เพนตากอนเตรียมพัฒนา Drone ติดปืนเลเซอร์ต่อต้านขีปนาวุธ

กองทัพสหรัฐฯ เตรียมปัดฝุ่นโครงการ อากาศยานติดปืนเลเซอร์สำหรับใช้ทำลายมิสไซล์ข้ามทวีป ใหม่ โดยพร้อมติดตั้งปืนเลเซอร์บนอากาศยานไร้คนขับหรือ Drone แทนที่การติดตั้งบนเครื่องบินโบอิ้ง 747 ตามโครงการเดิมที่ไม่ประสบความสำเร็จ

boeing_yal-1_2

ปัดฝุ่นโครงการเดิมที่ใช้โบอิ้ง 747 มาพัฒนาต่อ

ปี 1996 กระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ ได้เริ่มโครงการ Boeing YAL-1 Airborne Laser Testbed ซึ่งเป็นโครงการติดตั้งปืนเลเซอร์ไว้บนเครื่องบินโบอิ้ง 747 สำหรับใช้ยิงมิสไซล์ข้ามทวีป แต่หลังจากทดสอบอยู่นานหลายปี พบว่าเครื่องบินดังกล่าวไม่เหมาะสมต่อการใช้งาน เนื่องจากถ้าต้องการให้ปืนเลเซอร์สามารถทำลายมิสไซล์ได้อย่างสมบูรณ์นั้น เครื่องบินจำเป็นต้องเข้าใกล้เป้าหมาย ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการถูกโจมตีได้ ส่งผลให้โครงการดังกล่าวล้มเลิกไปในปี 2012 หลังจากสูญงบประมาณไปกว่า $5,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

เตรียมใช้ Drone ติดตั้งปืนเลเซอร์แทน

อย่างไรก็ตาม ทางเพนตากอนกำลังพิจารณาวิธีการใช้เทคโนโลยีปืนเลเซอร์บน Drone แทน เนื่องจากสามารถบินเข้าหาเป้าหมายได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้คนขับ ทำให้ปลอดภัยต่อการตกเป็นเป้าขณะเตรียมยิงทำลายขีปนาวุธที่ถูกส่งออกมา

“ในเชิงทฤษฎี มันพิสูจน์แล้วว่าแนวคิดนี้สามารถทำได้ ถ้าเรามีพลัง มีบีมเลเซอร์ และระดับความสูงที่เพียงพอ เราสามารถดักทำลายมิสไซล์ข้ามทวีป จากระยะไกลได้” — พลเรือโท James Syring ให้ความเห็น

คำว่า “ในเชิงทฤษฎี” ถือว่าเป็นคีย์เวิร์ดสำคัญ เนื่องจาก YAL-1 ต้องใช้สารเคมีเพื่อสร้างแสงเลเซอร์มากถึง 36,000 กิโลกรัม ซึ่งสามารถยิงลำแสงออกไปได้ประมาณ 20 – 40 ครั้ง ส่งผลถ้าติดตั้งระบบทั้งหมดลงบน Drone ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าอาจเป็นไปได้ยาก หรือเป็นไปไม่ได้เลย

boeing_yal-1_1

พร้อมลงทุนอย่างเต็มที่ แม้จะเป็นไปได้ยาก

แต่อย่าดูถูกสหรัฐฯ มากจนเกินไป กองทัพสหรัฐฯ ยึดมั่นปรัชญาอย่างเหนียวแน่น ที่ว่า “ทุกอย่างเป็นไปได้ ถ้าเราทุ่มเงินลงไปมากเพียงพอ” ดังนั้นแล้ว สหรัฐฯ คงพร้อมจะทุ่มทุนเพื่อทำการพัฒนา Drone ติดปืนเลเซอร์นี้อย่างแน่นอน ก็คงต้องรอดูผลลัพธ์กันต่อไว้ว่าจะล้มเหลวเหมือนโครงการ Boeing YAL-1 หรือไม่

ที่มา: http://www.theregister.co.uk/2016/01/21/pentagon_antimissile_lasers_on_drones/


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

[Black Hat Asia 2023] ทำลายห่วงโซ่: มุมมองของคนวงในเกี่ยวกับช่องโหว่ของห่วงโซ่อุปทานซอฟต์แวร์

ยินดีต้อนรับสู่มุมมองของคนวงในเกี่ยวกับช่องโหว่ของห่วงโซ่อุปทานซอฟต์แวร์ หัวข้อนี้ถูกนำเสนอโดยนักวิจัยด้านความปลอดภัยชื่อ Yakir Kadkoda และ Ilay Goldman จาก Aqua Security ซึ่งมีประสบการณ์มากมายในงานด้าน Red Team พวกเขาให้ข้อมูลเชิงลึกอันมีค่าเกี่ยวกับช่องโหว่ที่แฝงตัวอยู่ในช่วงการพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่เผยถึงความเสี่ยงที่องค์กรต้องเผชิญในการรักษาความปลอดภัยของห่วงโซ่อุปทานซอฟต์แวร์

[Black Hat Asia 2023] สรุป Keynote วันที่ 1 เรื่อง “เตรียมตัวสำหรับการเดินทางอันยาวนานเพื่อความปลอดภัยของข้อมูล”

ข้อมูลถือเป็นปัจจัยที่ 5 ของการผลิต และความปลอดภัยของข้อมูล (Data Security) ก็ได้รับการจัดอันดับให้มีความสำคัญสูงสุดโดยรัฐบาลทั่วโลก ในประเทศจีน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยข้อมูล เช่น “กฎหมายความปลอดภัยของข้อมูล” และ “กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” ได้รับการประกาศใช้และมีผลบังคับใช้ในปี 2565 …