CDIC 2023

ความท้าทายของสายเคเบิ้ลใต้น้ำ

เชื่อหรือไม่ว่าข้อมูลอินเทอร์เน็ตกว่า 97% ต้องพึ่งพาอาศัยเคเบิ้ลที่เดินข้ามมหาสมุทรให้เราทุกคนในโลกสามารถพูดคุยกันได้ แต่รู้หรือไม่ว่าตัวสายเคเบิ้ลใต้น้ำเองก็มีเหตุการณ์ที่เป็นภัยต่อความมั่นคงปลอดภัย ทั้งในแง่ของการชำรุดเสียหาย หรือความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เราอาจไม่ทราบมาก่อน

Credit: ShutterStock.com

โดยจากรายงานของคณะกรรมการปกป้องเคเบิ้ลระหว่างประเทศได้ออกรายงานฉบับหนึ่งที่พูดถึงสาเหตุและความเสี่ยงของเคเบิ้ลใต้น้ำไว้ดังนี้

1.) การทำประมงและสมอเรือ เป็นสาเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดที่ทำให้เคเบิ้ลใต้น้ำได้รับความเสียหาย

2.) ภัยธรรมชาติก็เป็นอีกสาเหตุที่น่าสนใจ โดยเราอาจจะนึกภาพไม่ออก ซึ่งใต้น้ำเองก็อาจเกิดแผ่นดินไหว หรือดินถล่มที่สร้างความเสียหายได้เช่นกัน

3.) พื้นที่แคบ(Chokepoint) ทำให้การติดตั้งสายเคเบิ้ลต้องมีความใกล้ชิดกัน ซึ่งส่งผลให้อาจกลายเป็นจุดร่วมของความเสียหายเชิงกายภาพได้

4.) การโจมตีจากความตั้งใจ หรือการโจมตีทางไซเบอร์ก็เป็นความเสี่ยงที่เป็นไปได้ แต่อย่างหลังค่อนข้างมีความจำกัดเพราะคงไม่เกิดขึ้นที่ตัวเคเบิ้ลใต้น้ำแต่อาจเป็นไปได้ ณ สถานีเชื่อมต่อ หรือจุดเชื่อมต่อ

5.) กฏหมายระดับประเทศก็เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ทั้งกฏหมายเรื่องของน่านน้ำ หรือองค์กรโทรคมนาคม ทหาร หรือหน่วยงานด้านความมั่นคงปลอดภัย ยังไงก็ต้องแน่ใจว่าเคเบิ้ลจะได้รับการคุ้มครอง

6.) ข้อมูลและองค์ความรู้ก็มีส่วนสำคัญ เช่น วิธีการออกแบบที่ตอบโจทย์ด้าน Resilience, Redundancy และ Capacity ซึ่งมีหน่วยงานที่ทำการศึกษาอยู่ แต่ถ้าพูดถึงความเชี่ยวชาญแล้วหน่วยงานหรือองค์กรด้านพลังงานมีประสบการณ์มานานกับสายส่งพลังงาน จึงควรมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างรัฐหรือผู้เกี่ยวข้องเช่นกัน

7.) การติดตั้ง ดูแล และซ่อมบำรุง ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับเคเบิ้ลใต้น้ำ เนื่องจากต้องข้องเกี่ยวกับฝ่ายต่างๆมากมาย เช่น เจ้าของเคเบิ้ล ผู้ดำเนินงาน Supplier และผู้ติดตั้งหน้างาน ทีมปฏิบัติการ บริษัทรับเหมา นอกจากนี้ยังมีเรือแบบเฉพาะที่ต้องใช้เพื่อการซ่อมบำรุง ซึ่งมีแค่ไม่กี่ลำในโลก ดังนั้นต้องใช้ความพยายามและเวลานานหากเกิดเหตุกับเคเบิ้ลขึ้นมา

ที่มา : https://www.helpnetsecurity.com/2023/09/21/subsea-cable-resilience/


About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

Gartner คาดการณ์ ราคาหน่วยความจำอาจปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงปีหน้า

Gartner คาดการณ์ ราคาหน่วยความจำอาจปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงปีหน้า

วางระบบ SOC ตรวจจับภัยคุกคาม เสริมมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยในองค์กร ด้วย IBM Security QRadar จาก Ruth Victor

Security Operations Center หรือ SOC นั้นได้กลายเป็นส่วนสำคัญของธุรกิจองค์กรในเวลานี้ เพื่อใช้ในการรวบรวมข้อมูลด้าน Cybersecurity จากระบบ IT ที่มีความสำคัญในองค์กร มาทำการวิเคราะห์ ตรวจสอบ และค้นหาภัยคุกคามที่อาจแฝงเร้นมาในวิธีการที่ซับซ้อนเกินกว่าที่ระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยทั่วไปจะตรวจจับได้ อย่างไรก็ดี …