Facebook เผยเริ่มใช้ QUIC และ HTTP/3 กับผู้ใช้งานทั่วโลกกว่า 75% แล้ว

Facebook ได้ออกมาเขียน Technical Blog ถึงการเปลี่ยนการเชื่อมต่อจากผู้ใช้งาน Facebook ให้กลายเป็น QUIC และ HTTP/3 สำเร็จไปแล้วกว่า 75% ของทราฟฟิกที่เชื่อมต่อเข้ามายัง Facebook ทั้งหมดในเวลานี้ และพบว่า QUIC สามารถช่วยให้ประสบการณ์ของผู้ใช้งานดีขึ้นได้เป็นอย่างมาก

Credit: Facebook

ใน Blog ระบุว่า Facebook นั้นได้มีการพัฒนา QUIC ด้วย Implementation ของตนเองโดยมีชื่อว่า mvfst ( https://github.com/facebookincubator/mvfst ) เพื่อทำการทดสอบและใช้งาน QUIC กับระบบของ Facebook เอง ซึ่งที่ผ่านมา Facebook ก็มีการ Implement Protocol ต่างๆ ขึ้นมาด้วยตนเองเพื่อให้มีประสิทธิภาพและรองรับการทำงานในรูปแบบที่ Facebook ต้องการเองเรื่อยๆ อยู่แล้ว

ในช่วงแรกเริ่ม Facebook นั้นได้เริ่มต้นจากการใช้ QUIC ในการเชื่อมต่อระหว่างแต่ละระบบภายในของตนเองเองก่อน จนทำให้ Facebook สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่พบในการใช้งานจริงได้ก่อนที่จะเปิดให้ผู้ใช้งานได้ใช้ QUIC ร่วมถึงยังได้พัฒนาระบบ Load Balancer ที่มีความสามารถ QUIC-Aware ขึ้นมาเองได้ และปรับปรุงระบบจนสามารถลด Downtime ที่เกิดขึ้นกับระบบลงได้

เมื่อ Facebook เริ่มพร้อมแล้ว ก็ได้เริ่มจากการนำ QUIC มาใช้ใน Facebook App บางส่วนก่อนซึ่งก็คือ Request ของ GraphQL ที่เกิดขึ้นจาก Facebook App นั่นเอง โดย Request เหล่านี้เป็น Request ที่ไม่มี Static Content ปะปนอยู่เลย ซึ่งก็สามารถช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้ใช้งานที่สามารถใช้ Facebook App ได้รวดเร็วขึ้น แต่ก็ต้องเผชิญกับปัญหา Error Rate ที่สูงขึ้นในฝั่งของการโหลด Static Content ผ่าน TCP แทนจากการที่มีการเปลี่ยนแปลง Logic ของ App เพื่อรองรับ QUIC ให้ได้ดีขึ้น

ด้วยเหตุนี้ก้าวถัดมาของ Facebook จึงเป็นการนำ QUIC มาใช้กับ Static Content ด้วยไม่ว่าจะเป็นรูปภาพหรือวิดีโอก็ตาม ซึ่งในช่วงแรก Facebook ก็มีความกังวลด้านการใช้ CPU และการทำ Congestion Control ของระบบ จึงต้องมีการพัฒนา Performance Testing Tool ขึ้นมาเพื่อทดสอบและปรับปรุงระบบจนสามารถนำมาใช้งานจริงได้ และในการทดสอบการใช้ QUIC กับวิดีโอนั้นก็พบว่าระบบมีค่า Mean Time Between Rebuffering (MTBR) ที่ดีขึ้นถึง 22% ในขณะที่ Error Rate นั้นลดลงถึง 8% ทำให้วิดีโอติดขัดน้อยลง 20% และส่งผลให้ประสบการณ์ในการรับชมวิดีโอบน Facebook นั้นดีขึ้นตามไปด้วย

แน่นอนว่าด้วยประสิทธิภาพที่สูงขึ้นนี้ ก็ทำให้ Facebook ตัดสินใจใช้ QUIC กับบริการอื่นๆ อย่างเช่น Instagram ด้วยแล้วทั้งบน App และ Web ซึ่งหลังจากนี้ Facebook ก็จะค่อยๆ นำ QUIC มาปรับใช้กับบริการอื่นเพิ่มเติมต่อไป

ในมุมของการร่างมาตรฐานนั้น IETF มีแผนที่จะ Finalize QUIC Protocol ภายในปี 2021 ซึ่งเมื่อเวลานั้นมาถึง Facebook ก็เชื่อว่า QUIC จะกลายเป็นมาตรฐานที่ทุกบริการใช้งานกันอย่างจริงจังมากขึ้น และก็จะทำให้เกิด Internet Application ในรูปแบบใหม่ๆ ตามมา ซึ่งทีมงานของ Facebook เองก็ขอบคุณผู้ที่อยู่เบื้องหลังการร่างมาตรฐาน QUIC ที่ร่างมาตรฐานสำคัญระดับนี้ขึ้นมาได้ในเวลาอันสั้น

ที่มา: https://engineering.fb.com/networking-traffic/how-facebook-is-bringing-quic-to-billions/

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

OpenAI เปิดตัวโมเดล Audio รุ่นใหม่สำหรับพัฒนา Voice Agent อัจฉริยะ

OpenAI ประกาศเปิดตัวโมเดล Audio รุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงทั้ง Speech-to-Text และ Text-to-Speech พร้อมให้นักพัฒนาทั่วโลกใช้งานผ่าน API เพื่อสร้าง Voice Agent ที่มีความสามารถในการโต้ตอบอย่างเป็นธรรมชาติ

ขอเชิญร่วมงาน AWS Summit Bangkok 2025 สัมนนาใหญ่อัปเดต AWS พร้อมฉลองครบรอบ 10 ปี AWS ประเทศไทย [29 เม.ย. 2025]

AWS ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมงานสัมมนาใหญ่ประจำปี 2025 กับงาน AWS Summit Bangkok 2025 พร้อมการเฉลิมฉลองครบรอบ 10 ปีของ AWS ประเทศไทย ด้วยการอัปเดตเทคโนโลยี นวัตกรรม …