คำว่า Transformation ทำให้ภาคอุตสหกรรมด้านเครือข่ายต้องย้ายตัวเองจากผู้เล่นในด้านฮาร์ดแวร์ไปสู่ซอฟต์แวร์แทน ดังนั้นพอทุกอย่างเป็นคำว่า Agile ส่งผลให้การพัฒนาต่างๆ เป็นไปได้อย่างรวดเร็วทำให้บริษัท Startup เกิดใหม่รายเล็กๆ ก็สามารถเข้าสู่ตลาดด้านนี้ได้ง่ายขึ้น วันนี้เราจึงขอนำเสนอบทความจาก NetworkComputing ที่จะพาเราไปชมกับ 8 บริษัท Startup ที่มีการปฏิวัติตัวด้วยการใช้งาน AI และทำให้กับอุปกรณ์ในเครือข่ายสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างแท้จริง
เทคโนโลยีหนึ่งที่เรียกได้ว่าเขย่าวงการที่เกิดขึ้นคือ AI และ Analytics ที่ส่งเสริมให้อุปกรณ์เกิดทำงานได้อย่างอัตโนมัติ เช่น Autonomous Routing/Switching เป็นต้น ในกรณีนี้ประกอบด้วยการมองเห็นภาพในเครือข่ายสำหรับแพลตฟอร์มแบบ Hybrid หรือ Multi-cloud และผู้ใช้งานทางไกล อีกเทคโนโลยีหนึ่งด้านเครือข่ายคือการสร้างให้อุปกรณ์ในเครือข่ายสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างแท้จริงและได้รับความสนใจจากลูกค้าระดับองค์กรเป็นอย่างมากในขณะนี้ ทั้งๆ ที่เมื่อก่อนมีไว้แค่ประดับแต่ปัจจุบันอุปกรณ์ในเครือข่ายต้องสามารถทำงานรวมกันได้ซึ่งผู้ผลิตรายใหญ่ก็มีการปล่อย API ของตัวเองกันออกมาแต่ก็ยังเป็นเฉพาะยี่ห้ออยู่ ผิดกับทาง Startup จะเน้นไปที่การเป็น Open-source ที่จะสามารถผลักดันคอนเซปต์การทำงานร่วมกันของอุปกรณ์ให้โตไปข้างหน้าได้
มี 8 Startup ที่น่าสนใจซึ่งมีการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีทั้งเก่าและใหม่ได้อย่างลงตัวมาแนะนำดังนี้
-
Ennetix บริษัทนี้ได้ปล่อยผลิตภัณฑ์ที่ชื่อ xNET ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาประสิทธิภาพด้านการใช้งานเครือข่ายแก้ไขอย่างทันที โดยแพลตฟอร์มที่ใช้งาน AI เพื่อวิเคราะห์การทำงานในเครือข่ายนี้ยังสามารถทำงานข้ามการใช้งานแบบ Hybrid และ Multi-cloud ได้ด้วย
-
Meta Networks ได้สร้างคอนเซปต์ Network as a Service (NaaS) ให้เกิดขึ้นจริงด้วยการสร้างเครือข่ายระดับสากลและมีความมั่นคงปลอดภัยที่องค์กรสามารถใช้เป็นทางเลือกในการเชื่อมต่อแบบทางไกลกลับไปหา LAN ภายในได้และจะมีการเลือกเส้นทางกลับไปยังผู้ให้บริการ Public Cloud เท่านั้น
-
Lumina Networks หนึ่งในทรัพย์สินของเทคโนโลยี SDN ของ Brocade หลังถูกขายกระจัดกระจายออกไปได้รับทุนจาก Verizon และ AT&T ให้พัฒนาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ Network Delivery ในเทคโนโลยีไร้สายใหม่ที่กำลังจะมาถึงอย่าง 5G
-
Barefoot Networks ได้เข้าไปโชว์ตัวในงาน Cisco Live 2018 ถึงเทคโนโลยีที่ชื่อ Smart Programmable Real-time In-band Network Telemetry (SPRINT) ที่สามารถปฏิบัติการและทำให้มองเห็นภาพครอบคลุมทุกแพ็กเกจที่วิ่งผ่าน Cisco Switch รุ่นใหม่อย่าง Nexus 3400 โดยสามารถนำมาวิเคราะห์ต่อยอดได้ด้วยแพลต์ฟอร์ม Deep Insight Network Monitoring and Analyatics
-
NS1 ผลงานที่ชื่อ Pulsar RUM Steering ของบริษัทนี้เจ๋งจนเคยได้รับรางวัล ‘Best of Interop ITX Award’ มาแล้ว โดยการสร้างแอปพลิเคชันที่มีการใช้งานข้อมูลอย่างอัตโนมัติทำให้การใช้งาน DNS ทำได้รวดเร็วมากขึ้นด้วยการค้นหาว่า CDN ไหนที่ผู้ใช้งานจะมีประสิทธิภาพด้านเครือข่ายดีที่สุด เช่น Throughput Speed และ Lentency
-
Arrcus ได้ออกผลิตภัณฑ์อย่าง ArcOS ซึ่งเป็น OS ของการทำ Routing และ Switching นั่นเองเพื่อตอบโจทย์การใช้งานทั้ง Hybrid และ Multi-cloud ให้มีประสิทธิภาพและความมั่นคงปลอดภัยมากที่สุด
-
Apsta สร้าง Apstra Operating System (AOS) ที่อนุญาตให้ผู้ใช้เลือกฮาร์ดแวร์ซึ่งรองรับได้หลาย Vendor ที่ต้องการติดตั้งใช้งาน โดย AOS จะทำการติดตั้ง บริหารจัดการ และแก้ปัญหาอุปกรณ์เหล่านี้ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูล เหลือเพียงการใช้งานง่ายๆ และเป็นอัตโนมัติ
-
128 Technology ได้ใช้งานผลิตภัณฑ์ที่ชื่อ Session Smart Router หรือ VM ติดตั้งภายในบ้านหรือคลาวด์ได้ทันใจ โดยการใช้งานโปรโตคอลที่เรียกว่า Secure Vector Routing ทำให้ส่งข้อมูลในระดับ Session และแก้ปัญหาในเรื่อง Overhead ที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีแบบเดิมที่ต้องมีทั้ง Firewall, Packet Inspection หรืออื่นๆ เพื่อให้ตอบโจทย์ได้ครอบคลุมจบในที่เดียว