RPA เป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ประหยัดเวลา แบ่งเบาภาระให้พนักงานมีเวลาไปทำกิจกรรมอื่นที่มีประโยชน์มากขึ้น อีกทั้งปัจจุบันเทคโนโลยี RPA ยังได้รับการเสริมสร้างความชาญฉลาดจาก AI/ML หรือแม้กระทั่งการทำงานร่วมกับ IoT ด้วยเหตุนี้เอง RPA จึงถือเป็นกุญแจสำคัญในโครงการ Digital Transformation อนึ่งแม้จะมีประโยชน์มากล้น แต่การตีความเพื่อนำไปใช้จริงนั้นมีความท้าทายไม่น้อย ด้วยเหตุนี้เองวันนี้เราขอพาทุกท่านไปรู้จักกับบริการ RPA ภายใต้มือผู้เชี่ยวชาญจาก KDDI Thailand กันครับ

Software RPA คืออะไร?
Robotic Process Automation หรือ RPA คือการสร้างหุ่นยนต์หรือบอทที่จะเข้าไปทำงานแทนมนุษย์ โดยงานที่เข้าไปทำแทนอาจจะเป็นงานที่ซ้ำซากจำเจ งานที่ไม่ต้องใช้ความสามารถมากแต่กินเวลา หรืองานที่คอมพิวเตอร์สามารถทำได้เร็วกว่ามนุษย์
ก่อนที่บอทจะเข้าไปทำงานเหล่านั้นได้ ก็ต้องมีการสอนงานกันก่อน โดยอาจทำผ่านการลองทำงานนั้นและ Record ไว้เพื่อเป็นตัวอย่างสำหรับบอท หรือการเขียนโปรแกรมเพื่อสร้างบอทตามต้องการ ซึ่งอาจรองรับเคสที่ซับซ้อนมากกว่า และเมื่อนำบอทเหล่านี้ไปใช้งาน พวกมันก็จะทำงานอย่างรวดเร็วแม่นยำตามรูปแบบที่เรียนมา ไม่มีการเหนื่อยล้า ไม่ตกหล่น และสามารถทำงานได้ตลอดแม้นอกเวลาทำการ
หากกล่าวถึงข้อดีของ RPA นั้นมีอยู่หลายด้านทีเดียว ประการแรก ตอบโจทย์ด้าน Compliance เนื่องจากบอทสามารถบันทึกทุกกิจกรรมไว้จึงมีแนวทางที่ชัดเจนไม่นอกกรอบมั่นใจได้ ดังนั้นการตรวจสอบภายในจึงทำได้ง่าย อีกทั้งฟีเจอร์ของ RPA ยังรองรับกับมาตรฐานในหลายอุตสาหกรรมเช่น HIPAA, PCI และอื่นๆ
ประการที่สอง ไม่กระทบกับระบบเดิมเพราะการทำงานของ RPA จะอยู่ในเลเยอร์แอปพลิเคชันเฉกเช่นเดียวกับที่ผู้ใช้ปฏิสัมพันธ์กับแอป กล่าวคือไม่ต้องเปลี่ยนแปลงแอปเดิมที่มีอยู่ทำให้ไม่กระทบกับการทำงาน การใช้งานสมัยใหม่ก็ไม่ยากนักเพราะถูกพัฒนาให้ง่ายขึ้นเรื่อยๆลดการพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญ
ประการที่สาม เพิ่มประสิทธิภาพให้แก่การทำงานของพนักงานซึ่งจะเห็นได้ว่าบอทเหมาะแก่การทำงานซ้ำเดิมหรืองานปริมาณมาก สร้างประสบการณ์ความเป็นอัตโนมัติให้แก่กระบวนการทำงาน
ประการสุดท้าย แพลตฟอร์มกลางที่ใช้บริหารจัดการ RPA ในการทำงานมีลักษณะแบบรวมศูนย์ ดังนั้นกิจกรรมทุกอย่างตั้งแต่การตั้งค่า ควบคุม สร้างบอทจะเกิดขึ้นได้จากศูนย์กลาง อีกทั้งหากเซิร์ฟเวอร์อยู่บนคลาวด์องค์กรก็จะสามารถควบคุมบอทได้จากที่ใดก็ได้
แต่แน่นอนว่าแต่ละองค์กรมีความต้องการที่แตกต่างกัน นั่นหมายถึงบอทที่สร้างขึ้นต้องถูกปรับแต่งให้เหมาะกับการทำงานในแง่ต่างๆ สเกลให้มากพอกับปริมาณงาน เชื่อมต่อระบบเดิมได้ อีกทั้งยังต้องประเมินประสิทธิภาพอยู่เสมอ นั่นทำให้ UiPath และ KDDI จะเข้ามาตอบโจทย์ตรงนี้
UiPath RPA
ความต้องการที่แตกต่างกันของสถานการณ์และลักษณะธุรกิจทำให้เรื่องราวทั้งหมดย้อนกลับมาสู่คำถามว่า UiPath มีเครื่องมืออะไรที่อำนวยความสะดวกให้แก่การทำงานนั้น และคำตอบนี้เห็นได้จากการที่ UiPath แบ่งส่วนของผลิตภัณฑ์ไว้ 3 ขั้นตอนคือ
- Discover – มีเครื่องมือช่วยเสาะหาว่าโปรเซสใด หรืองานใดในองค์กรที่สามารถสร้างผลสัมฤทธิ์ด้วย RPA ได้ อีกทั้งยังมีตัวอย่างการทำ Automation จากส่วนกลางเพื่อให้ผู้สนใจสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้สร้าง ROI ได้เหมาะกับองค์กร โดยมีฟีเจอร์ที่เกี่ยวข้องเช่น Process Mining, Task Mining และ Automation Hub
- Automate – มีเครื่องมือช่วยให้การพัฒนาบอทเป็นไปได้ง่ายและอัตโนมัติเช่น ทำให้งานง่ายขึ้นด้วย Low-code และรองรับการสเกลการทำงานด้วย API หรือมีระบบช่วยเหลือที่ทำให้เข้าใจโจทย์ได้รวดเร็วด้วย NLP และ AI/ML เป็นต้น โดยมีฟีเจอร์ที่เกี่ยวข้องคือ Studio Family, Apps, Integration Service, Assistant, Action Center, Assistant, Data Service และ Ai Center
- Operate – มีความสามารถช่วยให้องค์กรปฏิบัติงานได้หลายรูปแบบทั้ง SaaS หรือโฮสต์ระบบเอง ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจที่ช่วยในการโปรแกรมระบบบอท อีกทั้งยังช่วยติดตามทดสอบบอทที่ใช้งานได้อย่างต่อเนื่องทำให้สามารถเข้าใจและปรับปรุงประสิทธิภาพให้สูงขึ้นได้ รวมถึงบริการจัดการบอทได้จากศูนย์กลาง โดยมีฟีเจอร์ที่เกี่ยวข้องคือ Insights, Test Suite, Orchestrator, Automation Ops, Automation Cloud และ Automation Suite
ความครอบคลุมนี้เองเป็นเหตุผลที่ทำให้องค์กรมากมายต่างเลือกใช้ UiPath RPA อีกทั้งในปีล่าสุด Gartner ยังยกย่องให้ UiPath เป็นผู้นำในกลุ่มผลิตภัณฑ์ RPA ทั้งในแง่ของการนำไปใช้งานและวิสัยทัศน์ของโซลูชันด้วย

บริการ RPA จาก KDDI Thailand
แม้ว่า UiPath RPA จะมีเครื่องมือช่วยเหลืออย่างเพรียบพร้อมแต่ในทางปฏิบัติแล้ว การนำ RPA ไปใช้งานจริงยังมีความท้าทายหลายด้านรออยู่
1.) เกิดแรงเสียดทางจากพนักงานซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาในทุกการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีใหม่ เนื่องจากอาจสร้างความกดดันที่พนักงานต้องมีภาระงานเพิ่มขึ้นกว่าเดิมในช่วงต้น อย่างไรก็ดีสิ่งเหล่านี้จะแก้ได้เมื่อมีการสื่อสารจากผู้บริหารให้ชัดเจนว่าการเปลี่ยนแปลงนี้จะสร้างผลประโยชน์แก่องค์กรมากเพียงใด
2.) เลือกโปรเซสที่เหมาะสมกับการทำงานของ RPA ซึ่งนี่เป็นเรื่องยากมาก ที่องค์กรทั่วไปจะตีโจทย์ให้ออกว่าการทำงานส่วนไหนที่จะใช้ RPA ได้อย่างเหมาะสมคุ้มค่า จะทำงานร่วมกับรูปแบบเดิมอย่างไร โดยเฉพาะกับองค์กรที่ไม่มีมาตรฐานและหากต้องข้องเกี่ยวกับมนุษย์มากจะยิ่งทำให้โจทย์ซับซ้อนมากขึ้น
3.) การตั้งความคาดหวังกับ RPA เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมากเช่นกัน โดยองค์กรควรเข้าใจว่าอะไรคือข้อจำกัดที่ RPA ทำได้และไม่ได้ ซึ่งการตัดสินใจนี้เกิดขึ้นจากองค์ประกอบอีกหลายด้านเช่น ฟังก์ชันการทำงาน ระยะเวลาอิมพลีเม้นต์ และผลลัพธ์การปฏิบัติการที่แต่ต่างกันไปตามธุรกิจ ทั้งหมดนี้จะต้องหารือกันในภาพกว้าง
จะเห็นได้ว่าความท้าทายที่รออยู่นอกจากระดับผู้บริหารเข้าไปสื่อสารกับพนักงานแล้ว ความท้าทายข้อ 2 และ 3 จำเป็นต้องอาศัยผู้มีประสบการณ์จริงเกี่ยวกับการทำงานของ RPA ในภาคองค์กรประกอบกับผู้รู้ในกระบวนการของตัวเอง จึงจะนำไปสู่การตัดสินใจได้ว่ากระบวนใดที่สมควรใช้ RPA แล้วจะคุ้มค่าต่อการลงทุน นอกจากนี้การมีผู้เชี่ยวชาญยังอุ่นใจหากเกิดปัญหากับระบบ และยังได้รับการถ่ายทอดความรู้ที่ตรงประเด็นอีกด้วย ซึ่ง KDDI Thailand คือผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้บริการ UiPath RPA แล้วตั้งแต่การเข้าไปประเมินระบบเดิม วางแนวทางการนำ RPA ไปใช้ร่วมกัน อิมพลีเม้นต์ระบบ ตลอดจนคอยดูแลประสิทธิภาพของบอทหลังเริ่มใช้งานและปรับปรุงให้มีศักยภาพตอบโจทย์ความต้องการขององค์กร
ท่านใดสนใจบริการ RPA จาก KDDI Thailand ติดต่อทีมงานได้ที่ อีเมล bd@kddi.co.th โทรศัพท์ 02 075 8888 หรือ https://www.linkedin.com/company/kddi-thailand