SAP เปิดตัว Help Portal ใหม่ ทันสมัยขึ้น ใช้ SAP HANA เป็น Back-end

นับเป็นข่าวดีสำหรับผู้ที่อยู่ในแวดวงของ SAP เมื่อ SAP ประกาศเปิดตัว SAP Help Portal ใหม่ ที่พัฒนาขึ้นใหม่ทั้งหมดเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการจากเอกสารจำนวนกว่า 82 ล้านชุดในภาษาต่างๆ ของ SAP ได้

Credit: SAP

 

เบื้องหลังของ SAP Help Portal ใหม่นี้คือ SAP HANA ที่เข้ามาช่วยเร่งความเร็วในการประมวลผลและค้นหาข้อมูลต่างๆ จากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ดังกล่าว อีกทั้งยังเสริมความสามารถอย่างเช่นระบบ Suggestion หรือ Auto-complete และ Advanced Filtering เข้ามาอีกด้วย โดยรวมแล้วการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจมีดังนี้

  • การเข้าถึงเอกสารต่างๆ จะทำผ่านการ Search เป็นหลัก
  • มีการเพิ่ม Product Page สำหรับให้รายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับ Product นั้นๆ และกล่อง Search ในหน้านั้้นจะค้นหาข้อมูลเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับ Product ดังกล่าวเท่านั้น รวมถึงมีข้อมูลของ Product ในรุ่นเก่าๆ ให้ดูได้ด้วย
  • ใช้ SAP Cloud Platform ในการให้บริการ SAP Help Portal ทั้งหมด โดยมีการนำ SAP S/4HANA, Machine Learning และเทคโนโลยีอื่นๆ เพิ่มเติมเข้าไปด้วย

 

ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปเยี่ยมชมกันได้ที่ http://help.sap.com/ เลยนะครับ

 

 

ที่มา: http://news.sap.com/the-new-sap-help-portal-is-here/


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

เปิดตัว Panduit TX6A Vari-Matrix HD สาย Cat 6A UTP ขนาดเล็กที่สุดในโลก รองรับ 1-10GbE และ PoE++ ป้องกันสัญญาณรบกวนได้เหนือกว่ามาตรฐาน

ในปี 2023 นี้ถือเป็นปีที่น่าสนใจสำหรับวงการสายสัญญาณเครือข่าย เพราะผู้ผลิตทุกรายต่างเร่งพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาแข่งขันกันในหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเร็วของ Ethernet ที่เพิ่มขึ้น, การรองรับอุปกรณ์ IoT ให้ได้หลากหลายยิ่งขึ้น ไปจนถึงการตอบรับต่อประเด็นด้านความยั่งยืนหรือ Sustainability

ผลกระทบจากควอนตัมต่อระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ประเทศไทยต้องเร่งเดินหน้าแผนรับมือ [Press Release]

การคำนวณเชิงควอนตัม (quantum computing)  การแข่งขันด้านเทคโนโลยีการคำนวณแบบใหม่ที่กำลังร้อนแรง และเศรษฐกิจเอเชียรวมถึงไทยก็เกาะติดกระแสอย่างใกล้ชิด แต่นักวิจัยและนักเทคโนโลยีด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์กำลังกังวลกับข้อดีข้อเสียของการคำนวณเชิงควอนตัม แม้ประโยชน์จะมีมากมาย ตั้งแต่เรื่องแมชชีนเลิร์นนิ่ง การวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยทางการแพทย์ ไปจนถึงวิทยาการรหัสลับและระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ แต่เทคโนโลยีเดียวกันก็ก่อให้เกิดความเสี่ยงและช่องโหว่ใหม่โดยเฉพาะความสามารถในทะลุทะลวงการเข้ารหัสยุคใหม่ซึ่งถือเป็นรากฐานของอินเทอร์เน็ต การสื่อสาร และอีคอมเมิร์ซ ที่เชื่อมผสานสังคมของเราเข้าด้วยกัน