การใช้งาน OpenStack ในภาคธุรกิจนั้นกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง และในรายงาน OpenStack User Survey Report ครั้งที่ 10 ที่เพิ่งออกมาเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2017 นี้ ก็ได้มีรายงานว่าผู้ผลิตที่ได้ติดตั้งระบบ OpenStack ให้กับธุรกิจต่างๆ มากที่สุดเป็นอันดับ 1 บทความนี้เราจะทำการสรุปรายงานฉบับนี้ เพื่อให้ทุกท่านเห็นภาพของตลาด OpenStack ทั่วโลกในปัจจุบัน พร้อมนำทุกท่านไปทำความรู้จักกับ Huawei FusionSphere ซึ่งเป็น OpenStack Platform ที่ได้ถูกโหวตว่ามีการติดตั้งใช้งานสูงสุดเป็นอันดับ 1 ในรายงานฉบับนี้กันครับ
OpenStack เติบโตถึง 95% จากปี 2016 สู่ปี 2017, วงการ IT ยังครองอันดับหนึ่ง

ในรายงานฉบับนี้ได้ชี้ให้เห็นถึงการเติบโตของการใช้งาน OpenStack ในช่วงปี 2016 – 2017 ว่ามีการเติบโตที่สูงถึง 95% เลยทีเดียว ซึ่งตัวเลขนี้หมายถึงว่าจากบรรดาเหล่าผู้ถูกสำรวจในรายงานฉบับนี้กว่า 1,052 รายนั้น มีการติดตั้ง OpenStack ใหม่เกินกว่า 1,000 ระบบเลยนั่นเอง
อย่างไรก็ดี วงการ IT นั้นยังคงครองอันดับหนึ่งในการติดตั้งใช้งาน OpenStack ด้วยส่วนแบ่งที่ 55% ตามมาด้วยภาคธุรกิจโทรคมนาคมที่ 15% และภาคการศึกษา 10%, ภาคการเงิน 3%, ภาครัฐ 3%, ค้าปลีก 2%, ภาคการผลิต 2% และอื่นๆ อีก 4% โดยมีเหล่าธุรกิจชั้นนำที่เริ่มใช้งาน OpenStack เพิ่มขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็น American Airlines, China UnionPay, GE Healthcare, Insurance Australia Group, Mercedes Benz R&D, Ocado Technology, Pacific Textiles Holding Limited, Sprint และ U.S. Army Cyber School
Private Cloud มีการใช้งาน OpenStack มากที่สุด, รองลงมาคือ Multi-Cloud ในรูปแบบต่างๆ
สำหรับประเด็นด้านรูปแบบการนำ OpenStack ไปใช้งานนั้น ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า On-premises Private Cloud นี้มาแรงเป็นอันดับหนึ่งด้วยส่วนแบ่งที่มากถึง 72% ตามมาด้วย Public Cloud 12%, Community Cloud 9% และ Off-premises Private Cloud อีก 7%
แต่ถึงแม้เหล่าธุรกิจต่างๆ จะนิยมใช้ OpenStack ในการทำ On-premises Private Cloud เป็นหลัก ภาพของการทำกลยุทธ์ Multi-Cloud นั้นก็ยังคงได้รับความสนใจค่อนข้างมาก โดยในบรรดาผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 435 คนนั้นก็ได้ระบุด้วยว่ามีการใช้งาน OpenStack เชื่อมต่อกับบริการ Cloud ภายนอกอย่าง AWS ที่ 48%, OpenStack Private Cloud 38%, Microsoft Azure 27%, Google Compute Engine 21%, OpenStack Public Cloud 19% และอื่นๆ 6%
Bare Metal Services กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว
สำหรับโครงการภายใน OpenStack ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วนั้น ได้แก่ Ironic สำหรับใช้ทำ Bare Metal Provisioning, TripleO Deployment Service สำหรับการติดตั้ง OpenStack ซ้อนบน OpenStack, Manila File Management Service ระบบ Shared File Systems สำหรับทำงานร่วมกับ NFS, CIFS, GlusterFS และ HDFS และบริการสุดท้ายคือ Barbican Key Management Service ซึ่งเป็น REST API สำหรับใช้ในการจัดการรหัสผ่านและกุญแจเข้ารหัส
Kubernetes ครองตำแหน่ง Application Framework อันดับหนึ่งบน OpenStack
หากจะพูดถึง Cloud นาทีนี้คงไม่พูดถึง Kubernetes ไม่ได้ และในรายงานฉบับนี้ Kubernetes ก็ได้ถูกจัดให้เป็นอันดับ 1 ของ PaaS และ Container Tool ที่ใช้ในการจัดการ Application บน OpenStack ด้วยผลสำรวจว่ามีผู้ใช้งานถึง 50% เลยทีเดียวจากผู้ถูกสำรวจ 272 ราย ตามมาด้วยการพัฒนาระบบสำหรับจัดการ Application ของตนเอง 28%, OpenShift 17%, Docker Swarm 14%, CloudFoundry 13%, Mesos 8% และอื่นๆ อีก 18%
Huawei, Red Hat, Canonical – 3 ผู้ผลิตที่ติดตั้ง OpenStack มากที่สุดจากผลสำรวจ

ในการสำรวจด้วยประเด็นคำถามว่า “Vendor รายใดเป็นผู้ที่ติดตั้ง OpenStack Cloud ให้กับคุณ?” เหล่าผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 373 รายได้ทำการตอบคำถามนี้ร่วมกัน โดยมี Huawei และ Red Hat ขึ้นนำเป็นอันดับ 1 ร่วมกันที่ผลตอบแบบสอบถาม 24% ตามมาด้วย Canonical ซึ่งรั้งอันดับ 3 เอาไว้ได้ด้วยผลสำรวจ 16% และ Cisco ที่ 12%
Huawei เพิ่งเบียดเข้ามาเป็นอันดับหนึ่งได้เป็นครั้งแรกในรายงานฉบับนี้ โดยก่อนหน้านี้ผลสำรวจเมื่อเดือนเมษายน 2017 นั้น Red Hat และ Canonical เป็นผู้ครองอันดับ 1 และ 2 ไป
รู้จัก Huawei FusionSphere: ระบบปฏิบัติการ Cloud สำหรับองค์กร
Huawei FusionSphere นี้ถูกพัฒนาขึ้นมาในฐานะของ Cloud Operating System (Cloud OS) สำหรับ x86 Server เพื่อให้องค์กรและธุรกิจ IT ต่างๆ สามารถใช้งานเทคโนโลยี Virtualization ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเพื่อสร้างบริการ Cloud สำหรับใช้งานเป็นได้ทั้ง Private Cloud และ Public Cloud โดยรองรับเทคโนโลยีต่างๆ หลากหลายได้ผ่านทาง Open API และ OpenStack เองก็เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ Huawei FusionSphere สามารถเชื่อมต่อและทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี พร้อมทั้งมีการเสริมเทคโนโลยี Backup และ Disaster Recovery สำหรับปกป้อง Mission-critical Application ของเหล่าองค์กรได้ในตัว

การใช้ Huawei FusionSphere ร่วมกับ OpenStack นี้จะเป็นก้าวแรกไปสู่การเป็น Software-defined Data Center ที่ได้รวมเอาทั้งเทคโนโลยี Server Virtualization, Software-defined Storage (SDS) และ Software-defined Networking (SDN) เอาไว้ด้วยกันภายในระบบเดียว ซึ่งนอกจากจะสามารถนำไปใช้เพื่อรองรับการสร้าง Cloud ภายในองค์กรธุรกิจทั่วไปแล้ว ระบบ Cloud ดังกล่าวนี้ยังสามารถเป็นระบบ IT Infrastructure พื้นฐานให้แก่ธุรกิจโทรคมนาคมในการนำไปต่อยอดใช้งานร่วมกับ Network Functions Virtualization หรือ NFV ได้อีกด้วย

Huawei FusionSphere เพียงระบบเดียวนี้สามารถมี Virtualization Resource Management (VRM) สำหรับใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ ได้มากถึง 100 ชุด โดยแต่ละ VRM นี้ก็สามารถบริหารจัดการ Virtual Machine (VM) ได้มากถึง 10,000 เครื่องที่เปิดใช้งานอยู่ได้พร้อมๆ กัน รวมถึงยังสามารถทำการติดตั้ง Cascading OpenStack ได้มากถึง 100 ระบบ โดยรวมแล้วจึงทำให้ Huawei FusionSphere เพียงระบบเดีวนี้ สามารถบริหารจัดการ VM ภายใต้ Cascading OpenStack รวมกันได้มากที่สุดถึง 1 ล้าน VM ต่อระบบเลยทีเดียว

ในเชิงการติดตั้งและบริหารจัดการ ภายใน Huawei FusionSphere นี้จะมีระบบ Huawei FusionManager สำหรับทำการตรวจสอบและค้นหาอุปกรณ์ Physical โดยอัตโนมัติ โดยครอบคลุมถึงทั้งระบบ Subrack, Server, Blade, Storage, Switch และระบบเครือข่ายทั้งหมดที่เชื่อมต่ออุปกรณ์เหล่านี้เข้าด้วยกัน พร้อมสร้าง Topology กลางที่แสดงถึงทั้งระบบแบบ Physical และ Virtual เพื่อให้สามารถติดตามการทำงาน, แจ้งเตือนเมื่อเกิดปัญหา, บริหารจัดการทรัพยากร, ตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงาน และทำ Life Cycle Management ได้อย่างครอบคลุมจากศูนย์กลาง
นอกจากนี้ Huawei FusionSphere นี้ยังมีระบบ Self-service Portal พร้อมให้ผู้ใช้งานทำการร้องขอเปิดบริการต่างๆ ด้วยตนเองผ่านทางระบบ Service Catalog อีกทั้งยังมีระบบ Rights Management, Capacity Management, IT Resource Management, Performance Management, Configuration Change Management และ Rack Management ให้พร้อมใช้งานเพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการ Cloud Data Center โดยรวม
ปัจจุบันในประเทศจีน Huawei FusionSphere มีฐานลูกค้าอยู่หลากหลาย โดยมีตัวอย่างเช่นการเป็นบริการ Cloud เบื้องหลังระบบ ICT ของ Sichual Telecom, การทำหน้าที่เป็นระบบ Private Cloud สำหรับหน่วยงานภาครัฐ และการทำหน้าที่เป็น Cloud Data Center ให้กับ State Grid Corporation of China (SGCC) ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นต้น
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Huawei FusionSphere ได้ที่ http://e.huawei.com/us/products/cloud-computing-dc/cloud-computing/fusionsphere/fusionsphere
ติดต่อทีมงาน Huawei ประเทศไทยได้ทันที
ผู้ที่สนใจในเทคโนโลยี Cloud และ Data Center จาก Huawei สามารถติดต่อทีมงาน Huawei ประเทศไทยได้ทันทีที่
Huawei Enterprise Business ; Marketing Contact Center
Mobile 095-878-7475 e-mail : Th_enterprise@huawei.com
Follow us on : www.twitter.com/HuaweiEntTH
www.facebook.com/HuaweiEnterpriseThailand
Website : e.huawei.com