CDIC 2023

จับตามอง Wi-Fi HaLow มาตรฐาน 802.11ah รองรับ IoT ระยะไกลหลักกิโลเมตร เปิดตัวสู่ตลาดในปี 2019 นี้

ถือว่าเป็นอีกมาตรฐาน Wi-Fi ที่น่าจับตามองไม่น้อยกับ IEEE 802.11ah ที่ทำงานบนย่านความถี่ 900MHz ซึ่งจะเริ่มมีผลิตภัณฑ์ออกมาในปี 2019 นี้ หลังจากที่กำหนดการล่าช้าออกไปประมาณ 2 ปี

Credit: Morse Micro

802.11ah มีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า HaLow โดยจะมีความเร็วที่ระดับเพียงแค่ไม่กี่ Megabit/s เท่านั้น แต่จะมีระยะทางในการเชื่อมต่อได้ไกลตั้งแต่หลักไม่กี่สิบเมตรไปจนถึงหลักกิโลเมตรเลยทีเดียว โดยมาตรฐานนี้ถูกออกแบบมาเพื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ Internet of Things หรือ IoT โดยเฉพาะ ให้มีพื้นที่ครอบคลุมระยะไกล และกินพลังงานต่ำ

คุณสมบัติเหล่านี้เอง ทำให้ 802.11ah ถูกวางอยู่กึ่งกลางระหว่างเทคโนโลยีอย่าง LoRa และ Sigfox ที่เน้นการประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่าย กับ LTE Cat-M และ Narrowband-IoT ที่ต้องใช้พลังงานสูงขึ้นแต่ก็มีระยะการใช้งานที่ครอบคลุมยิ่งกว่า

ผลิตภัณฑ์กลุ่มแรกที่จะเปิดตัวออกมารองรับมาตรฐาน 802.11ah นี้จะเป็นชิปที่ผลิตด้วยเทคโนโลยี 40nm สำหรับอุปกรณ์ IoT ที่ใช้ย่านความถี่แบบ Unlicensed โดยที่ผ่านมามีบริษัท Newracom ธุรกิจ Startup จากเกาหลีเพียงรายเดียวเท่านั้นที่ได้วางจำหน่ายชิป 802.11ah แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ก็จะมีผู้ผลิตรายอื่นๆ อีกที่เริ่มทยอยเปิดตัวชิปของตนเองออกสู่ตลาดกันมากขึ้นในปี 2019 นี้

ที่มา: https://www.eetasia.com/news/article/20190104NT01-Riding-the-IoT-Wave-with-Wi-Fi-Halow


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

ขอเชิญผู้สนใจทุกท่านเข้าร่วมสัมมนาออนไลน์ “Enhance Your Business Growth with Google Cloud Vertex AI”

iZeno ขอเชิญชวนผู้สนใจทุกท่านเข้าร่วมงานสัมมนาออนไลน์ “Enhance Your Business Growth with Google Cloud Vertex AI” หรือแพลตฟอร์มที่ช่วยให้การทำงานด้าน AI/ML ด้วยพลังของ Google …

จีเอเบิล เปิดยุทธศาสตร์สร้าง Tech Talent เจนใหม่ ตอบโจทย์ความสำเร็จธุรกิจ Tech Enabler ในอนาคตอย่างยั่งยืน [Guest Post]

เมื่อ Digital Transformation กลายเป็นตัวเร่งสำคัญที่ทำให้ภาคธุรกิจทุกอุตสาหกรรมในประเทศไทยต้องขับเคลื่อนองค์กรด้วยเทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติ เพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้ทุกองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนมีความต้องการบุคลากรไอทีที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะเข้ามาสนับสนุนงานในหลายส่วนตั้งแต่งานวางโครงสร้างพื้นฐานไอทีไปจนถึงงานวางระบบฐานข้อมูลและพัฒนาแอปพลิเคชันจำนวนมาก ส่งผลให้แนวโน้มตลาดงานด้านไอทีมีความต้องการสูงมากขึ้นทุกวันเพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคยุคดิจิทัล ข้อมูลจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) พบว่า            …