เปิดตัว HPE Edge Orchestrator บริการ SaaS สำหรับบริหารจัดการ Edge Device

HPE ได้ออกมาประกาศเปิดตัวบริการล่าสุด HPE Edge Orchestrator ซึ่งเป็นบริการ SaaS สำหรับให้ธุรกิจโทรคมนาคมนำไปใช้เพื่อให้บริการลูกค้าองค์กรในการบริหารจัดการ Edge Device แบบอัตโนมัติ

Credit: ShutterStock.com

บริการดังกล่าวนี้ทำงานได้แบบ Multi-Tenant โดยธุรกิจโทรคมนาคมสามารถนำไปใช้เพื่อเติมเต็มการให้บริการ 5G ของตนเองแก่ธุรกิจองค์กรได้ ในขณะที่ธุรกิจองค์กรเองก็จะสามารถเลือก Deploy ระบบ Application ได้ยัง Edge ได้จาก Catalog กลางที่มีให้ใช้งานในระบบทั้งในรูปแบบของ Virtual Machine และ Container ทำให้การบริหารจัดการ Edge Device เกิดขึ้นได้อย่างเป็นระบบและมีมาตรฐาน

HPE นั้นให้ความสำคัญกับการมาของ 5G อย่างเห็นได้ชัด โดยที่ผ่านมา HPE ก็ได้เคยประกาศเปิดตัวโซลูชัน 5G Core Stack สำหรับธุรกิจโทรคมนาคมไปแล้ว และยังมีการพัฒนา HPE Edgeline ให้สามารถตอบโจทย์ของตลาดนี้ได้มากขึ้น ในขณะที่เทคโนโลยีของ HPE Aruba เองก็เริ่มมีการพัฒนาให้สอดคล้องและทำงานร่วมกับ 5G ได้มากขึ้นเรื่อยๆ

บริการ HPE Edge Orchestrator นี้จะเปิดให้บริการสำหรับธุรกิจโทรคมนาคมภายในสิ้นเดือนกรกฎาคมนี้

ที่มา: https://www.zdnet.com/article/hpe-announces-new-tool-to-help-telcos-deploy-edge-services/


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

เปิดตัว Panduit TX6A Vari-Matrix HD สาย Cat 6A UTP ขนาดเล็กที่สุดในโลก รองรับ 1-10GbE และ PoE++ ป้องกันสัญญาณรบกวนได้เหนือกว่ามาตรฐาน

ในปี 2023 นี้ถือเป็นปีที่น่าสนใจสำหรับวงการสายสัญญาณเครือข่าย เพราะผู้ผลิตทุกรายต่างเร่งพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาแข่งขันกันในหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเร็วของ Ethernet ที่เพิ่มขึ้น, การรองรับอุปกรณ์ IoT ให้ได้หลากหลายยิ่งขึ้น ไปจนถึงการตอบรับต่อประเด็นด้านความยั่งยืนหรือ Sustainability

ผลกระทบจากควอนตัมต่อระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ประเทศไทยต้องเร่งเดินหน้าแผนรับมือ [Press Release]

การคำนวณเชิงควอนตัม (quantum computing)  การแข่งขันด้านเทคโนโลยีการคำนวณแบบใหม่ที่กำลังร้อนแรง และเศรษฐกิจเอเชียรวมถึงไทยก็เกาะติดกระแสอย่างใกล้ชิด แต่นักวิจัยและนักเทคโนโลยีด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์กำลังกังวลกับข้อดีข้อเสียของการคำนวณเชิงควอนตัม แม้ประโยชน์จะมีมากมาย ตั้งแต่เรื่องแมชชีนเลิร์นนิ่ง การวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยทางการแพทย์ ไปจนถึงวิทยาการรหัสลับและระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ แต่เทคโนโลยีเดียวกันก็ก่อให้เกิดความเสี่ยงและช่องโหว่ใหม่โดยเฉพาะความสามารถในทะลุทะลวงการเข้ารหัสยุคใหม่ซึ่งถือเป็นรากฐานของอินเทอร์เน็ต การสื่อสาร และอีคอมเมิร์ซ ที่เชื่อมผสานสังคมของเราเข้าด้วยกัน