Jcurve Solutions, Oracle และ Version 1 ร่วมเป็นพันธมิตร พร้อมเป็นผู้นำ Cloud ERP สนับสนุนบริษัทในเอเชียแปซิฟิกเข้า IPO และดำเนินการตามกรอบ ESG

Enterprise Resource Planning (ERP) เป็นเครื่องมือพื้นฐานของธุรกิจในโลกยุคปัจจุบันที่นอกจากจะช่วยจัดการระบบงานให้มีประสิทธิภาพในขั้นตอนการทำงานต่างๆ แล้ว ยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการขออนุญาตนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือ IPO อีกด้วย ในงานเสวนา “ขับเคลื่อนธุรกิจสู่ IPO อย่างยั่งยืนด้วยระบบ ERP ภายใต้กรอบ ESG” ที่จัดขึ้นโดย Jcurve Solutions เมื่อวันที่ 9 สิงหาคมที่ผ่านมา ทีมงาน Jcurve และพาร์ทเนอร์ ได้มาแชร์ความรู้ ประสบการณ์ และเทคนิคในประเด็นดังกล่าวอย่างเข้มข้น ทีมงาน TechTalkThai ได้สรุปเนื้อหาที่สำคัญและน่าสนใจมาให้ทุกท่านได้อ่านกันแล้วในบทความนี้ 

การเสวนา “ขับเคลื่อนธุรกิจสู่ IPO อย่างยั่งยืนด้วยระบบ ERP ภายใต้กรอบ ESG”

ESG ไม่ใช่เพียงกระแส แต่เป็นแนวทางในอนาคตสำหรับธุรกิจที่ต้องการเข้า IPO จะต้องคำนึงถึงทั้งในขั้นตอนการนำหุ้นเข้าจดทะเบียนและในอนาคตภายหลังการ IPO จากความสำคัญนี้ Jcurve, Oracle และ Version 1 จึงร่วมกันจัดงานเสวนา “ขับเคลื่อนธุรกิจสู่ IPO อย่างยั่งยืนด้วยระบบ ERP ภายใต้กรอบ ESG” เพื่อแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการเป็นผู้นำด้าน ERP ที่พร้อมจะสนับสนุนบริษัทในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเข้า IPO และดำเนินการตามกรอบ ESG

ภายในงาน Jcurve ได้เชิญวิทยากร ไม่ว่าจะเป็นที่ปรึกษาด้านการนำธุรกิจเข้า IPO ผู้เชี่ยวชาญจาก Jcurve และ Oracle ผู้มีประสบการณ์ในการนำโซลูชัน ERP อย่าง NetSuite เข้ามาช่วยในขั้นตอนการจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชน และวิทยากรจาก Version 1 ที่มีประสบการณ์ในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาส่งเสริมการดำเนินการตามกรอบ ESG หลายรูปแบบให้ได้ผลอย่างชัดเจน มีประสิทธิภาพ และวัดผลความสำเร็จได้จริง 

ทีมงาน Jcurve เชื่อว่าการเติบโตของธุรกิจไม่ว่าจะเป็นการเข้าสู่ IPO หรือการสร้างมาตรฐานด้าน ESG นั้นเป็นเป้าหมายที่ไปถึงได้ไม่ยาก หากองค์กรเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและมีที่ปรึกษาด้านการวางระบบซึ่งมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญย่อมสามารถนำพาธุรกิจสู่ IPO และเติบโตภายใต้กรอบ ESG ได้อย่างยั่งยืน 

การเข้าจดทะเบียนบริษัทในตลาดหลักทรัพย์และ ERP เกี่ยวข้องกันอย่างไร

การปรับโครงสร้างภายในองค์กรก่อนเข้า IPO ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กำหนดนั้น เป็นขั้นตอนที่มีรายละเอียดมาก ซึ่งระบบ ERP สามารถช่วยขั้นตอนเหล่านั้นให้ดำเนินการได้ง่ายขึ้น โดยก่อนที่จะเปิดให้ซื้อขายหุ้นของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ก.ล.ต. จำเป็นจะต้องมั่นใจก่อนว่าบริษัทดังกล่าว

  1. มีโครงสร้างธุรกิจและโครงสร้างกรรมการเป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี
  2. มีระบบงบการเงินตามมาตรฐานการบัญชี ข้อมูลการเงินพร้อมต่อการรายงาน มีความถูกต้อง ครบถ้วน
  3. มีระบบควบคุมภายในที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพ มีกลไกถ่วงดุลอำนาจและป้องกันความเสี่ยง และโปร่งใสตรวจสอบได้

คุณสมบัติเหล่านี้นั้นล้วนเป็นสิ่งที่องค์กรจะต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมเพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่กระบวนการ IPO ซึ่งองค์กรสามารถนำระบบ ERP เข้ามาใช้เพื่อช่วยส่งเสริมการดำเนินธุรกิจให้มีคุณสมบัติข้างต้นตามที่ ก.ล.ต. กำหนดได้ เราจึงได้เห็นบริษัทจำนวนมากทั่วโลกใช้ระบบ ERP เข้ามาช่วยในขั้นตอน IPO หรือแม้กระทั่งติดตั้งใช้งานระบบ ERP เพื่อทำ IPO โดยเฉพาะ

แม้การมีระบบ ERP ที่เชื่อถือได้และได้มาตรฐานนั้นไม่ได้การันตีความสำเร็จของการ IPO ทว่าการใช้งาน ERP นั้นจะช่วยให้การเตรียมตัวง่ายขึ้นมากในหลายขั้นตอน เช่น

  • การเตรียมข้อมูลผลการดำเนินงานย้อนหลัง และข้อมูลทางการเงิน
  • การจัดการ Operation ภายในองค์กรให้เป็นระบบ
  • การทำ Compliance ต่อมาตรฐานหรือข้อกำหนดต่าง ๆ
  • ช่วยสมาชิกภายในองค์กรปรับตัวกับความรับผิดชอบที่อาจเปลี่ยนแปลงไปเนื่องมาจากข้อกำหนดเกี่ยวกับบริษัทมหาชน
  • การปรับธุรกิจให้มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้
  • การเรียกดูข้อมูลและจัดทำรายงานด้านต่าง ๆ ของธุรกิจ เพื่อปฏิบัติตามข้อบังคับทางกฎหมายหรือเพื่อสื่อสารกับนักลงทุน (Investor Relation)

ภายหลังการเข้า IPO ได้สำเร็จแล้ว ระบบ ERP ยังคงมีบทบาทสำคัญในการดำเนินการของธุรกิจในรูปแบบของบริษัทมหาชน ทั้งการจัดการภายในองค์กร การตรวจสอบค้นหาข้อมูลทางบัญชี และการติดตามความโปร่งใสในธุรกิจ

การเลือกใช้ ERP ที่มีประสิทธิภาพ ครอบคลุมการดำเนินการทั้งหมด เชื่อถือได้ และรองรับการเติบโต รวมถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น จึงเป็นปัจจัยที่ธุรกิจซึ่งมีแผนการจะ IPO ควรต้องตระหนักและให้ความสำคัญ 

Oracle NetSuite: ERP ที่ครบทุกฟังก์ชั่นประสิทธิภาพสูงในการพาบริษัทเข้า IPO

Oracle NetSuite คือโซลูชัน ERP แบบครบวงจรที่ทำงานอยู่บนระบบคลาวด์ รองรับธุรกิจในทุกขนาดและอุตสาหกรรม ปัจจุบัน NetSuite ได้รับความไว้วางใจจากธุรกิจมากกว่า 36,000 รายทั่วโลก โดยในจำนวนนั้น มากกว่า 100 รายเป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมไปถึงประเทศไทย

การทำงานของ NetSuite นั้นแบ่งออกเป็น 4 ด้านหลัก ได้แก่ (1) งานบัญชี (2) งานขายและลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) (3) งานส่วน Operation การจัดการ Supply Chain และคลังสินค้า และ (4) งานทรัพยากรบุคคล ซึ่งนอกเหนือจาก 4 หัวข้อนี้แล้ว ผู้ใช้งาน NetSuite ยังสามารถปรับแต่งการใช้งานให้เหมาะสมกับธุรกิจของตัวเอง ทั้งฟีเจอร์การใช้งานที่ถูกออกแบบมาเพื่ออุตสาหกรรมต่าง ๆโดยเฉพาะ การเชื่อมต่อกับระบบอื่น ๆ ผ่าน API เช่น การเชื่อมต่อกับระบบขายหน้าร้าน (POS) หรือการสร้างแอปพลิเคชันด้วยเครื่องมือแบบ No-code บน SuiteCloud หรือการเลือกใช้แอปพลิเคชันเสริมจาก SuiteApp Marketplace เพื่อตอบโจทย์เฉพาะทาง 

แพลตฟอร์ม NetSuite ได้มีการนำเทคโนโลยีอย่าง Automation, AI, และการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลเข้ามาเสริมในส่วนต่าง ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน พร้อมระบบรักษาความปลอดภัยมาตรฐานสากลและ Data Centre ของ NetSuite ที่ทำให้มั่นใจได้ถึงความเสถียรของระบบเป็นอย่างดี

ตัวอย่างของ Dashboard ต่าง ๆ จาก NetSuite ซึ่งมีทั้งแบบพร้อมใช้งานทันทีและปรับแต่งเองได้ตามความต้องการ

ดังที่ได้ทราบไปแล้วว่า การมีระบบ ERP ที่มีประสิทธิภาพเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ช่วยให้การนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประสบความสำเร็จ ตั้งแต่ปี 2011 เป็นต้นมา บริษัทด้านเทคโนโลยีที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกกว่า 62% ได้เลือกใช้ NetSuite มาช่วยจัดการกับขั้นตอนการทำงานภายใน ระบบการเงินและบัญชี รวมไปถึงการบริหารความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็น Spotify, Blackberry, Duolingo, American Express GBT และบริษัทในอุตสาหกรรมอื่น ๆ โดยทีมงาน Oracle NetSuite ได้สรุปประโยชน์ของการใช้ NetSuite ในการทำ IPO ไว้ 5 ข้อ ดังนี้

  1. การจัดทำรายงานและวัดผลข้อมูลด้านการเงินที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น: ช่วยวัดผล จัดทำรายงานด้านการเงิน และบริหารความเสี่ยงทางการเงิน ด้วยฟีเจอร์ในการตรวจสอบ วิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน ติดตามผล และประเมินรายได้ในอนาคต
  2. การมีกระบวนการจัดการและควบคุมภายในที่ครอบคลุม: จัดการขั้นตอนการทำงานภายในองค์กรอย่างเป็นระบบ ทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินการด้านการเงิน อาทิ จัดทำงบการเงิน ได้รวดเร็วขึ้นและแม่นยำ ซึ่งจำเป็นมากต่อการเข้าเป็นบริษัทมหาชนที่ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของ ก.ล.ต. 
  3. การสร้างรากฐานที่ดีด้านธรรมาภิบาลขององค์กร: NetSuite มาพร้อมฟังก์ชันรายงานการตรวจสอบภายใน โดยมีตัวเลือกรายงานที่พร้อมใช้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น รายงาน SOC 1, SOC 2, ISO 27K, PCI/PA-DSS เป็นต้น นอกจากนี้ ทุกธุรกรรมที่เกิดขึ้นจะถูกบันทึกไว้ในระบบ จึงตรวจสอบได้อย่างแม่นยำ ด้วยความสามารถนี้ทำให้ธุรกิจมีรากฐานที่ดีและเปลี่ยนผ่านสู่องค์กรที่มี
    ธรรมาภิบาลได้
  4. การจัดการความเสี่ยงทุกรูปแบบของธุรกิจ:  ด้วยฟังก์ชั่นการจำกัดสิทธิ์การใช้งานของผู้ใช้แต่ละรายตามหน้าที่ในบริษัท และการตั้งค่ากระบวนการอนุมัติใด ๆ ภายในองค์กร ช่วยให้สามารถตรวจสอบ เฝ้าระวัง และคาดการณ์ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้ อีกทั้งการเป็นโซลูชันบนคลาวด์ที่อัพเกรดระบบอยู่เป็นประจำ ยังช่วยป้องกันความเสี่ยงและการโจมตีทางไซเบอร์ได้อีกด้วย 
  5. การสร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับนักลงทุนผ่านข้อมูลที่แม่นยำ: ด้วยแดชบอร์ดที่แสดงผลให้อ่านง่าย รวมถึงข้อมูลธุรกิจเรียลไทม์และแม่นยำ ทำให้สามารถใช้ข้อมูลเพื่อสื่อสารกับนักลงทุนได้อย่างตรงจุด ตลอดจนจัดทำรายงานและนำตัวเลขสถิติไปประชาสัมพันธ์ต่อนักลงทุนและผู้ถือหุ้นได้อย่างรวดเร็ว

จะเห็นได้ว่าการเลือกใช้โซลูชัน ERP ที่มีประสิทธิภาพสูงและครอบคลุมนั้นจะช่วยองค์กรได้ตั้งแต่ขั้นตอนของการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ IPO การยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชน ไปจนถึงการดำเนินการของธุรกิจภายหลังการเข้า IPO ได้สำเร็จ

ESG เป้าหมายใหม่ของการเติบโตในอนาคต

ESG และ Sustainability นั้นเป็นประเด็นที่ธุรกิจทั่วโลกให้ความสำคัญ เพราะไม่เพียงแต่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของธุรกิจที่จะเติบโตอย่างมีความรับผิดชอบต่อโลกและสังคมเท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งที่รัฐบาลและหน่วยงานกำกับดูแลทั่วโลกกำหนดให้ธุรกิจพึงปฏิบัติตามด้วย แน่นอนว่าในฐานะบริษัทที่กำลังจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และบริษัทมหาชน การรายงานผลและปฏิบัติตาม Compliance ด้าน ESG นั้นเป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

ตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้กำหนดให้บริษัทที่จะเข้าขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ต้องเปิดเผยข้อมูลลด้าน CSR (Corporate Social Responsibilities) ต่อสาธารณะในรายงานประจำปี แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปีที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ของบริษัท และแบบแสดงข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ อีกทั้งยังมีการเปิดเผยรายชื่อหุ้นยั่งยืน และเปิดตัวดัชนีความยั่งยืน (SET THSI Index) ที่คัดเลือกบริษัทที่โดดเด่นในด้าน ESG ในตลาดหลักทรัพย์ นอกจากนี้ ความยั่งยืนยังเป็นหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์สำนักงานก.ล.ต.ในปัจจุบัน (ฉบับปี 2566-2568) สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงการให้ความสำคัญต่อประเด็นความยั่งยืนและ ESG สำหรับบริษัทมหาชนในประเทศไทย 

อย่างไรก็ตาม ประเด็นความท้าทายของการจัดทำรายงาน ESG คือการเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ ESG ให้ได้คุณภาพ ถูกต้อง และครบถ้วน สามารถนำมาวิเคราะห์ ประเมินผล และจัดทำรายงานเพื่อตอบสนองต่อข้อบังคับได้ ดังนั้น หากต้องเริ่มดำเนินการตามกรอบ ESG ภายในองค์กร ผู้ประกอบการจึงไม่เพียงแต่ต้องเลือกใช้โซลูชันที่มีศักยภาพสูงเพื่อได้มาซึ่งข้อมูลที่มีคุณภาพ แต่ยังต้องคำนึงถึงผู้ให้บริการโซลูชันที่เข้าใจ ESG และธุรกิจอย่างแท้จริง เพื่อให้ก้าวแรกเป็นไปในทิศทางที่เหมาะสมและคุ้มค่ากับการลงทุนเพื่อการเติบโตในระยะยาว ในงานนี้ Jcurve จึงได้ร่วมกับทีมงาน Version 1 ซึ่งเป็นผู้ให้บริการที่มีความเชี่ยวชาญด้านโซลูชันการรายงาน ESG มาแชร์ความรู้และเล่าให้ฟังถึง “Modern ESG Architecture” ของ Version 1 

“Modern ESG Architecture” ของ Version 1

แพลตฟอร์มรายงานข้อมูลด้าน ESG จาก Version 1 ถูกออกแบบมาให้ทำงานเชื่อมต่อกับข้อมูลภายในระบบ Oracle NetSuite โดยเฉพาะ ด้วยประสบการณ์การร่วมงานกับธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง ทำให้ Version 1 เข้าใจเป็นอย่างดีถึงความท้าทายและปัญหาที่ธุรกิจมักเผชิญเมื่อต้องการเริ่มต้นดำเนินการตามกรอบ ESG เช่น

  • มีข้อมูลจำนวนมากภายในองค์กรที่ต้องนำมาวิเคราะห์ วัดผล และรายงานด้าน ESG 
  • ต้องใช้เวลาสรุป ประเมินผลข้อมูลด้าน ESG มาก ทำให้มองเห็นผลลัพธ์และความสำเร็จได้ไม่ชัดเจน
  • กรอบ ESG มีหลากหลาย มีทั้งฉบับที่มีมาตรวัดซ้ำซ้อน และฉบับที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
  • การดึงข้อมูลออกมาทำรายงานเพื่อเผยแพร่เป็นเรื่องยากและซับซ้อน

ด้วยการใช้งานแพลตฟอร์มของ Version 1 ธุรกิจสามารถเชื่อมต่อแพลตฟอร์มเข้ากับ NetSuite และดึงข้อมูลออกมาประมวลผลด้าน ESG ได้โดยอัตโนมัติ รวมไปถึงการใส่ข้อมูลเพิ่มเติมจากไฟล์หรือแหล่งข้อมูลอื่น ลดภาระและข้อผิดพลาดในการส่งและประมวลข้อมูลข้ามระบบ โดยแพลตฟอร์มสามารถเริ่มทำงานได้ทันทีเพราะมีการตั้งค่าพื้นฐาน ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานด้าน ESG ของหน่วยงานกำกับดูแลต่าง ๆ ผู้ใช้งานแต่ละรายสามารถเข้ามาตรวจสอบผลลัพธ์และเป้าหมายด้าน ESG ที่ตั้งไว้ได้แบบเรียลไทม์ อีกทั้งยังมีการใช้เทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงมาช่วยคาดการณ์แนวโน้มและจำลองสถานการณ์ในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งช่วยในการปรับปรุงแผนการดำเนินงานด้าน ESG ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 

ทีมงาน Version 1 ได้สรุปถึงคุณสมบัติ 8 ข้อสำคัญของแพลตฟอร์ม ESG จาก Version 1 ที่จะช่วยพลิกโฉมการทำรายงาน ESG ในองค์กรได้อย่างสิ้นเชิง ด้วยการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ แม่นยำ และนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจได้ทันที ดังนี้

  1. สามารถทำ Data Orchestration และเชื่อมข้อมูลได้จากหลายแหล่ง: สามารถเก็บข้อมูลจากหลายแหล่งที่มาได้โดยอัตโนมัติ แม็ปปิ้งข้อมูลเข้ากับกรอบด้าน ESG ได้หลากหลาย และสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้
  2. รองรับกรอบการรายงาน ESG ที่หลากหลาย: มีการนำกรอบด้าน ESG มาตั้งค่าพื้นฐานไว้ในระบบไว้แล้วเรียบร้อย และยังสามารถเพิ่มเติมกรอบอื่นได้  นอกจากนี้ ยังสั่งทำรายงานผ่านระบบได้โดยสะดวก ทำให้ลดภาระการทำข้อมูลที่ซ้ำซ้อน รวมถึงโยกย้ายเทียบเคียงรายงานข้ามกรอบ ESG ได้
  3. กำหนดเป้าหมายด้าน ESG ได้ตามความต้องการของแต่ละธุรกิจ: สามารถตั้งเป้าหมายด้าน ESG ให้เหมาะสมกับการดำเนินงานขององค์กร และมีฟังก์ชั่นการวิเคราะห์คาดการณ์ด้าน ESG ซึ่งช่วยในการวางแผนกลยุทธ์ 
  4. สามารถเชื่อมต่อระบบงานด้าน ESG เข้ากับ NetSuite: สามารถเชื่อมต่อเข้ากับ Oracle NetSuite ERP เพื่อให้ข้อมูลถูกนำมาวิเคราะห์เทียบเป้าหมายด้าน ESG ได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงวิเคราะห์ผลกระทบหากมีเปลี่ยนแปลงของรายละเอียดในแผนธุรกิจ
  5. รองรับการเติบโตในระดับ Global: รองรับการทำงานกับข้อมูลหลายภาษา สกุลเงิน และหน่วยวัด ที่ใช้ตามภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อให้สามารถจัดทำรายงานได้สะดวก
  6. จัดทำรายงานที่อ่านง่ายและตรงตามแบรนด์ขององค์กร: สามารถสร้าง workflow ของการจัดทำรายงานตั้งแต่ขั้นแรกไปจนขั้นการอนุมัติ ช่วยลดเวลาในการปรับแก้ก่อนส่งต่อหรือเผยแพร่ รวมถึงปรับแต่งให้สวยงามตรงตามแบรนด์ขององค์กรได้
  7. ตรวจสอบได้และโปร่งใส: ข้อมูลและรายงานทุกฉบับที่ออกมานั้นสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ถึงที่มาที่ไป และพร้อมต่อการเข้าตรวจสอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่เสมอ
  8. มั่นใจได้ถึงความถูกต้องของข้อมูล: การกำหนด workflow ของการจัดทำรายงานทำให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลในรายงานเป็นข้อมูลที่ผ่านการรับรองว่าถูกต้องแล้วเท่านั้น และยังสามารถดึงข้อมูล ESG แบบเรียลไทม์มาแสดงผลในรูปแบบตามที่ตั้งค่าไว้บนแพลตฟอร์ม หรือแสดงผลบนโปรแกรมของ Microsoft Office ได้เช่นกัน

นอกจากนี้ การแสดงผลข้อมูลได้อย่างครบถ้วนและอ่านง่ายยังนับเป็นอีกปัจจัยที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อผู้บริหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้องภายในองค์กรที่จะต้องตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลเหล่านี้ Dashboard แสดงผลข้อมูลด้าน ESG จึงเป็นอีกหนึ่งฟีเจอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นให้เข้าถึงได้สะดวก สามารถดูสถานะและประเมินผลลัพธ์ได้ตลอดเวลา โดยสามารถแสดงผลได้หลายรูปแบบตามแต่ละประเด็น ทั้งสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล และยังพร้อมที่จะนำไปใช้เพื่อตรวจสอบย้อนหลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวอย่าง Dashboard รายงานผลข้อมูลด้านสังคม (ESG Social) ตามกรอบ ESG ของตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์

จากคุณสมบัติข้างต้นของแพลตฟอร์ม ESG โดย Version 1 พร้อมทั้งประสบการณ์ในการติดตั้งระบบ NetSuite ERP และ ESG จาก Jcurve และ Version 1 จึงทำให้ธุรกิจที่ต้องการเข้า IPO สามารถจัดทำรายงาน ESG และสามารถบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนได้อย่างแท้จริง 

Jcurve พร้อมพาธุรกิจไทยเตรียมตัวเข้าสู่ขั้นตอน IPO และดำเนินงานตามกรอบ ESG แล้ววันนี้ ด้วยประสบการณ์ติดตั้งและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับ Oracle NetSuite ในทุกอุตสาหกรรม 

ดังที่ได้เห็นไปในบทความนี้แล้วว่าการเลือกใช้โซลูชันที่ดีจะช่วยลดภาระการทำงานและระยะเวลาในขั้นตอนต่าง ๆ ได้มาก และที่สำคัญไม่แพ้กันคือ การเลือกผู้ให้บริการที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์มากพอเพื่อให้บริการและให้คำปรึกษาตามความต้องการเฉพาะของแต่ละองค์กรได้ เพราะการนำธุรกิจเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และการดำเนินการตามกรอบ ESG ให้สำเร็จ จะต้องอาศัยความเข้าใจในขั้นตอนและเงื่อนไขทั้งหมดให้ถ่องแท้ วางแผนอย่างรอบคอบให้เหมาะสมกับธรรมชาติของธุรกิจ 

ทีมงาน Jcurve เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาและติดตั้ง Oracle NetSuite มาอย่างยาวนานในทุกอุตสาหกรรม อีกทั้งยังเป็นพาร์ทเนอร์อย่างเป็นทางการของ Oracle และ Version 1 ทำให้มีความพร้อมที่จะช่วยธุรกิจทั้งในแง่ของการเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขัน เตรียมตัวเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และปรับการดำเนินการให้เป็นไปตามกรอบ ESG ได้เป็นอย่างดี โดย Jcurve มีทีมงานที่คุ้นเคยกับข้อกำหนด นโยบายภาครัฐ และกฎหมายในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและสามารถให้บริการได้อย่างครอบคลุมธุรกิจทุกรูปแบบ  

ท่านใดที่อ่านมาถึงตรงนี้แล้วสนใจพูดคุยเพิ่มเติมหรือปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับการนำระบบ ERP ไปช่วยในการทำ IPO และโซลูชันด้าน ESG จาก Version 1 ทีมงาน Jcurve พร้อมให้บริการ โดยสามารถติดต่อ Jcurve ได้ตามช่องทางด้านล่างนี้ 

โทร 02-038-5832 (จันทร์ – ศุกร์ 9.00 – 18.00 น.)
Email: info@jcurvesolutions.com
Website: https://www.jcurvesolutions.com/th/

Check Also

OpenAI เปิดตัวโมเดล Audio รุ่นใหม่สำหรับพัฒนา Voice Agent อัจฉริยะ

OpenAI ประกาศเปิดตัวโมเดล Audio รุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงทั้ง Speech-to-Text และ Text-to-Speech พร้อมให้นักพัฒนาทั่วโลกใช้งานผ่าน API เพื่อสร้าง Voice Agent ที่มีความสามารถในการโต้ตอบอย่างเป็นธรรมชาติ

Carbon Arc ระดมทุน 56 ล้านดอลลาร์ ดันแพลตฟอร์มข้อมูล AI

Carbon Arc สตาร์ทอัพที่ให้บริการข้อมูลสำหรับโมเดลปัญญาประดิษฐ์ (AI) ระดมทุนได้ 56 ล้านดอลลาร์ ในรอบที่นำโดย Liberty City Ventures เพื่อนำไปใช้สนับสนุนการขยายตัวของบริษัท