นักวิจัยทางด้าน Computer Science และ AI ของมหาวิทยาลัย MIT กำลังพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ซึ่งใช้สัญญาณคลื่นวิทยุในการมองทะลุกำแพงไปยังคนที่ยืนอยู่อีกฝั่งหนึ่ง โดยล่าสุดพบว่าเทคโนโลยีนี้สามารถระบุกิริยาท่าทางของคนอีกฝั่งได้ค่อนข้างชัดเจน MIT เรียกเทคโนโลยีนี้ว่า RF Capture
มองเห็นการเคลื่อนไหวของคนอีกฝั่งของกำแพง
MIT เริ่มทำการวิจัยเทคโลโลยี RF Capture ตั้งแต่ปี 2013 โดยเริ่มแรกทีมนักวิจัยได้พยายามใช้คลื่นวิทยุในการตรวจจับการเคลื่อนไหวเล็กๆน้อยๆของร่างกายจากอีกฝั่งหนึ่งของกำแพง เช่น การหายใจ แต่ด้วยระบบที่พัฒนาล่าสุดนี้ สามารถมองเห็นรายละเอียดของร่างกายได้ดียิ่งขึ้น เช่น หัว หน้าอก แขน มือ เท้า เป็นต้น รวมไปถึงเห็นภาพเงาของคนที่อยู่ที่ฝั่งของกำแพงเป็นตัวเป็นตนอย่างชัดเจน
นอกจากสามารถมองเห็นร่างการคนแล้ว RF Capture ยังสามารถแยกแยะร่ายกายของแต่ละบุคคลได้แม่นยำถึง 90% โดยทดสอบจากผู้ทดลองจำนวน 15 คน
ในอนาคตใช้แทนเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวของนักแสดง
“ปัจจุบันนี้นักแสดงจำเป็นต้องติดเซ็นเซอร์ไว้บนร่างกายเพื่อตรวจจับการเคลื่อนไหว และถ่ายทำในห้องพิเศษที่เต็มไปด้วยกล้องวิดีโอ เทคโนโลยี RF Capture นี้จะช่วยให้การตรวจจับการเคลื่อนไหวทำได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยนักแสดงไม่จำเป็นต้องติดเซ็นเซอร์ไว้บนร่างกายอีกต่อไป อีกทั้งยังสามารถตรวจจับการเคลื่อนไหวของนักแสดงที่อยู่หลังเฟอนิเจอร์หรือหลังกำแพงได้อีกด้วย” — ทีมนักวิจัยของ MIT กล่าว
โปรเจ็ค Emerald ช่วยเหลือผู้สูงอายุ
ทีมนักวิจัยยังระบุอีกว่า พวกเขาได้เริ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุโดยใช้เทคโนโลยี RF Capture ในการทำนายและหลีกเลี่ยงการหกล้มของผู้สูงอายุ เรียกว่าโปรเจ็คท์ Emerald โดยระบบที่ออกแบบนี้ จะทำการะบุความแตกต่างของรูปแบบการเคลื่อนไหวที่จะทำไปสู่การหกล้ม เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น
งานวิจัย RF Capture นี้เตรียมถูกนำเสนอในงานสัมมนา SIGGRAPH Asia ที่เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น ในเดือนพฤศจิกายนนี้ สามารถ่อ่านรายละเอียดงานวิจัยได้ที่ http://rfcapture.csail.mit.edu/rfcapture-paper.pdf