Microsoft จับมือ Rambus พัฒนา RAM แห่งอนาคต ทำงานได้ที่อุณหภูมิ -180 องศาเซลเซียส

Microsoft ได้ประกาศความร่วมมือกับ Rambus ในการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับรองรับ Cryogenic Computing หรือการประมวลผลที่อุณหภูมิระดับต่ำ โดยในที่นี้คือการพัฒนา DRAM แบบใหม่ที่ทำงานได้ภายใต้อุณหภูมิ -180 องศาเซลเซียสนั่นเอง

Credit: Rambus

 

Cryogenic Computing นี้คือแนวคิดที่จะถูกนำไปใช้กับระบบ High Performance Computing (HPC) และ Quantum Computing ซึ่งจะเป็นก้าวถัดไปของ Data Center แห่งอนาคต ที่จะเน้นการทำงานภายใต้อุญหภูมิติดลบ ต่างจากปัจจุบันที่ Data Center ทำงานที่อุณหภูมิสูงสุดที่ 27 องศาเซลเซียสนั่นเอง

ในความร่วมมือครั้งนี้ Microsoft และ Rambus จะร่วมกันพัฒนา DRAM ที่นอกจากจะทำงานได้ภานใต้อุณหภูมิ -180 องศาเซลเซียสแล้ว ก็จะต้องใช้พลังงานน้อย, มีความหนาแน่นของหน่วยความจำสูง, มีความจุโดยรวมสูง, มีราคาถูก อีกทั้งต้องผลิตจำนวนมากได้จริง ซึ่งด้วยสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิต่ำระดับนี้ การออกแบบ DRAM แบบใหม่จึงต้องมีความท้าทายและเทคนิคใหม่ๆ เพิ่มขึ้นนั่นเอง

การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อมารองรับ Quantum Computer เริ่มมีให้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆ จากผู้ผลิตแต่ละรายแล้ว อีกไม่นานเราคงได้เห็นข่าว Quantum Computer กันบ่อยขึ้นครับ

 

ที่มา: http://www.datacenterdynamics.com/content-tracks/servers-storage/microsoft-and-rambus-set-their-sights-on-cryogenic-computing/98183.article


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

[Video Webinar] สร้างระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพและประสานความมั่นคงปลอดภัยอย่างลงตัวกับ Arista Networks

สำหรับผู้ที่ไม่ได้เข้าฟังการบรรยาย Arista Webinar เรื่อง “สร้างระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพและประสานความมั่นคงปลอดภัยอย่างลงตัวกับ Arista Networks” พร้อมเจาะลึกการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาใช้เพื่อตรวจจับภัยคุกคามบนระบบเครือข่ายแบบเรียลไทม์ ที่เพิ่งจัดไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หรือต้องการรับชมการบรรยายซ้ำอีกครั้ง สามารถเข้าชมวิดีโอบันทึกย้อนหลังได้ที่บทความนี้ครับ

พบช่องโหว่ร้ายแรงใน Barracuda Email Security Gateway แนะผู้ใช้งานเร่งอัปเดต

ช่องโหว่ Remote Command Injection บน Email Gateway นี้ถือว่าเป็นข่าวร้ายเร่งด่วนที่ Barracuda ยอมรับว่ามีลูกค้าบางส่วนถูกโจมตีด้วยช่องโหว่นี้แล้ว