IBM Flashsystem

Meta เปิดตัว Llama 3.1 โมเดล AI แบบโอเพนซอร์สตัวใหม่ล่าสุด

Meta ประกาศเปิดตัว Llama 3.1 โมเดล AI แบบโอเพนซอร์สตัวใหม่ล่าสุด โดยมีขนาดใหญ่ที่สุดถึง 405 พันล้านพารามิเตอร์

Credit: Meta

Llama 3.1 เป็นการพัฒนาต่อยอดจาก Llama 3 ที่เปิดตัวเมื่อเดือนเมษายน มีให้เลือกใช้งาน 3 ขนาดตามจำนวนพารามิเตอร์ ได้แก่ 8B, 70B และ 405B โมเดลใหม่นี้มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับคู่แข่งสำคัญอย่าง GPT-4, GPT-4o และ Claude 3.5 Sonnet มี token context window ขนาด 128K ทำให้รองรับการป้อนข้อมูลปริมาณมากได้ นอกจากนี้ จุดเด่นสำคัญคือการรองรับหลายภาษารวมถึงภาษาไทย อีกทั้งยังมีการปรับเปลี่ยน License การใช้งานใหม่ ให้นักพัฒนาสามารถนำผลลัพธ์จาก Llama ไปฝึกฝนโมเดลอื่นที่มีขนาดเล็กกว่าได้

การเปิดตัว Llama 3.1 แบบโอเพนซอร์สนั้นสอดคล้องกับแนวทางของ Meta ที่มุ่งสนับสนุนโครงการโอเพนซอร์สมาโดยตลอด โดยเชื่อว่าโมเดล AI แบบเปิดจะช่วยผลักดันการพัฒนาเทคโนโลยี AI ให้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังตอบโจทย์การใช้งานในองค์กรที่ต้องการรักษาความลับของข้อมูล และสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า 50% ผ่านการประมวลผลบน Infrastucture ภายในองค์กรเอง เมื่อเทียบกับการใช้ API ของคู่แข่ง

ปัจจุบัน Llama 3.1 เปิดให้ใช้งานแล้วผ่านพันธมิตรของ Meta กว่า 25 ราย เช่น AWS, NVIDIA, Databricks, Groq, Dell, Azure, Google Cloud และ Snowflake สำหรับผู้ใช้ทั่วไปในสหรัฐอเมริกาสามารถทดลองใช้ Llama 3.1 ขนาด 405B ได้ผ่านแอปพลิเคชัน Meta.ai

ที่มา: https://siliconangle.com/2024/07/23/meta-introduces-llama-3-1-biggest-best-open-source-ai-model-date/

About เด็กฝึกงาน TechTalkThai หมายเลข 1

นักเขียนผู้มีความสนใจใน Enterprise IT ด้วยประสบการณ์กว่า 10 ปีในไทย ปัจจุบันใช้ชีวิตอยู่ที่ Cupertino, CA แต่ยังคงมุ่งมั่นในการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีให้กับทุกคน

Check Also

Adobe เปิดตัว LLM Optimizer ช่วยธุรกิจเพิ่มการมองเห็นแบรนด์ในยุค AI Browser และ Chat Services

Adobe เปิดตัว LLM Optimizer เครื่องมือใหม่สำหรับองค์กรช่วยติดตาม traffic จาก AI และให้คำแนะนำปรับปรุงเนื้อหา หลังพบ traffic จาก Generative AI เพิ่มขึ้น …

DevSecOps Workshop Series คอร์สจับมือทำ DevSecOps นำไปปรับใช้กับองค์กรได้จริง

ในยุคที่องค์กรต้องพัฒนาซอฟต์แวร์ให้รวดเร็วและปลอดภัยไปพร้อมกัน หลายครั้งที่การผสานระบบความปลอดภัยเข้ากับกระบวนการ DevOps หรือการเร่งพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ มักเป็นเรื่องท้าทายที่ต้องใช้เวลาและทรัพยากรไปกับการ “งมเอง” ลองผิดลองถูก เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานความปลอดภัยที่เข้มงวดและลดความเสี่ยงจากการโจมตีไซเบอร์  DevSecOps Workshop นี้ถูกออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านั้นโดยเฉพาะ ด้วยการนำทีมของคุณ ลงมือทำจริงทุกกระบวนการ พร้อมรับประสบการณ์และแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best …