CDIC 2023

Microsoft ออกเอกสาร Windows Commands Reference รวมกว่า 250 คำสั่งเกือบพันหน้า โหลดได้ฟรี

Microsoft ได้ออกเอกสารอ้างอิงชุดคำสั่งบน Windows ภายใต้เอกสารชื่อ Windows Command Reference ซึ่งได้รวมเอาวิธีการใช้งานกว่า 250 คำสั่งใน Console เอาไว้ภายในเอกสาร PDF ขนาด 948 หน้า เปิดให้ทุกท่านโหลดไปศึกษาหรือใช้อ้างอิงกันได้ฟรีๆ

 

Credit: Microsoft

 

เอกสารฉบับนี้ถูกเผยแพร่อยู่ที่ https://www.microsoft.com/en-us/download/details.aspx?id=56846 หรือจะเข้าไปโหลดตรงๆ ที่ https://download.microsoft.com/download/5/8/9/58911986-D4AD-4695-BF63-F734CD4DF8F2/ws-commands.pdf ก็ได้เช่นกัน โดยในเอกสารฉบับนี้จะมีคำอธิบายแต่ละคำสั่ง, Option ที่ให้ใช้งานได้ พร้อมทั้งตัวอย่างการใช้งานให้ด้วย ทำให้ง่ายต่อการนำไปประยุกต์ใช้งานจริง

เนื้อหาในเอกสารนี้สามารถนำไปใช้งานได้กับ Windows 8.1, Windows 10, Windows Server 2008/2008 R2, Windows Server 2012/2012 R2, Windows Server 2016, Windows Server Semi-Annual Channel

อย่างไรก็ดี เอกสารฉบับนี้ยังขาดคำสั่งบางกลุ่มไปอยู่บ้าง แต่ด้วยจำนวนกว่า 250 คำสั่งที่ถือว่าเพิ่มมาจากเดิมที่คำสั่ง help เคยแสดงเพียงแค่ 86 คำสั่งก็ถือว่าเยอะมากแล้ว หลังจากนี้ก็อาจต้องรอเอกสารฉบับนี้อัปเดตกันต่อไปเพื่อให้ครอบคลุมชุดคำสั่งต่างๆ มากขึ้นครับ

 

ที่มา: https://www.bleepingcomputer.com/news/microsoft/microsoft-releases-a-windows-command-reference-for-over-250-console-commands/


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

Sirisoft ผนึกกำลัง Red Hat และ VST ECS นำเสนอ Red Hat OpenShift Platform Plus [Guest Post]

Sirisoft (สิริซอฟต์) ผู้ให้บริการด้านการให้คำปรึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศชั้นนำของไทย ผนึกกำลัง Red Hat (เร้ดแฮท (ประเทศไทย) ผู้ให้บริการด้านโซลูชันโอเพ่นซอร์สระดับแนวหน้าของโลก และ VST ECS (วีเอสที อีซีเอส (ประเทศไทย) …

ความท้าทายของสายเคเบิ้ลใต้น้ำ

เชื่อหรือไม่ว่าข้อมูลอินเทอร์เน็ตกว่า 97% ต้องพึ่งพาอาศัยเคเบิ้ลที่เดินข้ามมหาสมุทรให้เราทุกคนในโลกสามารถพูดคุยกันได้ แต่รู้หรือไม่ว่าตัวสายเคเบิ้ลใต้น้ำเองก็มีเหตุการณ์ที่เป็นภัยต่อความมั่นคงปลอดภัย ทั้งในแง่ของการชำรุดเสียหาย หรือความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เราอาจไม่ทราบมาก่อน