AIS Business Cloud: เมื่อการตอบโจทย์ Digital Transformation ให้สำเร็จได้ ต้องใช้อะไรที่มากกว่า Cloud

ทางทีมงาน TechTalkThai ได้รับเกียรติให้ไปสัมภาษณ์ทีมงาน AIS Business Solution ในประเด็นด้านบริการ AIS Business Cloud ที่สามารถรุกตลาดองค์กรขนาดกลางและขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว ด้วยกลยุทธ์ที่่ไม่เหมือนผู้ให้บริการ Cloud รายใดนัก ทำให้มีความโดดเด่นที่น่าสนใจ รวมถึงยังมีกรณีศึกษาการเข้าไปช่วยธุรกิจไทยทำ Digital Transformation ได้สำเร็จจริงมาแล้วด้วยบริการที่แตกต่างจากผู้ให้บริการรายอื่นมากพอสมควร จึงขอนำมาสรุปเพื่อเป็นอีกแนวทางและไอเดียที่น่าสนใจให้ผู้อ่านทุกท่านได้อ่านกันดังนี้ครับ

 

ช่องว่างในตลาด Cloud ไทย คือบริการ Cloud ที่จะช่วยให้องค์กรก้าวสู่การทำ Digital Transformation

หนึ่งในปัญหาใหญ่ที่เหล่าผู้ให้บริการ Cloud ไทยกำลังประสบนั้นก็คือการสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งรายอื่นๆ ซึ่งประเด็นนี้ก็ถือเป็นประเด็นแรกๆ ที่ทางทีมงาน TechTalkThai ได้พูดคุยกับทางทีมงาน AIS Business Solution และพบว่าคำตอบจากทาง AIS นั้นน่าสนใจไม่น้อยทีเดียว

 

 

AIS นั้นมองว่าปัจจุบันผู้ให้บริการ Cloud รายอื่นๆ นั้นยังคงมุ่งเน้นไปที่การให้บริการ Infrastructure-as-a-Service หรือ IaaS กันเป็นหลัก ถึงแม้บางรายจะเริ่มมี Platform-as-a-Service หรือ PaaS ให้บริการบ้างแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้สร้างความแตกต่างมากนัก เพราะสุดท้ายรูปแบบธุรกิจของแต่ละเจ้านั้น ก็คือการขาย Virtual Machine (VM) เป็นหลัก เพื่อให้องค์กรต่างๆ ได้มีทางเลือกในการแปลงจาก CapEx มาสู่ OpEx และใช้งานได้อย่างคุ้มค่ามากกว่าลงทุนซื้อ Hardware เอง รวมถึงการเปิดให้ลูกค้าเพิ่มขยายระบบได้โดยง่ายเพื่อรองรับการทดสอบเทคโนโลยีหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ทำให้การแข่งขันตกไปอยู่ที่ประเด็นของราคา, ความง่ายในการใช้งาน, การบริการด้านการดูแลรักษา และความสัมพันธ์กับลูกค้าแต่ละราย ไม่ต่างจากโมเดลของการทำ Hosting มากนัก

 

 

การพลิกภาพตรงนี้คือโอกาสและตลาดของ AIS Business Cloud โดยทาง AIS นั้นมองว่าคุณค่าที่แท้จริงของ Cloud นั้นไม่ควรจะเป็นแค่เทคโนโลยีที่ช่วยลดค่าใช้จ่าย หรือเพิ่มความคล่องตัวเท่านั้น แต่ Cloud ควรจะมีบทบาทสำคัญการทำ Digital Transformation หรือ DX ให้กับเหล่าธุรกิจต่างๆ และควรจะสร้างโมเดลทางธุรกิจรูปแบบใหม่ๆ หรือสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ให้เกิดได้จริง ซึ่งโจทย์ตรงนี้เองที่ทางทีมงานของ AIS ได้นำมาใช้เป็นโจทย์หลักในการพูดคุยกับลูกค้าองค์กรแต่ละราย และทำให้บริการ Cloud ของ AIS นั้นไม่ได้มีการเปิดราคาเป็น VM ต่อเดือน แต่ใช้รูปแบบของการเข้าไป Consult หรือพูดคุยในเชิง Partner ทางธุรกิจเสียมากกว่า

 

AIS Business Solution: Cloud นั้นเป็นเพียง “หัวใจห้องหนึ่ง” ของการทำ Digital Transformation

 

Cloud ของ AIS นั้นไม่ได้ขายเป็น VM แต่ผนวกรวมไปเป็น Solution พร้อมกับระบบโครงข่าย Internet, บริการมืออาชีพจากทีมงาน AIS และการตอบโจทย์ธุรกิจร่วมกัน”

 

เมื่อพูดคุยกันต่อกับทีมงานของทาง AIS นั้น เราก็ได้เห็นว่าอันที่จริงแล้ว AIS Business Cloud นั้นเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งที่อยู่ภายในโซลูชันซึ่ง AIS นำเสนอให้กับลูกค้าแต่ละองค์กรเท่านั้น และสุดท้ายความต้องการขององค์กรต่างๆ ก็จะกลายมาเป็นความสามารถที่ AIS Business Cloud และบริการอื่นๆ ของทีมงาน AIS นั้นต้องตอบโจทย์ให้ได้ ซึ่งภายในโซลูชันของทาง AIS นั้นจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลักๆ ดังต่อไปนี้

  • บริการ AIS Business Cloud ที่ใช้เทคโนโลยีจาก VMware เป็นหลักเพื่อให้ง่ายต่อการตอบโจทย์ธุรกิจองค์กร พร้อมเสริมด้วยเทคโนโลยีหรือโซลูชันอื่นๆ ให้ตอบโจทย์ในเชิง Application มากขึ้น และผ่านมาตรฐานอย่าง ISO/IEC 27001, CSA STAR และ ISO 22301 เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเหล่าองค์กร
  • โครงข่าย Internet ของ AIS ที่ครอบคลุมทั้ง Fiber และ 4G LTE ที่ใหญ่ที่สุดและครอบคลุมมากที่สุดภายในประเทศไทย ไปจนถึง Internet ออกนอกประเทศ เพื่อตอบโจทย์ด้านระบบเครือข่ายที่องค์กรต่างๆ ต้องการได้อย่างครบถ้วนในทุกแง่มุมตั้งแต่ Client ขึ้นมาถึง Cloud
  • โซลูชันเสริมอื่นๆเช่น ระบบ Internet of Things (IoT), โซลูชันจาก Ecosystem Partner รายต่างๆ และการพัฒนาระบบต่างๆ เพิ่มเติมโดยทีมงานของ AIS เอง
  • บริการมืออาชีพจากทีมงาน AISที่ครอบคลุมทุกเทคโนโลยีที่ AIS ให้บริการ พร้อมรองรับการสนับสนุนเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้ตามความต้องการทางธุรกิจขององค์กรลูกค้า และตอบโจทย์ความต้องการได้ตั้งแต่ภายในบริการ Cloud ไปจนถึงระบบเครือข่ายและการเชื่อมต่อไปยังระดับของ Client
  • โมเดลธุรกิจร่วมกันในระยะยาวถือเป็นจุดต่างที่สำคัญมากที่ทำให้ Pricing ของโซลูชันจาก AIS นั้นมีความยืดหยุ่นสูง เนื่องจาก AIS นั้นมององค์กรที่มาใช้บริการ Cloud ของตนเองนั้นในฐานะของ Business Partner ไม่ใช่ในฐานะลูกค้าเท่านั้น

 

จากภาพนี้เองทำให้เห็นได้ว่า Cloud ของ AIS นั้นไม่ได้ขายเป็น VM แต่ผนวกรวมไปเป็น Solution พร้อมกับระบบโครงข่าย Internet, บริการมืออาชีพจากทีมงาน AIS และการตอบโจทย์ธุรกิจร่วมกัน ทำให้ในทีมให้บริการ Cloud ของ AIS นี้นอกจากจะมีทีมงานกว่า 30 คนที่ดูแลเรื่อง Cloud โดยตรงเท่านั้นแล้ว พนักงานอีกหลายร้อยคนของ AIS นั้นต่างก็มีส่วนร่วมในการดูแลและผลักดันบริการ Cloud ของ AIS ร่วมกันไปด้วย ทำให้โดยรวมแล้วทีมงานที่เกี่ยวข้องกับ Cloud ใน AIS นั้นมีจำนวนมากมายหลายร้อยคน และมีทักษะที่หลากหลาย สามารถช่วยดูแลแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้าองค์กรได้อย่างรอบด้าน

 

ก้าวเหนือไปกว่าการเป็นเพียงแค่ Cloud Service Provider สู่การเป็น Digital Life Service Provider อย่างเต็มตัว

 

 

การผสานทรัพยากรทั้งหมดของ AIS เข้าด้วยกันนี้ ก็ทำให้ AIS นั้นสามารถก้าวเหนือกว่าการเป็นเพียงแค่ Cloud Service Provider (CSP) ที่ให้บริการ Cloud เพียงอย่างเดียว สู่การเป็น Digital Life Service Provider ที่มุ่งเน้นการช่วยให้องค์กรสามารถสร้าง Digital Product และ Digital Service ออกมาสู่ตลาด และส่งถึงมือผู้บริโภคได้จริง โดยนอกจากการออกแบบโซลูชันต่างๆ ร่วมกับแต่ละองค์กรเป็นรายๆ ไป ทาง AIS ก็ได้ทำการพัฒนา Platform เบื้องต้นเพื่อให้องค์กรสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานต่อยอดเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ดังนี้

  • Cloud Platformตอบโจทย์เหล่าธุรกิจที่ต้องการใช้บริการ Cloud ที่มีคุณภาพและความทนทาน
  • IoT Platformตอบโจทย์เหล่าองค์กรที่ต้องการนำ IoT ไปใช้ในธุรกิจของตน
  • eMoney Platformตอบโจทย์เหล่าองค์กรที่ต้องการสร้างระบบ Digital Money อย่างปลอดภัย
  • Video Platformตอบโจทย์เหล่าธุรกิจที่ต้องการให้บริการ Video ที่ต้องใช้ Bandwidth ปริมาณมหาศาล
  • Content Platformตอบโจทย์ธุรกิจด้าน Content ทุกรูปแบบได้ใน Platform เดียว

 

ด้วย Platform ที่มีความหลากหลายเหล่านี้นอกจากจะทำให้ AIS สามารถช่วยให้ธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ สามารถเริ่มต้นก้าวแรกในการทำ Digital Transformation ได้อย่างรวดเร็วแล้ว Platform เหล่านี้ก็ยังช่วยสร้างประสบการณ์ให้กับทีมงานของ AIS ในการให้บริการ Cloud ที่มีความต้องการหลากหลายไปด้วยอีกทาง แสดงให้เห็นถึงความพร้อมและศักยภาพของ AIS ได้เป็นอย่างดี

 

เปิดบริการมายังไม่ถึง 2 ปี มีลูกค้ากว่า 300 องค์กร พร้อมกรณีการใช้ Cloud และการทำ Digital Transformation ที่ไม่เหมือนใครมากมาย

 

 

หนึ่งในประเด็นที่ได้ทำการพูดคุยกันยาวมากคือการที่เหล่าองค์กรต่างๆ ได้มาใช้บริการของ AIS ในรูปแบบต่างๆ กันที่เรียกได้ว่าไม่เหมือนกับผู้ให้บริการ Cloud รายอื่นที่ทางทีมงาน TechTalkThai เคยรับฟังมาเลย ตรงนี้ก็ขอนำมาสรุปเล่าสู่กันฟังดังนี้ครับ

 

โซลูชันระบบ IoT พร้อมโครงข่ายที่ใช้งานได้ทั่ว AEC

 

 

โจทย์หนึ่งที่ AIS ได้มีโอกาสทำค่อนข้างมากนับแต่เปิดบริการ AIS Business Cloud มานี้ก็คือการให้บริการระบบ IoT แบบครบวงจร ตั้งแต่บริการ Cloud สำหรับจัดเก็บข้อมูลจากอุปกรณ์ IoT และประมวลผล, ระบบเครือข่าย 4G LTE สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ให้สามารถรับส่งข้อมูลกับ Cloud ได้ ไปจนถึงการจัดหารือพัฒนาอุปกรณ์ IoT รูปแบบต่างๆ สำหรับตอบโจทย์เฉพาะทางในแต่ละธุรกิจ โดยเฉพาะการทำระบบ Fleet Management ที่เรียกได้ว่าแทบทุกธุรกิจ Logistics ในไทยตอนนี้ต้องให้ความสำคัญกันมากขึ้นเรื่อยๆ

 

IoT ระดับองค์กร สามารถเกิดขึ้นได้จริงด้วยการผสานบริการ Cloud, 4G LTE, Fiber Internet, อุปกรณ์ IoT และ Business Model ร่วมกันกับทาง AIS”

 

จุดหนึ่งที่สำคัญมากสำหรับโจทย์นี้คือการที่ AIS นั้นเป็นบริษัทใหญ่ที่นอกจากจะนำเสนอเทคโนโลยีและบริการต่างๆ ได้แล้ว AIS เองก็ยังพร้อมพูดคุยด้านธุรกิจกับเหล่าธุรกิจต่างๆ ที่ต้องการเริ่มต้นผลิตภัณฑ์หรือบริการทางด้าน IoT และจัดทำ Business Model ร่วมกัน พร้อมทั้งคิดค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมให้ธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้นกับ IoT นี้สามารถอยู่รอดและเติบโตต่อไปได้จนถึงจุดคุ้มทุนหรือมีลูกค้ามากเพียงพอ เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่สามารถผลักดันธุรกิจไทยให้เติบโตได้จริงท่ามกลางกระแส Digital Transformation อย่างในปัจจุบันนี้

ความสามารถในการให้บริการระบบ IoT ได้แบบครบวงจรนี้ก็ยังเป็นอีกหนึ่งจุดได้เปรียบของ AIS ที่สามารถรับประกันเรื่องเส้นทางการรับส่งข้อมูลจากอุปกรณ์ IoT มายัง Cloud ของ AIS ได้แบบครบตลอดเส้นทาง ดังนั้นหากมีปัญหาใดๆ เกิดขึ้นในการเชื่อมต่อเครือข่ายก็สามารถเข้าไปตรวจสอบปัญหาและช่วยทำการแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังทำให้องค์กรต่างๆ มั่นใจได้ว่าข้อมูลจากอุปกรณ์ IoT ที่ถูกส่งขึ้นมายัง Cloud ของ AIS นี้จะไม่หลุดรั่วไปที่ใด

 

 

นอกจากนี้ทีมงาน AIS เองก็ยังเล่าให้ฟังว่า สำหรับกรณีลูกค้ากลุ่ม IoT ที่ต้องการความครอบคลุมของสัญญาณในบางพื้นที่ ทาง AIS ก็เคยทำถึงขั้นไปตั้งเสาสัญญาณ 4G เพิ่มให้เป็นกรณีพิเศษมาแล้ว อีกทั้งยังมีบริการ AEC Sim ที่สามารถรับส่งข้อมูลได้ในทุกประเทศแถบ AEC นี้ เพื่อรองรับธุรกิจที่ต้องการใช้งานอุปกรณ์ IoT ในหลายประเทศ หรือมีการเดินทางข้ามประเทศ เรียกได้ว่าลงทุนให้บริการกันเต็มที่มากในการเปิดตลาด IoT ในไทย

 

บริการ Cloud Render Farm เพื่องาน Render เร่งด่วนเฉพาะกิจ

เมื่อปลายปี 2017 ที่ผ่านมา AIS นั้นได้รับโจทย์จากผู้สร้าง Animation ไทยรายหนึ่ง ที่ต้องการ Cloud เพื่อใช้ในการ Render งานอย่างเร่งด่วน โดยจะต้องมีการประมวลผลแบบเต็ม 100% ตลอด 24 ชั่วโมงต่อเนื่องอยู่ตลอด ซึ่งหากฟังโจทย์เท่านี้อาจจะไม่ยากมากนัก ยกเว้นว่าลูกค้ารายนี้ต้องการระบบเครือข่ายความเร็วสูงเพื่อโอนไฟล์ต้นฉบับขนาดใหญ่มากไป Render บน Cloud ได้ตลอดเวลาด้วย

AIS นั้นเนื่องจากมีทั้งบริการ Cloud และ Internet ของตนเอง จึงสามารถตอบรับต่อความต้องการของลูกค้ารายนี้ได้อย่างไม่ยากเย็น และใช้เวลาในการติดตั้งระบบ Render Farm เพียงไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น ก่อนจะเปิดให้ลูกค้ามาใช้งานจริงและพบว่าลูกค้าทำการ Render อย่างหนักหน่วงมาก โดยหน่วยประมวลผลของระบบทั้งหมดนี้พุ่งเต็ม 100% ตลอดแทบทั้่งวัน แต่ละวันมี Idle Time เพียงแค่ 2-3 นาทีเท่านั้น จนท้ายที่สุดลูกค้ารายนี้ก็สามารถส่งงานได้ทันกำหนด และ AIS ก็ชนะใจลูกค้ารายนี้มาได้ด้วยบริการและการสนับสนุนที่เต็มที่ในครั้งนี้

อย่างไรก็ดี ถึงแม้โจทย์นี้จะต้องการความต้องการทรัพยากรที่สูงในระดับนี้ การทำงานของระบบ Render Farm นี้ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อลูกค้ารายอื่นๆ ของ AIS เลยแม้แต่น้อย เพราะภายใน AIS Business Cloud นี้มีการแยกทรัพยากรที่ต้องใช้ของแต่ละองค์กรเอาไว้เป็นอย่างดี ทำให้ไม่เกิดกรณีการดึงทรัพยากรระหว่างกัน ต่างจากบริการ Cloud ของผู้ให้บริการบางรายที่มีการแบ่งปันทรัพยากรระหว่างลูกค้าแต่ละรายเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย

 

Point-of-Sales และระบบบริหารจัดการร้านอาหารผ่าน Cloud พร้อมเครือข่ายที่ครอบคลุมได้ทุกสาขาของธุรกิจ

 

 

อีกหนึ่งกรณีที่มีการใช้งานกันค่อนข้างมากคือการที่เหล่าธุรกิจค้าปลีกต่างๆ ได้ย้ายศูนย์กลางของระบบ Point-of-Sales หรือ POS ขึ้นมาอยู่บน Cloud รวมถึงเหล่าธุรกิจร้านอาหารต่างๆ ที่เริ่มใช้งานระบบบริหารจัดการร้านอาหารบน Cloud กันมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อรองรับการเพิ่มขยายของสาขาใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องกังวลกับการเชื่อมต่อเครือข่ายมายัง Data Center ขององค์กรอีกต่อไป และยังสามารถต่อยอดไปถึงการให้บริการ E-Commerce และ Mobile PBX เพื่อสร้าง Call Center เพิ่มเติมเพื่อเพิ่มยอดขายให้กับร้านค้าหรือร้านอาหารได้ในระยะยาว

สิ่งที่ AIS นำเสนอได้นั้นนอกเหนือไปจากการให้บริการ Cloud เพื่อรองรับระบบ IT ต่างๆ และการให้บริการระบบเครือข่ายและซิม 4G เพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายได้จากทุกที่ทุกเวลาแล้ว ทาง AIS ยังสามารถให้บริการ Wi-Fi ภายในร้านค้าหรือร้านอาหารเหล่านั้นเพื่อเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าได้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการ Wi-Fi ในแบรนด์ของร้านค้าเอง หรือการให้บริการ AIS Wi-Fi เพื่อให้ลูกค้าของ AIS ที่อยู่ในร้านค้าหรือร้านอาหารเหล่านั้นสามารถเพลิดเพลินไปกับการใช้งาน Internet ได้ทันที

ทั้งนี้ในอนาคต AIS เองก็มีแผนที่จะเปิดการพูดคุยกับเหล่าธุรกิจ Software House ในไทยที่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการต่างๆ ของตนเองให้มากขึ้น และยังมีโครงการ AIS IoT Alliance Program สำหรับเจาะตลาดเหล่านักพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ทางด้าน IoT โดยเฉพาะ เพื่อจับมือร่วมกันและนำเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาเหล่านั้นมาสู่ AIS Business Cloud และขยายตลาดร่วมกันต่อไป

สำหรับผู้ที่สนใจกรณีศึกษาอื่นๆ ของ AIS สามารถตรวจสอบได้ที่ https://www.youtube.com/playlist?list=PLdjP9GAU30E1lL9nZkthGlNOsvAkrsrw8 ครับ

 

ใช้เทคโนโลยีของ VMware ภายในเองจนมั่นใจ ก่อนนำมาให้บริการและพัฒนาต่อยอดร่วมกับ VMware พร้อมก้าวสู่ Multi-Cloud ได้ทันที

บริการ Cloud ของ AIS นั้นใช้เทคโนโลยีจาก VMware เป็นหลัก เนื่องจาก VMware นั้นถือเป็นเทคโนโลยี Virtualization ที่เหล่าองค์กรนั้นเลือกใช้มากที่สุด, มีความทนทานและความมั่นคงปลอดภัยสูง และมีตลาดใหญ่ที่สุดในไทย รวมถึงทางทีมงาน AIS เองนั้นก็ใช้เทคโนโลยีของ VMware เป็นการภายในมาอย่างยาวนานจนมีความเชี่ยวชาญ และเป็นหนึ่งในองค์กรที่เริ่มใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ของ VMware ก่อนใครในประเทศไทย และมั่นใจเป็นอย่างมากในการนำเทคโนโลยีของ VMware ออกมาให้บริการแก่ลูกค้าองค์กรรายอื่นๆ

ด้วยเหตุนี้เอง ทาง AIS จึงได้ตัดสินใจเข้าร่วมเป็นส่วนหนึี่งของโครงการ VMware Cloud Provider Program หรือ VCPP เพื่อเป็นผู้ให้บริการ Cloud ด้วยเทคโนโลยีของ VMware และมีทีมงานของ VMware คอยให้การสนับสนุนโดยตรงอย่างถูกต้อง ทำให้เหล่าองค์กรที่มองหาผู้ให้บริการ VMware Cloud ในไทยสามารถเลือกใช้ AIS Business Cloud ได้อย่างมั่นใจ รวมถึงทำให้ AIS สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีในฝั่งผู้ให้บริการ Cloud ของทาง VMware และนำออกมาให้บริการได้อย่างเต็มที่อีกด้วย

ทั้งนี้อีกประเด็นหนึ่งที่ทีมงาน AIS ให้ความมั่นใจกับทาง VMware มากจนนำมาเปิดให้บริการ Cloud ในครั้งนี้ ก็คือการที่ VMware นั้นเป็นบริษัทที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และมี Roadmap ในการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาตอบโจทย์ตลาดองค์กรที่ค่อนข้างชัดเจน พร้อมทั้งมีความยืดหยุ่นเปิดให้ทีมงานของ AIS ได้เข้าไปร่วมพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ มาตอบโจทย์ของตลาดประเทศไทยร่วมกัน ซึ่งจุดนี้เองที่ทำให้ AIS เชื่อว่าการใช้เทคโนโลยีของ VMware นี้เหนือกว่าการนำ Open Source มาใช้ในการให้บริการ Cloud อย่างชัดเจน

และสำหรับในปี 2018 นี้ การตอบรับต่อกลยุทธ์การทำ Multi-Cloud Strategy ของเหล่าองค์กรที่ต้องการใช้บริการ Cloud จากผู้ให้บริการหลายรายพร้อมๆ กันนั้น เทคโนโลยีของ VMware ก็ตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี ด้วยการช่วยให้เหล่าองค์กรที่ใช้ระบบ Virtualization หรือ Private Cloud จากทาง VMware ภายในองค์กรนั้น สามารถเชื่อมต่อไปยังทั้งบริการของเหล่า VCPP ทั่วไทยและทั่วโลกได้ รวมถึงยังสามารถใช้งานบริการของ Amazon Web Services (AWS) ที่สนับสนุนเทคโนโลยีของ VMware ได้จากการจับมือเป็นพันธมิตรและเปิดบริการ VMware Cloud on AWS ร่วมกันไปเมื่อปี 2017 ที่ผ่านมา

ส่วนในอนาคต VMware เองก็มีเทคโนโลยี Container ของตนเอง และยังสนับสนุนเทคโนโลยี Container ที่ได้รับความนิยมสูงอย่าง Docker และ Kubernetes อย่างครบถ้วน ดังนั้นภาพของการสนับสนุนโซลูชัน Multi-Cloud โดยมี Container เป็นหลักเองนั้นอยู่ในแผนของ VMware อยู่แล้ว

 

มี Cloud Data Center เพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า จากการเข้าซื้อกิจการของ CS LOXINFO

สำหรับประเด็นสุดท้ายที่ได้มีการพูดคุยกันนั้น ก็คือการที่ AIS ได้เข้าซื้อกิจการของ CS LOXINFO มา ทำให้ Cloud Data Center ทั้งหมด 4 แห่งของ CS LOXINFO ถูกรวมเข้ามาเป็นบริการ Cloud ของทาง AIS ด้วย และทำให้ปัจจุบัน AIS เป็นผู้ให้บริการ Cloud ที่มี Data Center ในไทยมากด้วยกันถึง 8 แห่ง ถือเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการ Cloud ที่มี Data Center มากที่สุดในไทยรายหนึ่งไปแล้ว

 

เกี่ยวกับ AIS Business Solution

AIS Business Solution นี้เป็นศูนย์รวมของบริการต่างๆ สำหรับเหล่าผู้ใช้งานในภาคธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ โดยมีบริการตั้งแต่ระบบโทรศัพท์, Internet, Cloud, IoT, Security, Marketing ไปจนถึงโซลูชันเฉพาะทางสำหรับแต่ละธุรกิจต่างๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของเหล่าธุรกิจองค์กรได้อย่างครอบคลุม ด้วยทรัพยากรของ AIS และประสบการณ์ที่หลากหลายของทีมงานจาก AIS

ผู้ที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม, ต้องการใบเสนอราคา หรือต้องการติดต่อทีมงาน AIS Business Solution ให้เข้ามานำเสนอบริการต่างๆ สามารถติดต่อทีมงานได้ โดยตรงที่ http://business.ais.co.th/ ทันที

หรือหากองค์กรของคุณสนใจเริ่มต้นวาง “กลยุทธ์ด้านคลาวด์” ให้หมาะสมกับองค์กร โดยต้องการ ค้นหา “คลาวด์ที่ใช่” และ “พาร์ทเนอร์ที่เหมาะสม” สำหรับธุรกิจของคุณ สามารถลงทะเบียนกับวีเอ็มแวร์ได้ที่ www.vmwarehybridcloud.com

 

เกี่ยวกับ VMware Cloud Provider Program

VMware Cloud Provider Program นี้เป็นโครงการที่จะช่วยให้เหล่า VMware Partner สามารถลงทุนเช่าใช้ระบบของ VMware ได้ในแบบรายเดือน เพื่อนำไปให้บริการต่อได้ทั้งในแบบ Public Cloud และ Hybrid Cloud ในประเทศต่างๆ พร้อมทั้งยังสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีต่างๆ ของ VMware สำหรับช่วยเหลือให้การเปิดให้บริการ Cloud นั้นเป็นไปได้อย่างง่ายดายและราบรื่น พร้อมการสนับสนุนจากทาง VMware เพื่อให้มั่นใจได้ในคุณภาพของบริการ ร่วมกับเหล่า Partner ที่ต้องผ่านการรับรองอย่างเป็นทางการจาก VMware โดยตรง

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

Eve ระดมทุน 47 ล้านดอลลาร์ ดันสำนักงานกฎหมายใช้ AI เต็มรูปแบบ

Eve แพลตฟอร์มให้บริการ AI ด้านกฎหมายสำหรับสำนักงานกฎหมายฝั่งโจทก์ เปิดเผยว่าระดมทุนได้ 47 ล้านดอลลาร์ในรอบ Series A ที่นำโดย Andreessen Horowitz พร้อมการสนับสนุนจาก Lightspeed Venture …

Lenovo เข้าซื้อกิจการ Infinidat ขยายธุรกิจระบบจัดเก็บข้อมูลสำหรับ Data Center

Lenovo เข้าซื้อกิจการ Infinidat ขยายธุรกิจระบบจัดเก็บข้อมูลสำหรับ Data Center