ในงานสัมมนา Rethink IP for Interoperability and JVL Launching ที่จัดขึ้นโดย Huawei Enterprise Thailand เมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ทาง Huawei ได้นำเสนอถึงความสามารถในการทำงานร่วมกับเทคโนโลยีจากผู้ผลิตรายอื่นๆ ได้ของโซลูชัน Huawei Intent-Driven Network ทั้งในส่วนของ Campus Network และ Data Center Network เพื่อให้เหล่าธุรกิจองค์กรมั่นใจในการลงทุนใช้งานเทคโนโลยีระบบเครือข่ายจาก Huawei มากขึ้น โดยมีประเด็นที่น่าสนใจดังต่อไปนี้
Huawei ชูความเป็นสากล ทำงานร่วมกับอุปกรณ์เครือข่ายชั้นนำหลากหลายค่ายได้ตามมาตรฐาน
ที่ผ่านมาเหล่าธุรกิจองค์กรมักมีความกังวลเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้าน IT จากจีนว่าจะสามารถเข้ากันได้กับเหล่าอุปกรณ์เครือข่ายเดิมที่มักเป็นของผู้ผลิตจากสหรัฐอเมริกา, ยุโรป หรือญี่ปุ่นเป็นหลัก ซึ่งทาง Huawei เองก็เข้าใจความรู้สึกของเหล่าผู้ใช้งานในระดับองค์กรเป็นอย่างดีจึงได้จัดงานสัมมนาครั้งนี้ขึ้นและชูประเด็นเรื่องความเข้ากันได้ของระบบโดยเฉพาะขึ้นมา
Huawei นั้นเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่ายมาอย่างยาวนานด้วยการก่อตั้งบริษัทตั้งแต่ปี 1987 และเข้าสู่ตลาดด้าน IP Networking หลังจากนั้นไม่นาน จนเมื่อกลายเป็นผู้นำในตลาดจีนแล้วก็ได้ก้าวสู่ตลาดระดับโลกและกลายมาเป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีด้านโทรคมนาคมชั้นนำรายหนึ่ง ที่ได้มีส่วนร่วมในโครงการก่อสร้างระบบเครือข่ายระดับประเทศหรือระดับภูมิภาคมาแล้วมากมาย
แน่นอนว่าในระหว่างที่ Huawei ทำการขยายตลาดระดับโลกตั้งแต่ช่วงปี 2000 เป็นต้นมานั้น Huawei เองก็ได้เคยผ่านประสบการณ์และปัญหาด้านความเข้ากันได้ของเทคโนโลยีกับผู้ผลิตรายอื่นมาแล้ว และโจทย์นี้ก็ถือเป็นโจทย์ใหญ่สำหรับ Huawei ในยามนั้นที่ต้องการขยายฐานออกมานอกประเทศจีน ดังนั้น Huawei จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีให้ตรงตามมาตรฐานมาโดยตลอด เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยอย่างในอดีต และเพื่อให้เหล่าลูกค้าในธุรกิจองค์กรและโทรคมนาคมทั่วโลกมั่นใจได้ในการลงทุนระยะยาวกับ Huawei รวมถึงทำให้เทคโนโลยีด้าน IT ของจีนกลายเป็นเทคโนโลยีเปิด พร้อมเติบโตในอนาคตไปได้ด้วยอีกทางหนึ่ง
นอกจากการนำมาตรฐานต่างๆ มาใช้ในการพัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์แล้ว ในระยะหลัง Huawei เองก็ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการออกแบบมาตรฐานต่างๆ ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานด้านระบบโครงข่ายโทรคมนาคมต่างๆ อย่าง 5G หรือระบบ Wi-Fi ประสิทธิภาพสูงอย่าง 802.11ax และอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งนี้ก็เพื่อการยกระดับงานวิจัยด้านเทคโนโลยีในจีนให้ออกสู่สากล, การทำให้วิศวกรชาวจีนเป็นที่ยอมรับในระดับโลก ไปจนถึงการเริ่มนำ Requirement ทางด้านเทคโนโลยีจากจีนผสานเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน เพื่อให้โจทย์ที่เกิดขึ้นจริงในประเทศจีนนั้นได้ถูกตอบรับในมาตรฐานเหล่านั้น สร้างความมั่นคงทางด้านเทคโนโลยีให้กับจีนซึ่งกำลังมีการเติบโตด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วทุกวันนนี้ในระยะยาว
Huawei Intent-Driven CloudCampus: ทำงานร่วมกับเทคโนโลยีอื่นๆ ได้ทั้งในระดับ Protocol และ API
ในแง่ของระบบเครือข่ายในส่วน Campus Networking นั้น Huawei ได้เล่าถึงความสำคัญของ Open Network Infrastructure ว่าจะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรนั้นสามารถเปิดรับการนำเทคโนโลยีและ Application ใหม่ๆ มาใช้ในธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง เพราะไม่ว่าจะเป็นระบบอะไรก็ตามก็ต้องเชื่อมต่อกับเครือข่ายทั้งหมด และระบบเครือข่ายที่รองรับการทำงานร่วมกับเทคโนโลยีได้หลากหลาย อีกทั้งยังมีความสามารถเสริมต่างๆ เพื่อช่วยให้ธุรกิจองค์กรสามารถเติบโตได้อย่างมั่นคงนั้นก็ถือเป็นระบบเครือข่ายที่องค์กรทั้งหลายต้องการ
อย่างไรก็ดี ถึงแม้ Huawei จะเป็นบริษัททางด้านเทคโนโลยีขนาดใหญ่ที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีหลากหลายขึ้นมาเอง แต่ Huawei ก็ทราบดีว่าในโลกนี้ยังมีผู้ผลิตรายอื่นๆ ที่พัฒนาโซลูชันเพื่อตอบโจทย์ต่างๆ ของเหล่าองค์กรอยู่มากมาย ดังนั้นการทำงานร่วมกับผู้ผลิตเหล่านั้นในรูปแบบ Partnership เองก็จะช่วยให้ Huawei และผู้ผลิตรายต่างๆ สามารถเติบโตไปด้วยกันได้ ในขณะที่ลูกค้าของ Huawei เองก็มีทางเลือกในการใช้งานเทคโนโลยีต่างๆ มากขึ้น ดังนั้นในช่วงที่ผ่านมาเราจึงเห็นความร่วมมือระหว่าง Huawei และผู้พัฒนาเทคโนโลยีรายอื่นๆ มากมาย
ในมุมของ Huawei นั้น การทำ Integration ในระดับของเทคโนโลยีจะแบ่งออกด้วยกันเป็น 2 ส่วน ได้แก่การทำงานร่วมกันได้ด้วยการใช้มาตรฐานและ Protocol ต่างๆ ร่วมกัน และการทำงานร่วมกันได้ผ่านทาง Open API ซึ่ง Huawei เองก็มีตัวอย่างของโซลูชันต่างๆ ที่ทำงานร่วมกับผู้ผลิตรายอื่นๆ ดังนี้
- การใช้ Protocol มาตรฐานในระบบเครือข่าย Layer 1-3 ร่วมกับอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆ ได้ เช่น LACP, BFD, VRRP, LNP, VCMP, MSTP, VBST, LLDP, OSPF, IS-IS และอื่นๆ รวมถึงยังมีรายงานจาก Tolly Report ยืนยันความสามารถเหล่านี้ด้วย
- การใช้ Huawei Switch ทำงานร่วมกับโซลูชัน Wireless LAN และ Switch ของผู้ผลิตรายอื่นด้วย OSPF, VRRP เพื่อรองรับผู้ใช้งานจำนวน 17,000 คน
- การทำ MPLS ร่วมกับอุปกรณ์เครือข่ายต่างค่าย และเสริมความทนทานของระบบด้วยการใช้ iStack และ Uplink Redundancy
- การทำงานร่วมกับโซลูชัน Network Access Control (NAC) อย่าง Cisco ISE ด้วยการยืนยันตัวตนผู้ใช้งานผ่าน 802.1x และการทำ DACL
- การใช้ Access Point จาก Huawei ในการส่งข้อมูลให้กับระบบ Retail Marketing Platform อย่าง Freeluna เพื่อทำ Marketing Optimization
ทั้งนี้ Huawei เองก็มีเครื่องมือ eDesk สำหรับใช้ในการช่วย Migrate ระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการแปลง Configuration, การเปรียบเทียบข้อมูล Routing ของ Router, การวิเคราะห์ข้อมูล Log เพื่อตรวจสอบและแก้ไขปัญหาต่างๆ ทางด้านระบบเครือข่ายโดยเฉพาะ โดยผู้ที่สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://support.huawei.com/enterprise/toolNewInfoAction!toToolDetail?contentId=TL1000000027&productLineId=7919710
Huawei Intent-Driven CloudFabric: ทำงานร่วมกับเทคโนโลยีสากล ตอบโจทย์ Data Center ระดับองค์กรและ Cloud ได้ครบถ้วน
สำหรับการใช้งานในระดับ Data Center นั้น โซลูชัน Software-Defined Networking ของ Huawei เองก็สามารถทำงานร่วมกับเทคโนโลยีจากผู้ผลิตต่างๆ ได้หลากหลายเพื่อเสริมความต้องการในการตอบโจทย์ด้านระบบเครือข่ายในแต่ละ Layer ของ Data Center ดังเช่นตัวอย่างต่อไปนี้
- การใช้ Huawei FusionSphere ซึ่งพัฒนาต่อยอดมาจาก OpenStack ในการทำงานร่วมกับ Hypervisor ชั้นนำอย่าง VMware, KVM, Xen และ Deploy ระบบต่างๆ ได้แบบอัตโนมัติ
- การทำงานร่วมกันระหว่าง Huawei CloudEngine Switch กับ VMware NSX ในการสร้างระบบเครือขา่ย VXLAN ขึ้นมาใช้งาน
- การบริหารจัดการอุปกรณ์ของ Huawei ได้ผ่านทาง VMware vRealize
- การพัฒนาโซลูชันร่วมกันระหว่าง VMware และ Huawei เพื่อให้สามารถใช้งาน Container ได้บน Huawei CloudEngine Switch, การมี Plug-in สำหรับเชื่อมต่อ VMware NSX เข้ากับ Huawei CloudEngine Switch และบริหารจัดการร่วมกันได้จากศูนย์กลาง
- การบริหารจัดการอุปกรณ์ F5 Big-IQ และ F5 Big-IP ได้ผ่านทาง Huawei FusionSphere และทำงานร่วมกันได้กับ Huawei CloudEngine Switch
- การบริหารจัดการและการทำ Automation ให้กับอุปกรณ์ของ Check Point รวมถึงสามารถสร้าง Virtual Firewall ของ Check Point ขึ้นมาได้โดยอัตโนมัติ
ความสามารถในการทำงานร่วมกับ Open Source: สาธิตการ Deploy ระบบของ Huawei ด้วย Ansible
Open Source Software เองนี้ก็ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เหล่าผู้พัฒนาเทคโนโลยีในจีนนั้นให้ความสำคัญกันเป็นอย่างมาก เพราะเป็นเทคโนโลยีกลุ่มที่เหล่าผู้พัฒนาในจีนสามารถนำมาปรับใช้และประยุกต์หรือพัฒนาต่อยอดได้อย่างง่ายดาย เพื่อให้เทคโนโลยีนั้นกลายเป็นสิ่งที่ประชากรจำนวนมหาศาลของจีนสามารถเข้าถึงได้อย่างทั่วถึง และที่ผ่านมา Huawei เองก็ได้เข้าไปมีบทบาทในฐานะของ Contributor หรือ Sponsor ในโครงการ Open Source สำคัญๆ มากมาย โดยเฉพาะโครงการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีระดับองค์กรและ Cloud อย่างเช่น OpenStack หรือ Apache Spark โดยทาง Huawei เองก็มี GitHub สำหรับเปิดเผย Source Code ในโครงการต่างๆ ของตนเองอยู่ที่ https://github.com/Huawei ด้วยเช่นกัน
สำหรับในงานสัมมนาครั้งนี้ Huawei ได้ออกมาเล่าถึงการร่วมพัฒนา Module กว่า 69 รายการเพื่อให้เทคโนโลยีของ Huawei นั้นสามารถทำงานร่วมกับ Ansible ซึ่งเป็น Software สำหรับการติดตั้งและบริหารจัดการระบบ IT แบบอัตโนมัติผ่าน Script ที่กำหนดเอาไว้ เพื่อรองรับระบบ IT Infrastructure ขนาดใหญ่ที่ต้องการความรวดเร็วและความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแปลงแก้ไข รวมถึงรองรับการเติบโตได้อย่างต่อเนื่องโดยมีความผิดพลาดน้อยลง ซึ่ง Ansible นี้ก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากทั้งในการใช้งานระดับ Data Center, Campus และโทรคมนาคม โดย GitHub สำหรับส่วนเชื่อมต่อกับ Ansbile ของ Huawei นั้นอยู่ที่ https://github.com/HuaweiSwitch/CloudEngine-Ansible
การนำ Ansible มาใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีของ Huawei ได้นี้ ช่วยให้การบริหารจัดการระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ที่มีการใช้งาน Huawei CloudFabric และ Huawei CloudEngine Switch เป็นไปได้อย่างง่ายดายและเป็นอัตโนมัติมากขึ้น ด้วยการสร้าง Ansible Playbook ขึ้นมาทำการกำหนดค่าการทำงานของอุปกรณ์เครือข่ายจาก Huawei ผ่านทาง Module ต่างๆ และช่วยให้การ Deploy ระบบเครือข่ายเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิมถึง 10 เท่า ด้วยการคลิกเพียงครั้งเดียวหลังจากปรับแต่งแก้ไข Playbook ให้เป็นไปตามต้องการแล้ว
การใช้ Ansible นี้นอกจากจะช่วยให้การบริหารจัดการและการ Deploy ระบบของ Huawei เป็นไปได้อย่างง่ายดายแล้ว การบริหารจัดการอุปกรณ์เครือข่ายจากผู้ผลิตรายอื่นที่รองรับการทำงานร่วมกับ Ansible ได้นี้ก็ถือเป็นอีกประเด็นสำคัญที่จะทำให้องค์กรต่างๆ สามารถเลือกใช้อุปกรณ์จากผู้ผลิตหลากหลายค่ายพร้อมกับในระบบเครือข่ายเดียวได้ และยังคงมั่นใจว่าการเปลี่ยนแปลงแก้ไขการตั้งค่าต่างๆ จะไม่ซับซ้อนมากนักและมีความผิดพลาดที่น้อยลงไปด้วย
ติดต่อทีมงาน Huawei ประเทศไทยได้ทันที
ผู้ที่สนใจในเทคโนโลยีด้าน Enterprise IT จาก Huawei หรือต้องการทดสอบเทคโนโลยีต่างๆ ของ Huawei สามารถติดต่อทีมงาน Huawei Enterprise Thailand ได้ทันทีที่
Huawei Enterprise Business ; Marketing Contact Center
Mobile 095-878-7475 e-mail : Enterprise_Thailand@huawei.com
Follow us on : https://twitter.com/huaweiENTth
www.facebook.com/HuaweiEnterpriseThailand
Website : e.huawei.com/th