ภายในงาน 2017 CyberSat Summit ที่จัดขึ้นใน Virginia ได้มีการเปิดเผยถึงความสำเร็จของ Department of Homeland Security (DHS) หรือกรมความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐที่สามารถทำการ Hack เครื่องบิน Boeing 757 ที่จอดอยู่ในสนามบินได้จากระยะไกล ทำให้กลายเป็นประเด็นใหญ่ไม่น้อยทีเดียวสำหรับวงการการบินในตอนนี้

รายละเอียดของช่องโหว่ที่โจมตีผ่านคลื่นวิทยุหรือ RF นี้ยังถูกปกปิดเป็นความลับจากทางการสหรัฐ และสาเหตุที่ช่องโหว่นี้ไม่ถูกแก้ไขโดยสายการบินนั้นก็เป็นเพราะประเด็นเรื่องค่าใช้จ่าย ที่หากสายการบินอย่าง Southwest Airlines นั้นต้องทำการอุดช่องโหว่เหล่านี้ด้วยตนเองบนเครื่องบิน Boeing 737 ทั้งหมดที่มีอยู่ สายการบินก็อาจล้มละลายเลยก็เป็นได้ เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการแก้ไขโค้ดแม้เพียงบรรทัดเดียวบนอุปกรณ์นั้นๆ อาจสูงถึง 1 ล้านเหรียญหรือ 35 ล้านบาท และยังต้องใช้เวลาอีกหลายปีในการติดตั้งให้สำเร็จด้วย
ทั้งนี้เครื่องบินรุ่นเก่าๆ ที่มีช่องโหว่นี้ และนับเป็น 90% ของเครื่องบินพาณิชย์นั้นต่างได้รับผลกระทบจากปัญหานี้ทั้งหมด ส่วนเครื่องบินรุ่นใหม่ๆ อย่างเช่น Boeing 787 หรือ Airbus Group A350 นั้นถูกออกแบบมาโดยมี Security ในตัวอยู่แล้วจึงไม่ได้รับผลกระทบใดๆ จากปัญหานี้
อีกประเด็นที่ถือว่าน่าสนใจไม่น้อย คือในขั้นตอนการ Maintenance อากาศยานใดๆ นั้น มักจะยังไม่มีขั้นตอนในการจัดการประเด็นเกี่ยวกับ Cyberthreat ที่อาจเกิดขึ้นได้บนเครื่องบินเลย