ในปี 2020 ที่ผ่านมานับเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อย่างก้าวกระโดดของวงการ Enterprise IT ไทยและทั่วโลก และปี 2021 นี้ธุรกิจองค์กรไทยเองก็ยังคงต้องปรับตัวไปอย่างต่อเนื่อง โจทย์สำคัญคือ ธุรกิจองค์กรไทยควรมีวิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีอย่างไร? เทคโนโลยีใดบ้างที่ต้องให้ความสำคัญ? บุคลากรทางด้าน IT และฝ่ายอื่นๆ ควรต้องปรับตัวอย่างไร?
พบกับคำตอบของคำถามเหล่านี้ได้ใน Leadership Vision: เทรนด์ Enterprise IT ปี 2564 ที่ธุรกิจองค์กรไทยต้องรู้ บทสัมภาษณ์คุณสุภัค ลายเลิศ แห่ง Yip In Tsoi
ผู้ถูกสัมภาษณ์: คุณสุภัค ลายเลิศ
บริษัท: บริษัท ยิบอินซอย จำกัด
ตำแหน่ง: กรรมการอำนวยการ และประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ
ประวัติโดยย่อ:
คุณสุภัค ลายเลิศ ดำรงตำแหน่งกรรมการอำนวยการ และประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท ยิบอินซอย จำกัด สั่งสมประสบการณ์ด้านงานบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ การวางแผนการตลาด และการจัดจำหน่ายในวงการที่ปรึกษางานสารสนเทศของประเทศไทยมากว่า 10 ปี และเป็นกำลังสำคัญของความสำเร็จของยิบอินซอยยุคใหม่ที่มีบริการด้านไอทีเป็นกลยุทธ์หลักของธุรกิจ โดยได้ผันทิศทางจากผู้ให้บริการระบบเมนเฟรมมาสู่ระบบเปิด และถือเป็นผู้บุกเบิกตลาดอุปกรณ์เว็บแคช (Web caching appliances) ในประเทศไทย ซึ่งตอมาได้เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้วางรากฐานโครงข่ายระบบการสื่อสาร เพื่อสนับสนุนศักยภาพการขยายตัวของธุรกิจผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต อีกทั้งกลุ่มองค์กรระดับเอ็นเตอร์ไพร้ซ์
เกี่ยวกับยิบอินซอย:
บริษัท ยิบอินซอย จำกัด ผู้นำด้านการให้บริการโซลูชั่นเทคโนโลยีครบวงจร ทั้งซอฟต์แวร์ แอพพลิเคชั่นส์ ฮาร์ดแวร์ รวมถึงให้คำปรึกษาในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมชั้นนำ อาทิ การเงินและการธนาคาร โทรคมนาคม ภาครัฐและเอกชน ด้วยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญกว่า 500 คน ที่มุ่งมั่นให้บริการอย่างเต็มประสิทธิภาพแบบครบวงจร ไม่ว่าจะเป็น การบำรุงรักษาระบบเครือข่าย อุปกรณ์ต่อพ่วงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เสริม โซลูชั่นศูนย์ข้อมูล และระบบเฝ้าระวัง (หรือระบบติดตามเฝ้าระวัง) โดยเน้นความร่วมมือกับลูกค้าอย่างเป็นระบบเพื่อการให้บริการและส่งมอบโซลูชั่นที่ดีที่สุด ตอบโจทย์ลูกค้าเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน นอกจากนี้ยิบอินซอยยังเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับผู้ให้บริการเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกมากมาย
ช่องทางการติดต่อ:
Website บริษัท: https://www.yipintsoi.com
อีเมล์ติดต่อบริษัท: info@yipintsoi.com
เบอร์โทรติดต่อบริษัท: 02-353-8600
ในปี 2020 ที่ผ่านมาเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ ในวงการ IT สำหรับภาคธุรกิจองค์กรเมืองไทยอย่างไรบ้าง?
ในปี 2020 ที่ผ่านมา เกิดการระบาดของโควิด 19 ทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกเกิดการณ์เปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ รวมถึงประเทศไทยด้วย โดยองค์ส่วนใหญ่มีแนวทางรับมือลดการแพร่กระจายของโรค และ การเว้นระยะห่างทางสังคมเป็นการทำงานจากบ้าน (Work From Home) ซึ่งในแวดวงไอที คลาวด์ คอมพิวติ้ง นับว่าเป็นแพลตฟอร์มที่มีบทบาทสูงในการรองรับการทำงานจากระยะไกล (Remote Workforce) เมื่อรวมกับสภาพแวดล้อมการทำงานแบบเวอร์ช่วลไลเซชัน ได้ช่วยให้ระบบงานขององค์กรได้รับการปรับเปลี่ยนให้ทำงานเชื่อมต่อกับอุปกรณ์หลากหลายชนิดผ่านอินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวในการปรับเปลี่ยน และแชร์การใช้งานทรัพยากรไอทีในระบบได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สอดคล้องไปกับมาตรการ หรือสถานการณ์ที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา โดยไม่ส่งผลกระทบกับการทำงานและการดำเนินธุรกิจมากนัก ซึ่งแนวทางการพัฒนาสู่คลาวด์และเวอร์ช่วลไลเซชันจะกลายเป็นวิถีปกติ (New Normal) ทางเทคโนโลยีสำหรับองค์กรยุคดิจิทัลในอนาคต
ขณะที่การใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ต ทำให้เกิดแอปพลิเคขันออนไลน์ใหม่ๆ บนคลาวด์มากขึ้น (Cloud native) โดยใข้คอนเทนเนอร์เป็นเครื่องมือในการพัฒนา อย่างไรก็ตาม การเชื่อมต่อผ่านออนไลน์ในปริมาณมากๆ ทำให้เกิดการไหลเวียนของข้อมูลจำนวนมากขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะข้อมูลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Data) การพัฒนาระบบความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์จึงถูกเน้นย้ำเป็นพิเศษ โดยเฉพาะการรับมือแรนซั่มแวร์ การปกป้องสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูล และกฎหมาย PDPA
สุดท้าย คือ การกลับมาให้ความสำคัญกับแผนบริหารความต่อเนื่องของธุรกิจ (Business Continuity Plan) เพื่อให้ได้ระบบไอทีและระบบข้อมูลสำรองที่ดีที่พนักงานสามารถเชื่อมเข้าสู่ระบบและทำงานจากที่ไหนก็ได้อย่างปลอดภัย เป็นการสร้างความได้เปรียบต่อการรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดฝัน เช่น โรคระบาด หรือภัยพิบัติ หลายองค์กรมีการนำแผนบริหารธุรกิจในสถานการณ์ฉุกเฉินกลับมาทบทวน ตรวจเช็คเทคโนโลยีเดิม เพิ่มเติมเทคโนโลยีใหม่เพื่อให้ระบบกู้วิกฤตมีความทันสมัยมากขึ้น อาทิ คลาวด์ แพลตฟอร์มออนไลน์ โซเชียลมีเดีย การประชุมแบบเสมือน เป็นต้น
ในปี 2021 นี้ ภารกิจที่สำคัญของเหล่า CTO, CIO และ IT Manager ในธุรกิจองค์กรคืออะไร?
ภารกิจที่สำคัญคือ การปรับตัวให้ทันกับพฤติกรรมของลูกค้าและการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เน้นหาพันธมิตรใหม่ ที่เกี่ยวกับผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต่างๆ โดยยิบอินซอยมีเป้าหมายที่จะสร้างบริการเป็นของตัวเอง ด้วยบทบาทการเป็น SI จึงมีการเขียนแอปพลิเคชั่นต่างๆ ให้กับลูกค้ามายมาย มีองค์ความรู้ที่สั่งสมมานาน โดยจะนำเสนอองค์ความรู้เหล่านั้น มาสร้างเป็นบริการ As a Service ของตัวเอง
ท่ามกลางความกดดันของภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันนี้ ธุรกิจองค์กรควรมีกลยุทธ์ในการเลือกสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ หรือทำ Digital Transformation อย่างไร?
จากกระแสเรื่อง Digital Transformation ที่เกิดขึ้นทั่วโลกในทุกอุตสาหกรรม ไม่มีใครสามารถรอดพ้นจากความเปลี่ยนแปลงนี้ได้โดยไม่ปรับตัว ถึงแม้แต่บริษัทเทคโนโลยีที่เป็นผู้สร้างนวัตกรรมก็หนีไม่พ้นที่จะต้อง เปลียนแปลงตัวเองเพื่อรับกับแนวโน้มของโลก ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของโลกเทคโนโลยีครั้งใหญ่ จนทำให้เกิด Digital Disruption ทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกหลายรายที่รับมือไม่ทันต้องปิดตัวลงบ้างไม่ก็ต้องขายกิจการ หรือควบรวมกิจการ ซึ่งทุกอุตสาหกรรมล้วนต้องเผชิญกับความท้าทายนี้ รวมถึงธุรกิจ SI ที่ยิบอินซอยดำเนินธุรกิจอยู่ โดย แบ่งออกเป็น 3 เรื่องหลักคือ
- การสร้างโมเดลการให้บริการแบบ Repeatable หรือการทำซ้ำ เพราะหลักสำคัญของธุรกิจผู้ให้บริการด้าน ไอทีคือ การสร้างโมเดลจะต้องสามารถขยายสเกลการให้บริการออกไปได้ แต่ธุรกิจ SI นั้นเป็นผู้เข้าไปวางระบบไอทีให้กับลูกค้า ซึ่งลูกค้าในแต่ละอุตสาหกรรมก็มีความต้องการที่แตกต่างกัน ทำให้การติดตั้งระบบให้กับลูกค้า แต่ละครั้งยังมีต้นทุนสูง ส่งผลให้โอกาสที่จะมีการพัฒนาโมเดลการให้บริการในลักษณะ Repeatable นั้นทำได้ยาก
- ยิบอินซอยจะต้องทำความเข้าใจในตัวธุรกิจของลูกค้าให้มากกว่าเดิมที่เคยทำกันมา โดยยึดจุดแข็งองค์ความรู้ด้านการติดตั้งและวางระบบไอที ไม่สามารถทำให้องค์กรเป็นผู้ชนะในตลาดที่ทุกคนต้องการนำเทคโนโลยีมาเสริมศักยภาพทางธุรกิจ ดังนั้น ฝ่ายขายจะต้องมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยมีการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ และต้องเข้าใจวัตถุประสงค์ที่แท้จริงในการลงทุนของลูกค้า สามารถมองแนวโน้มธุรกิจไปจนถึงหาตัวอย่างกรณีศึกษาที่จะสอดคล้องมานำเสนอให้กับลูกค้าได้
- การเกิดคู่แข่งหน้าใหม่ในตลาด เป็นบริษัทที่มีขนาดเล็ก แต่มีจุดเด่นเรื่องความคล่องตัว เน้นการทำโซลูชั่นแพลตฟอร์มเชิงลึกเพียงด้านเดียว เช่น ระบบ Campaign Management หรือ Email Marketing โดยเฉพาะ ซึ่งโมเดลนี้ยังสามารถนำไปให้บริการกับธุรกิจอื่นๆได้ ด้านต้นทุนการให้บริการก็ต่ำกว่า เพราะว่าเน้นความเชี่ยวชาญเพียงเรื่องเดียว ในขณะที่ยิบอินซอยเน้นความเชี่ยวชาญในทุกเรื่องที่ลูกค้าต้องการ และพร้อมที่จะ ซัพพอร์ตลูกค้าตลอดการใช้งานทำให้มีต้นทุนด้านองค์ความรู้สูงกว่า
ปัญหาเรื่องการขาดแคลนบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้าน IT กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก ในมุมของ Yip In Tsoi เองนั้นสามารถเอาชนะความท้าทายนี้ได้อย่างไร? และมีคำแนะนำสำหรับธุรกิจองค์กรอื่นอย่างไร?
จากความท้าทายที่เกิดขึ้น ยิบอินซอยต้องการปรับองค์กรให้กลายเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เพระว่าเวลานี้เทคโนโลยี่มีการเปลียนเร็วมาก ขณะที่ยิบอินซอยเองก็ต้องเข้าไปในสภาพแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคย ดังนั้นจะต้องทำให้พนักงานของยิบอินซอย โดยเฉพาะฝ่ายขาย สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ให้มากขึ้น มีการ Learn Unlearn Relearn เพื่อให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
นอกจากนี้ยิบอินซอยมีสร้างทีมเพื่อเน้นการให้บริการเชิง Digital Service โดยเฉพาะ ซึ่งจะเน้นเทคโนโลยีคลาวด์ บิ๊กดาต้า และบริการอื่นๆ ที่อยู่ในรูปแบบ as a service เต็มรูปแบบ โดยเริ่มจาการทีมขนาดเล็กขึ้นมาก่อน เพื่อให้มีความคล่องตัวสูง ซึ่งจะทำหน้าที่แตกต่างจากกรอบธุรกิจ SI เดิมๆ เพื่อให้เกิดมุมมองและโอกาสใหม่ๆ ตลอดจนเพิ่มการลงทุนในการเฟ้นหาหัวกะทิด้านเทคโนโลยีที่เป็นคนรุ่นใหม่เข้ามาร่วมงานมากขึ้น เพระเวลานี้สิ่งสำคัญคือ การสร้างคนสายเลือดใหม่ที่มีทักษะความสามารถตรงกับสิ่งที่ลูกค้าต้องการ
ที่ผ่านมาธุรกิจนั้นเลือกใช้งาน Cloud Computing กันเป็นหลัก แต่ในอนาคตนั้น Edge Computing ก็ถือว่าน่าจับตามองไม่น้อย Yip In Tsoi มีคำแนะนำเพื่อให้ภาคธุรกิจนั้นคว้าโอกาสใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากการมาของ Edge Computing อย่างไร?
Edge Computing เป็นเทคโนโลยีที่จะมาต่อเติมการใช้งานของอุปกรณ์ปลายทาง ( Endpoint) ที่เพิ่มขึ้นยิ่งในยุคที่ต้อง work from home โดยเฉพาะอุปกรณ์โมมายอย่างโทรศัพท์มือถือ ที่ส่งได้ทั้งภาพ เสียง ข้อมูล หรือจะเป็นอุปกรณ์ไอโอทีที่ใช้ในการดักจับสัญญาณข้อมูลเพื่อควบคุมกระบวนการทำงาน ซึ่งต้องการความรวดเร็วในการประมวลผล รับและส่งข้อมูล สำหรับองค์กรที่มีแนวคิดในการพ้ฒนาแอปพลิเคชันหรือบริการธุรกิจผ่านการใช้งานอุปกรณ์ข้างต้น การใช้ Edge Computing จะเป็นประโยชน์ในการส่งต่อบริการที่รวดเร็ว เนื่องจากสามาถทำการประมวลผลรับ-ส่งข้อมูลได้ ณ จุดปลายทาง โดยไม่ต้องส่งเข้าสู่หน่วยประมวลผลกลาง พื่อไม่ให้การแสดงผลล่าช้า และเป็นการลดปริมาณงานประมวลผลบางประเภทให้กับระบบหลัก
ในยามนี้การ Reskill ก็ถือเป็นอีกเรื่องสำคัญ Yip In Tsoi มีคำแนะนำอย่างไรบ้างทั้งสำหรับคนที่ทำงานด้าน IT และทำงานด้านอื่นนอกจาก IT?
วิกฤตที่เกิดขึ้นทำให้ทุกอุตสาหกรรมพยายามบูรณาการเทคโนโลยีหลากหลายรูปแบบเข้ามาเป็นกลไลสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ เช่น ธุรกิจธนาคารที่ปัจจุบันหันมาให้บริการดิจิทัลเป็นช่องทางหลัก การพัฒนาแอปพลิเคชันออนไลน์รูปแบบต่างๆ เพื่อเพิ่มโอกาสและช่องทางการดำเนินธุรกิจ ดังนั้น การปลูกฝังวัฒนธรรมการเป็น “ องค์กรแห่งการเรียนรู้” ผ่านกระบวนการฝึกอบรมพนักงานในรูปแบบต่างๆ อย่างระบบ e- Learning เพื่อเพิ่มเติมทักษะในการใช้งานเทคโนโลยีใหม่ๆ (reskill) เป็นประจำสม่ำเสมอ จะส่งผลให้องค์กรสามารถพัฒนาปรับปรุงกระบวนการทำงานที่ทันสมัย โดยบุคลากรที่มีศักยภาพซึ่งพร้อมเปิดรับและเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ตลอดเวลา
สำหรับแนวโน้มเทคโนโลยีปี 2564 ที่ยิบอินซอยมองว่ามาแรงคือ?
1. คลาวด์-เวอร์ช่วลไลเซชัน
ปีนี้เราจะเห็นการผสานการทำงานของคลาวด์ประเภทต่าง ๆ ในแบบ Hyper Converged ในการเปลี่ยนผ่านระบบงานในปัจจุบัน และพัฒนาระบบงานใหม่ ๆ บนคลาวด์โดยเฉพาะ (Cloud Native) เพื่อนำบริการธุรกิจขึ้นสู่ออนไลน์มากกว่าเดิม ซึ่งรวมถึงองค์กรต้องเพิ่มระบบการทำงานเสมือนหรือเวอร์ช่วลไลเซชันภายใต้การควบคุมด้วยซอฟต์แวร์ (Software-defined) ให้ครบครันทั้งเซิร์ฟเวอร์ สตอเรจ เน็ตเวิร์ค แอปพลิเคชัน รวมถึงเทคโนโลยี VDI ในการจัดการกับเวอร์ช่วลเดสก์ท็อป เพื่อส่งต่อระบบทำงานที่แม่นยำและเป็นอัตโนมัติตรงจากส่วนกลาง (Automate Deployment) ผ่านการควบคุม ปรับปรุงประสิทธิภาพ และกำกับนโยบายความปลอดภัยในการเข้าใช้งานทรัพยากรได้ครบถ้วนและคุ้มค่า เช่น เทคโนโลยี HPE SimpliVity 380 แพลตฟอร์มคลาวด์องค์กร Nutanix และ Hypervisor AHV หรือ VMware Cloud Foundation ในการสร้างระบบเสมือนที่ครอบคลุมการใช้งานหน่วยประมวลผล การจัดเก็บข้อมูล ระบบเครือข่าย แอปพลิเคชัน และการทำงานของเวอร์ช่วลแมชชีนต่าง ๆ
2. คอนเทนเนอร์
มาตรการล็อคดาวน์ทำให้พฤติกรรมคนมุ่งสู่การใช้งานออนไลน์ผ่านอุปกรณ์โมบายเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว เป็นที่มาของการใช้ เทคโนโลยีเอดจ์คอมพิวติ้ง สำหรับประมวลผลและรับส่งข้อมูลผ่านการเชื่อมต่อที่รวดเร็วให้กับอุปกรณ์ปลายทาง ทั้งเกิดการใช้ เทคโนโลยีคอนเทนเนอร์ ที่มากขึ้นเพื่อช่วยให้องค์กรพัฒนาแอปพลิเคชันใหม่ ๆ ได้รวดเร็ว กะทัดรัด ใช้ทรัพยากรน้อยแต่มีประสิทธิภาพสูง ปัจจุบัน มีการหยิบฟังก์ชันการทำงานของซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ที่ใช้ในองค์กรมาย่อส่วนด้วยคอนเทนเนอร์ให้มีขนาดเล็กลง เพื่อลดขั้นตอนติดตั้งที่ยุ่งยากและส่งขึ้นคลาวด์ในรูปแบบไมโครเซอร์วิสต่าง ๆ ไว้เสริมบริการธุรกิจบนออนไลน์มากมาย โดยมี คูเบอร์เนเตส (Kubernetes) ไว้ควบคุมการทำงานของคอนเทนเนอร์ ซึ่งกระจายตัวบนคลาวด์หรือระบบคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ให้ทำงานได้เหมาะสมและไม่รบกวนกัน อย่างการใช้ HPE Container Platform ในการพัฒนาติดตั้งใช้งานซอฟต์แวร์คอนเทนเนอร์ Blue Data ซึ่งเป็นคอนเทนเนอร์สำหรับการจัดการด้านเอไอ แมชชีนเลิร์นนิ่ง และบิ๊ก ดาต้า หรือ HPE Machine Learning Ops ไว้สนับสนุนการทำงานของแมชชีนเลิร์นนิ่งบนคอนเทนเนอร์ที่เหมาะกับคลาวด์ในองค์กร คลาวด์สาธารณะ หรือ ไฮบริดคลาวด์ โดยมีความปลอดภัยสูง
3. แรนซั่มแวร์
การมุ่งขโมยข้อมูลธุรกิจและข้อมูลส่วนบุคคล เช่น การโจมตีตรงเข้าสู่ฐานข้อมูลหรืออีเมล์เซิร์ฟเวอร์ในองค์กร แฝงตัวผ่านการใช้งานของยูสเซอร์เมื่อมีการเข้ารหัสผ่านเครื่องเดสก์ท็อประยะไกล บลูทูธ โอเอสหรือแอปพลิเคชันของอุปกรณ์โมมาย ไอโอทีต่าง ๆ ดังนั้น การรับมือภัยคุกคามจากนี้ไป ต้องเป็นระบบที่ตรวจสอบได้ครบทั้ง คน (People) และ อุปกรณ์ (Things) ว่าได้รับอนุญาตให้เชื่อมเข้าสู่ระบบหรือไม่ ได้ถึงระดับใด หรือมีพฤติกรรมเคลื่อนไหวใช้งานอย่างไร เพื่อหาทางป้องกันหรือแก้ไขได้ทันท่วงทีเมื่อเกิดปัญหา เช่น HPE Cohesity ระบบบริหารจัดการข้อมูลบนแพลตฟอร์มกลางตัวเดียวในการสอดส่องการเข้าถึง สำรอง และกู้คืนข้อมูลเมื่อต้องเผชิญกับแรนซัมแวร์ Trend Micro XDR (Detection & Response) ซึ่งวิเคราะห์การและจัดการทุกการโจมตีในหลายลำดับชั้นความปลอดภัยทั้งอีเมล์ อุปกรณ์ปลายทาง เซิร์ฟเวอร์ เน็ตเวิร์ค คลาวด์ หรือ VMware Carbon Black ซึ่งพัฒนามาเพื่อรับมือกับแรนซั่มแวร์โดยตรง
4. ข้อมูลกับความเชื่อมั่นทางดิจิทัล และ PDPA
กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA จึงต้องมีเพื่อสร้างความเชื่อมั่นทางดิจิทัล (Digital Trust) ซึ่งไม่ได้เป็นการห้ามไม่ให้มีการใช้ข้อมูลแต่อย่างใด เพียงแต่ต้องนำไปใช้ให้ตรงกับคำขออนุญาต ต้องแสดงให้เห็นกระบวนการวิเคราะห์หรือนำข้อมูลไปใช้งานที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ รวมถึงมีการเข้ารหัสข้อมูลในขั้นตอนการทำงานหรืออัลกอริทึมเพื่อเพิ่มความปลอดภัยของข้อมูล เช่น VMware Workspace one เพื่อดูแลการเข้าถึงข้อมูลจากอุปกรณ์ปลายทาง VMware Horizon กำกับการใช้งานข้อมูลและแอปพลิเคชันผ่านเวอร์ช่วลไลเซชันหรือคลาวด์ VMware vSAN เพื่อกำหนดนโยบายและขั้นตอนจัดเก็บข้อมูล VMware NSX ดูแลการเชื่อมต่อเน็ตเวิร์คใน-นอกองค์กรหรือข้ามพรมแดนเพื่อสร้างระบบความปลอดภัยข้อมูลเชิงรุก Data Privacy Manager เน้นการจัดการความปลอดภัยที่เจาะจงต่อข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า พนักงาน ผู้บริหาร หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางธุรกิจ IBM Security Guardium ในการแยกแยะและป้องกันโดยการเข้ารหัสหรือควบคุมการเข้าถึงข้อมูล IBM MaaS 360 with Watson สำหรับกำกับการใช้งานอุปกรณ์ปลายทางที่เชื่อมผ่านอินเทอร์เน็ตเพื่อตรวจสอบสิทธิเข้าถึงข้อมูล ป้องกันพฤติกรรมเสี่ยง และเพิ่มเครื่องมือระบุตัวตนเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิ นอกจากนี้ องค์กรอาจเพิ่มเครื่องมือด้านการบริหาร เช่น เครื่องมือในการค้นหาข้อมูล บริหารจัดการสิทธิของเจ้าของข้อมูล รวบรวมบันทึกความยินยอมในรูปเอกสารหรือจากเว็บเพจต่าง ๆ และจัดการการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลและการรั่วไหลของข้อมูล เป็นต้น