[PR] แคสเปอร์สกี้ แลป เผยผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสูงวัยระแวดระวังมากกว่าวัยรุ่น แม้ขาดความรู้เท่าทันภัยไซเบอร์

เมื่อพูดถึงประเด็นการใช้ออนไลน์ให้ปลอดภัย ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอายุ 45 ปีขึ้นไปมีความระมัดระวังในเรื่องการเปิดเผยข้อมูลมากกว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตรุ่นเยาว์ แต่ขาดความรู้ในการระบุสแกมอันตรายและภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น จากการสำรวจผู้ใช้อินเทอร์เน็ตล่าสุด เรื่อง “Consumer Security Risks Survey 2015” และ “Are you cyber savvy? Quiz” โดยแคสเปอร์สกี้ แลป ผู้ที่อายุต่ำกว่า 24 ปีเต็มใจที่จะเปิดเผยข้อมูลของตัวเองและใช้มาตรการป้องกันตนเองน้อยกว่า แต่มีความเข้าใจภัยที่อาจเกิดขึ้นได้ดีมากกว่าและสามารถจำแนกออกได้ง่ายกว่า

kaspersky-lab-elder-self-consciousness-security-2

ผลการวิจัยพบว่า สำหรับคนที่อายุน้อยกว่านั้น การแชร์ข้อมูลออนไลน์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทุกวัน โดยผู้ให้สัมภาษณ์จำนวน 83% ใช้งานออนไลน์ผ่านข้อความส่วนตัว เปรียบเทียบกับผู้ให้สัมภาษณ์ที่อายุมากกว่า 45 ปี ที่ใช้งานข้อความส่วนตัวเพียง 53% และพบว่า คนที่อายุน้อยกว่าจำนวน 23% จะเปิดเผยเนื้อหาโจ่งแจ้งสู่สาธารณะอย่างน้อยหนึ่งครั้ง ซึ่งคิดเป็นสามเท่าของผู้สูงวัย (7%)

kaspersky-lab-elder-self-consciousness-security

ผู้ให้สัมภาษณ์ทั้ง 2 กลุ่มไม่ระวังเรื่องพาสเวิร์ดเท่าๆ กัน ผู้ให้สัมภาษณ์จำนวน 40% กล่าวว่า มีพาสเวิร์ดน้อยกว่าบัญชีออนไลน์ และจำนวนกว่าครึ่งหนึ่งระบุว่าเก็บพาสเวิร์ดไว้ในที่ไม่ปลอดภัย ยกตัวอย่างเช่น เขียนพาสเวิร์ดไว้ในกระดาษจด

เมื่อต้องติดตั้งซอฟต์แวร์และดาวน์โหลดไฟล์ กลุ่มคนที่มีอายุน้อยกว่าจะมีความใจร้อนกว่า ผู้ให้สัมภาษณ์จำนวน 26% บอกว่า จะข้ามรายละเอียดและเงื่อนไขต่างๆ เ วลาติดตั้งซอฟต์แวร์ ซึ่งอาจจะหมายความว่า ผู้ใช้จะไม่รู้ตัวว่าอนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลประเภทไหนบ้าง มีโปรแกรมใดที่ติดตั้งเพิ่มเติมขึ้นมา หรือระบบปฏิบัติการที่ติดตั้งเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ผู้ให้สัมภาษณ์อายุมากกว่า 45 ปี จำนวน 12% ไม่ให้ความสนใจกับตัวหนังสือขนาดเล็ก กลุ่มคนที่มีอายุน้อยกว่าได้แสดงความไม่ระมัดระวังเวลาดาวน์โหลดไฟล์เช่นเดียวกัน โดยจำนวนหนึ่งในสาม (31%) ดาวน์โหลดไฟล์จากแหล่งที่มาที่ต่างกัน เทียบกับ 10% ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่อาวุโสกว่า

กลุ่มคนที่มีอายุต่ำกว่า 24 ปีจำนวนหนึ่งในสี่ (24%) ยกเลิกการใช้งานโซลูชั่นการรักษาความปลอดภัย หากโซลูชั่นไม่อนุญาตให้ติตตั้งซอฟต์แวร์ ขณะที่ผู้ให้สัมภาษณ์อาวุโสจำนวน 13% จะทำอย่างเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม จากผลวิจัยของแคสเปอร์สกี้ แลป เมื่อเจอสิ่งที่อาจเป็นภัยคุกคาม กลุ่มคนที่มีอายุน้อยกว่าจะมีประสบการณ์มากกว่าในการระบุว่าเป็นภัยมัลแวร์ สำหรับประเด็นการดาวน์โหลดเพลงจากตัวอย่างสี่ประเภท ผู้ให้สัมภาษณ์ที่อายุน้อยกว่าจำนวนหนึ่งในสาม (30%) เลือกไฟล์ที่อันตรายมากที่สุดคือ ‘.exe’ ขณะที่ผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปีจำนวนเกือบครึ่ง (42%) เลือกไฟล์ประเภทนี้ สำหรับตัวเลือกที่ปลอดภัยคือ ‘.wma’ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตรุ่นอาวุโสกว่าเลือกดาวน์โหลดเพียงแค่หนึ่งในห้า แต่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตรุ่นเยาว์มีอัตราการเลือกสูงกว่าคือ 29%

เมื่อพิจารณาพฤติกรรมการใช้งานออนไลน์ที่ได้รับการควบคุมน้อย กลุ่มผู้ที่มีอายุน้อยกว่านั้นมักจะรู้ว่าโดนโจมตีโดยมัลแวลร์วายร้าย ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 24 ปีจำนวน 57% ได้รับผลกระทบจากมัลแวร์ในปี 2015 เมื่อเทียบกับผู้ที่อาวุโสกว่าจำนวน 34% เหยื่อที่มีอายุมากกว่าระบุว่า ตนไม่เข้าใจว่าติดไวรัสได้อย่างไรจำนวน 17% เมื่อเทียบกับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 24 ปีที่มีจำนวนเพียง 10% เนื่องจากขาดประสบการณ์เกี่ยวกับความเสี่ยงทางโลกออนไลน์

เดวิด เอมม์ หัวหน้านักวิจัยด้านความปลอดภัยของแคสเปอร์สกี้ แลป แสดงความคิดเห็นว่า “เห็นได้ชัดว่า ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสูงอายุมีความเสี่ยงเรื่องข้อมูลส่วนตัวน้อยกว่า เมื่อเจอกับภัยคุกคามไซเบอร์ ผู้สูงวัยจะมีความรู้เรื่องการจำแนกและจัดการปัญหาภัยไซเบอร์ได้น้อยกว่า ด้วยขาดสัญชาตญาณในการป้องกันภัยดิจิตอล ดังนั้น การระมัดระวังและตื่นตัวในเรื่องออนไลน์และภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นได้จึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้ใช้ทุกกลุ่มอายุ ไม่ว่าจะใช้อินเทอร์เน็ตบ่อยแค่ไหน หรือใช้อินเทอร์เน็ตทำอะไร ผู้ใช้ควรมีโซลูชั่นรักษาความปลอดภัยที่สามารถครอบคลุมการป้องกันทั้งหมดตั้งแต่ดาวน์โหลด ติดตั้งไฟล์ และการสื่อสารออนไลน์ทุกช่องทาง”

โซลูชั่น “Kaspersky Internet Security – Multi-Device” และ “Kaspersky Total Security – Multi-Device” ช่วยปกป้องชีวิตในโลกออนไลน์และหลีกเลี่ยงปัญหาของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งมีสาเหตุมาจากการไม่สามารถจำแนกภัยคุกคามได้ ปกป้องผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจากมัลแวร์ใหม่ล่าสุดและภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะของแคสเปอร์สกี้ แลป

ท่านสามารถทดสอบระดับความรู้ทางไซเบอร์ของคุณได้ที่ https://blog.kaspersky.com/cyber-savvy-quiz
อ่านข้อแนะนำเพิ่มเติมเพื่อปกป้องตัวคุณเอง https://blog.kaspersky.com/tag/cybersavvy

 

เกี่ยวกับแคสเปอร์สกี้ แลป

แคสเปอร์สกี้ แลป คือหนึ่งในบริษัทระบบความปลอดภัยไซเบอร์ที่เติบโตเร็วที่สุดของโลก และเป็นบริษัทที่ไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด โดยติดอันดับหนึ่งในสี่ของโลกในลำดับผู้ให้บริการโซลูชั่นเพื่อความปลอดภัยด้านไอที (ไอดีซี ปี พ.ศ. 2557) นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา แคสเปอร์สกี้ แลป นับเป็นผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมด้านความปลอดภัยไซเบอร์ และนำเสนอโซลูชั่นเพื่อความปลอดภัยทางดิจิตอลที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับภัยคุกคามสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ เอสเอ็มอี และคอนซูมเมอร์ แคสเปอร์สกี้ แลป เป็นบริษัทสากล ปฏิบัติงานกระจายอยู่ 200 ประเทศและเขตท้องที่ทั่วโลก คอยให้การปกป้องดูแลความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้มากกว่า 400 ล้านคนทั่วโลก ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.kaspersky.com

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

สิริซอฟต์ คว้ารางวัลระดับอาเซียน “Top Systems Integration Partner” ในงาน 2025 Elastic ASEAN Partner Awards [PR]

สิริซอฟต์ (Sirisoft) ผู้ให้คำปรึกษาและบริการโซลูชันเทคโนโลยีชั้นนำของประเทศไทยที่เชี่ยวชาญด้านการเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Optimization) ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security) และการเปลี่ยนแปลงดิจิทัล (Digital Transformation) ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านที่ปรึกษาไอทีที่ครบวงจรของไทย คว้ารางวัลระดับอาเซียน “Top Systems Integration Partner” ในงาน 2025 Elastic ASEAN Partner Awards

Wikipedia บอกผู้พัฒนา AI หยุด Scrape ได้แล้ว เอาข้อมูลบทความไปเลย

มูลนิธิ Wikimedia ซึ่งเป็นองค์กรที่อยู่เบื้องหลังสารานุกรมเสรีที่ใหญ่ที่สุดบนอินเทอร์เน็ตอย่าง Wikipedia ได้เสนอชุดข้อมูลที่พร้อมสำหรับปัญญาประดิษฐ์บน Kaggle โดยมีเป้าหมายเพื่อยับยั้งบริษัท AI และผู้ฝึกโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) จากการดึงข้อมูลจากเว็บไซต์โดยอัตโนมัติ (web scraping)