้นมาได้ทันที
นอกจากนี้ ด้วยความที่ AIS เอง จริงจังกับกลยุทธ์ด้าน IoT มาก และพร้อมสำหรับการพัฒนาในด้านเครือข่ายอย่างเต็มที่ ดังนั้นหากธุรกิจองค์กรใดมีความต้องการใช้งาน IoT ในรูปแบบใด ทาง AIS ก็พร้อมจะลงทุนเพิ่ม Coverage Area ให้สอดคล้องกับรูปแบบการใช้งานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ธุรกิจในประเทศไทย สามารถพัฒนาต่อยอดไปสู่เป้าหมายได้อย่างราบรื่น
สำหรับระบบเครือข่ายหลักที่ถือว่าเป็นพระเอกทางด้านบริการ IoT ของ AIS นั้นก็คือเครือข่าย NB-IoT ที่มีตัวย่อมาจาก Narrow Band IoT นั่นเอง ซึ่ง NB-IoT นี้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
- ครอบคลุมพื้นที่ใช้งานระยะไกล
- เหมาะกับการเชื่อมต่อเครือข่ายสำหรับอุปกรณ์ IoT ที่ไม่ได้ต้องมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลามากนัก
- รองรับการส่งข้อมูลจากอุปกรณ์ IoT ที่ใช้ Bandwidth น้อย
- ใช้พลังงานในการเชื่อมต่อน้อย ทำใหัอุปกรณ์ IoT ที่มีการใช้พลังงานจาก Battery หรือ Solar Cell สามารถทำงานได้อย่างยาวนาน
ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ทำให้ NB-IoT นั้นเหมาะที่จะนำไปใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายสำหรับผลิตภัณฑ์หรือโซลูชันกลุ่ม Smart Things ที่เน้นการอ่านค่าจากข้อมูล Sensor และรับคำสั่งกลับไปจาก Server หรือ Cloud ส่วนกลางเป็นหลัก ไม่ได้เหมาะกับโซลูชันที่ต้องมีการส่งภาพขนาดใหญ่หรือวิดีโอขึ้นไปประมวลผลที่ส่วนกลาง และไม่เหมาะกับการติดตั้งใช้งานกับยานพาหนะที่ต้องเคลื่อนที่ตลอดเวลา ในขณะที่หากโซลูชันทางด้าน Connected Car ที่ต้องมีการรับส่งข้อมูลปริมาณมากบนยานพาหนะที่เคลื่อนที่ตลอดเวลานั้น ก็จะเหมาะกับการใช้งาน eMTC มากกว่า
ในประเทศไทย ตอนนี้มีการใช้งาน NB-IoT และโซลูชันทางด้าน IoT อื่นๆ กันอย่างแพร่หลายแล้วด้วยความพร้อมของ AIS ในการให้บริการในระดับเชิงพาณิชย์ เช่น
- ปตท. ใช้เครือข่าย NB-IoT ในการตรวจสอบบำรุงรักษาท่อก๊าซธรรมชาติ
- พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ใช้ NB-IoT เป็นส่วนหนึ่งของการสร้าง Smart City ในโครงการอสังหาริมทรัพย์แล้ว 15 โครงการ
- โครตรอน กรุ๊ป ใช้ NB-IoT เชื่อมต่อเครื่องชั่งน้ำหนักหย่อดเหรียญและเครื่องหยอดเหรียญต่างๆ เพื่อวัดปริมาณเหรียญในตัวเครื่อง แจ้งการเข้าไปเก็บรวมรวมเหรียญอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำระบบ Smart Environment ตรวจวัดสภาพอากาศและการบริหารจัดการน้ำในเทศบาลนครหาดใหญ่ผ่านทาง NB-IoT
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พัฒนาระบบดูแลคุณภาพยาและเวชภัณฑ์ภายในคลังยา ด้วยการเชื่อมต่อผ่านเครือข่าย NB-IoT
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำระบบ Smart Trash Bin เชื่อมต่อข้อมูลผ่านเครือข่าย NB-IoT แก้ไขปัญหาขยะล้นถังภายในมหาวิทยาลัย
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำโซลูชัน Smart Locker มาให้บริการภายในมหาวิทยาลัย, มีการพัฒนาระบบอ่านป้ายทะเบียน, ระบบควบคุมแสงสว่าง และอื่นๆ ผ่านเครือข่าย NB-IoT
ไม่เพียงแต่ด้านระบบเครือข่ายเท่านั้น ทาง AIS เองก็ยังมีทั้ง IoT Hardware ต่างๆ ให้เหล่าองค์กรสามารถเลือกใช้ได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Sensor, Chipset, Module, eSIM และอื่นๆ อีกทั้งยังมีชุด NB-IoT Development Kit สำหรับให้เหล่าองค์กรได้นำไปทดลองพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบของตนเอง ก่อนที่จะวางแผนธุรกิจในภาพใหญ่และทำงานร่วมกับ AIS ต่อไปในอนาคตได้
จะเห็นได้ว่าความพร้อมในการให้บริการระบบเครือข่ายโดยเฉพาะสำหรับ IoT อย่าง NB-IoT ที่ครอบคลุมทั่วไทยทั้ง 77 จังหวัดนั้น ก็สร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้กับเหล่าธุรกิจและองค์กรต่างๆ ในไทยในการที่จะนำระบบ IoT มาสร้างสรรค์ต่อยอดให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน, ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ หรือนำเสนอบริการรูปแบบใหม่ๆ ในภาคธุรกิจต่างๆ ได้ ซึ่งการสร้างนวัตกรรมเหล่านี้ให้ใช้งานได้ดีเองนี้ก็ถือเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการช่วยให้ธุรกิจไทยสามารถแข่งขันได้ดีขึ้น และโซลูชันเดียวกันนี้ที่เคยสร้างและพัฒนาจนใช้งานจริงได้ในประเทศไทยเอง ก็มีโอกาสที่จะถูกส่งออกไปใช้งานในระดับโลกได้เช่นกัน
บริการ Cloud มาตรฐานระดับสูง พร้อมตอบโจทย์บริการแบบ 24×7 ที่เพิ่มขยายได้ตามต้องการ
นอกเหนือไปจากเทคโนโลยีและบริการในฝั่ง IoT แล้ว ทาง AIS Business เองก็ยังมีบริการ Cloud สำหรับธุรกิจองค์กรโดยเฉพาะเพื่อทำหน้าที่ให้บริการระบบ IT Infrastructure ที่มีความทนทานสูง ทำงานได้ต่อเนื่อง 24×7 พร้อม Data Center 8 แห่งทั่วประเทศไทยจากการเข้าซื้อกิจการของ CS LOXINFO ที่ผ่านมา ทำให้ถือเป็นหนึ่งในบริการ Cloud ขนาดใหญ่ในเมืองไทยไปเรียบร้อย
จุดเด่นของบริการ Cloud จาก AIS Business นี้ก็มีทิศทางเดียวกับเทคโนโลยีและบริการในฝั่ง IoT คือมีความยืดหยุ่นสูงเพื่อเปิดโอกาสให้เหล่าธุรกิจไทยได้คิดและพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ในรูปแบบของตัวเอง ไม่ต้องมีข้อจำกัดทางด้านเทคโนโลยีใดๆ มาผูกพัน ทำให้ในหลายๆ กรณีที่บริการ Cloud อื่นๆ ไม่สามารถตอบโจทย์ธุรกิจไทยได้ไม่ว่าจะในแง่ของเทคโนโลยีหรือในแง่ของธุรกิจนั้น ทาง AIS Business ก็พร้อมจะพูดคุยและปรับแต่งระบบหรือแผนธุรกิจให้เหมาะสม เพื่อผลักดันธุรกิจไทยให้เติบโตแข่งขันได้ในระดับภูมิภาคหรือระดับโลกมากที่สุด
ทั้งนี้เทคโนโลยีเบื้องหลังบริการ Cloud ของ AIS Business นี้ก็ล้วนแล้วแต่เป็นเทคโนโลยีที่เราคุ้นเคยในการใช้งานระดับองค์กรเป็นอย่างดีที่ทาง AIS มีประสบการณ์การใช้งานเองเป็นการภายในก่อนจะนำมาเปิดให้บริการ รวมถึงยังได้รับการรับรองตามมาตรฐานต่างๆ เพื่อให้เหล่าธุรกิจองค์กรมีความมั่นใจในการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น ISO 27001:2013, การออกแบบ Data Center ที่ล้อตามมาตรฐาน UPTIME INSTITUTE และ TIA-942, มาตรฐาน CSA-STAR และอื่นๆ ที่จะมีเพิ่มเติมเข้ามาในอนาคต พร้อมทีมงานคนไทยคอยดูแลตลอด 24×7
สำหรับเหล่าผู้พัฒนาเทคโนโลยีนั้น ทาง AIS ก็มีโครงการ AIS IoT Alliance Program (AIAP) เพื่อสร้าง Ecosystem ทางด้านเทคโนโลยี IoT ที่ประกอบไปด้วยหน่วยงานภาครัฐ, ธุรกิจเอกชน และผู้พัฒนาเทคโนโลยีด้าน IoT ได้มาพบปะเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้, ประสบการณ์ และความคิดเห็น ไปจนถึงร่วมมือกันเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ในอุตสาหกรรมต่างๆ ให้เป็นจริงขึ้นมา
ได้รับรางวัลจาก Frost & Sullivan ในฐานะผู้นำทางด้าน IoT และ Cloud ประจำประเทศไทยสำหรับปี 2018
ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจผลักดันตลาด IoT และ Cloud ของ AIS อย่างเต็มที่ ทำให้เมื่อช่วงต้นปี 2018 ที่ผ่านมา ทาง AIS นั้นได้รับ 2 รางวัลจากทาง Frost & Sullivan ได้แก่ 2018 Frost & Sullivan Thailand Excellence Awards และ 2018 Thailand Cloud Services Innovative Company of the Year ด้วยความแตกต่างในบริการของทาง AIS และการเติบโตอย่างรวดเร็วของ AIS Business ในบริการทั้งสองนี้นั่นเอง
วันนี้ AIS พร้อมแล้วที่จะให้บริการ IoT Platform เชิงพาณิชย์ อย่างเต็มรูปแบบและครบวงจร ตั้งแต่เครือข่าย, อุปกรณ์ และแพลตฟอร์ม ให้กับทุกภาคส่วน และพร้อมให้คำปรึกษากับทุกองค์กรที่สนใจนำ IoT ไปใช้พัฒนา ต่อยอดในการทำงาน สนใจติดต่อได้ที่ Corporate call center โทร. 1149 หรือเว็บไซต์ http://business.ais.co.th/iot