CDIC 2023

ระบบ ERP ที่ดี จะช่วยให้ธุรกิจสามารถก้าวเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ (IPO) ได้อย่างไร?

เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารธุรกิจหลายท่านคงเคยได้ยินกันว่า หากจะนำธุรกิจเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์หรือ IPO นั้น ระบบ ERP หรือ Enterprise Resource Planning ถือเป็นหัวใจสำคัญที่ธุรกิจจะขาดไปไม่ได้ในทุกวันนี้

แต่ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? ระบบ ERP จะช่วยให้ธุรกิจเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้ง่ายดายต่างจากระบบบัญชีหรือ Business Software เดิมที่มีอยู่ได้อย่างไร? บทความนี้ทีมงาน Sala Daeng จะขอไขข้อข้องใจของท่านให้ทุกท่านได้ทราบกันครับ

โดยทั่วไปแล้วในการเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์หรือ IPO นั้น นอกจากการมีธุรกิจที่มีผลประกอบการที่เข้าเกณฑ์แล้ว ก็จะยังมี 6 ขั้นตอนที่ธุรกิจต้องปรับตัว ดังนี้

1. การเสริมทัพที่ปรึกษาและผู้ตรวจสอบ

เนื่องจากการ IPO นั้นมีประเด็นด้านข้อกำหนดและกฎหมายมาเกี่ยวข้องมากมาย การมีที่ปรึกษาที่ดีนั้นจะช่วยให้ธุรกิจมองเห็นช่องว่างที่ยังขาดอยู่และแนวทางการปรับตัวเพื่อให้การดำเนินธุรกิจสอดคล้องกับข้อกำหนดและกฎหมายได้อย่างชัดเจน ในขณะที่การเตรียมวางทีมผู้ตรวจสอบให้เหมาะสมนั้น ก็จะทำให้การดำเนินการของธุรกิจมีความน่าเชื่อถือและโปร่งใสมากยิ่งขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ธุรกิจที่มีแผนเตรียม IPO จะต้องมีการเสริมด้วยกันหลายส่วน ดังนี้

  • ที่ปรึกษาทางการเงิน หรือ Financial Advisor (FA) ที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. ทำหน้าที่เป็นผู้ศึกษาข้อมูลด้านการดำเนินการและการเงินของธุรกิจ เพื่อให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับเปลี่ยนกระบวนการ การทำงาน การจัดเก็บรวบรวมข้อมูล และทิศทางที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจในการ IPO รวมถึงยังมีบทบาทสำคัญในการเตรียมข้อมูลรายงานต่างๆ ที่จำเป็นต้องยื่นต่อสำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ด้วย
  • ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต หรือ Auditor ที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. ทำหน้าที่ในการตรวจสอบข้อมูลบัญชีและงบการเงินของบริษัทให้มีความถูกต้อง โปร่งใส และเป็นไปตามมาตรฐานหรือข้อกำหนดของบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้นักลงทุนมั่นใจในงบการเงินที่เปิดเผยต่อตลาด
  • ผู้ตรวจสอบระบบงานภายใน หรือ Internal Auditor มีหน้าที่ในการวิเคราะห์การดำเนินงานภายใน เพื่อกำหนดขั้นตอนการทำงานใหม่ที่มีความโปร่งใส ชัดเจน ตรวจสอบได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งการบริหารวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจในระยะยาว อีกทั้งยังสร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุน รวมถึงลดความเสี่ยงที่บริษัทจะมีการดำเนินการในบางส่วนที่ขัดแย้งต่อข้อกฎหมายหรือข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง
  • ที่ปรึกษาทางด้านกฎหมาย หรือ Lawyer ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านข้อกฎหมายต่างๆ ที่อาจจะมีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันไปสำหรับแต่ละธุรกิจ เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินการต่างๆ จะเป็นไปตามข้อกฎหมายอย่างถูกต้อง และการตรวจสอบจะครอบคลุมถึงประเด็นเหล่านี้ได้อย่างสม่ำเสมอ
  • ผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ หรือ Underwriter ทำหน้าที่ในการกระจายหุ้น IPO ในกระบวนการเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์
  • บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินและผู้ประเมินหลักสำหรับธุรกรรมในตลาดทุน ทำหน้าที่ในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องของบริษัทตามข้อกำหนดกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

จะเห็นได้ว่าการมีที่ปรึกษาและผู้ตรวจสอบนั้น จะเป็นก้าวแรกที่ทำให้ธุรกิจได้ปรับตัวสู่การทำงานที่เป็นมืออาชีพมากขึ้นทั้งในเชิงของระบบบัญชี การเงิน และการดำเนินการ ซึ่งส่งผลดีต่อธุรกิจในระยะยาวโดยตรง แต่ก็อาจมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมาสำหรับการดำเนินการในส่วนนี้เช่นกัน ในขณะที่หลายบริษัทเองก็อาจตัดสินใจชะลอหรือไม่เข้าตลาดหลักทรัพย์ตั้งแต่ขั้นตอนนี้ได้เมื่อได้เริ่มรับคำปรึกษาหรือดำเนินการตรวจสอบบัญชีและตรวจสอบภายใน เนื่องจากได้เห็นถึงความไม่พร้อมของธุรกิจและต้องใช้เวลาเตรียมตัวยาวนานกว่าที่วางแผนเอาไว้

2. การจัดเตรียมความพร้อมและปรับโครงสร้างธุรกิจ

ธุรกิจที่มีแผนเข้าตลาดหลักทรัพย์นั้นจะต้องมีการกำหนดที่ชัดเจน ว่าจะนำส่วนใดของธุรกิจเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์บ้าง เช่น บางบริษัทอาจมีการนำบริษัทในเครือเข้าตลาดหุ้น บางบริษัทอาจมีการควบรวมบริษัทในเครือบางส่วนก่อนเข้าตลาดหลักทรัพย์ หรืออาจมีการปรับเปลี่ยนรายชื่อผู้ถือหุ้นก่อนเพื่อให้เหมาะสมต่อการดำเนินการในอนาคต เป็นต้น โดยที่ปรึกษาทางการเงินมักเป็นผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องในการให้คำปรึกษาในส่วนนี้

ขั้นตอนนี้จะทำให้ธุรกิจมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นว่าจะต้องมีการดำเนินการปรับเปลี่ยนส่วนใดของธุรกิจ และต้องมีการวางระบบด้านการเงิน บัญชี และการตรวจสอบเพิ่มเติมมากน้อยเพียงใด รวมถึงเมื่อผ่านกระบวนการเข้าตลาดหลักทรัพย์เรียบร้อยแล้ว ก็จะมีความโปร่งใสต่อการตรวจสอบ ว่าการดำเนินการของธุรกิจที่เกิดขึ้นนั้นมีการเอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจอื่นๆ ของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนอย่างไรบ้าง และป้องกันไม่ให้เกิดการเอาเปรียบผู้ถือหุ้นรายย่อยในอนาคต

3. การจัดเตรียมความพร้อมสำหรับผู้บริหารและกรรมการ

ในการเข้าตลาดหลักทรัพย์นั้นจะมีหลักเกณฑ์ที่ระบุเอาไว้อย่างชัดเจนถึงคุณสมบัติของผู้ที่จะดำรงตำแหน่งผู้บริหารและคณะกรรมการ ดังนั้นการคัดสรรผู้บริหารและคณะกรรมการให้เหมาะสม รวมถึงดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เช่น การฝึกอบรมในประเด็นต่างๆ ก่อนเข้าตลาดหลักทรัพย์นั้นก็เป็นอีกประเด็นที่ไม่อาจมองข้ามไปได้

4. การเตรียมความพร้อมสำหรับงบการเงิน

การปรับปรุงงบการเงินให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนดถือเป็นอีกขั้นตอนที่สำคัญ ซึ่งก่อนที่ธุรกิจจะดำเนินการมาสู่ขั้นตอนนี้ได้ การมีระบบบริหารจัดการบัญชีและการเงินที่ครบถ้วน แม่นยำ ตรวจสอบได้อย่างเช่น ERP ก็ถือเป็นสิ่งที่จำเป็น โดยธุรกิจจะต้องทำการเปลี่ยนมาตรฐานการบัญชีที่ใช้อยู่เดิมจากกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ หรือ Non-Publicly Accountable Entities (NPAEs) มาสู่การใช้มาตรฐานการบัญชีจากกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ หรือ Publicly Accountable Entities (PAEs) แทน ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เรียกว่า Thai  Financial Reporting Standards (TFRS)

5. การวางกระบวนการและระบบควบคุมภายในที่น่าเชื่อถือ

เช่นเดียวกับการปรับปรุงงบการเงิน การปรับเปลี่ยนกระบวนการการดำเนินงานและการวางระบบควบคุมภายในที่น่าเชื่อถือนั้นก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน โดยจะต้องมีการแบ่งส่วนระบบควบคุมภายในออกเป็น Operation Control สำหรับการควบคุมการปฏิบัติงาน และ Management Control สำหรับการควบคุมด้านการบริหารจัดการ โดยต้องมีการแบ่งอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติงานและการบริหารที่ชัดเจน

ด้วยเหตุนี้ ธุรกิจหลายแห่งจึงมีการใช้ระบบ ERP เข้ามาทำหน้าที่ในส่วนนี้ ด้วยการวางกระบวนการการดำเนินงานที่เป็นระบบและตรวจสอบได้มากยิ่งขึ้นจากการมีข้อมูลของธุรกิจที่ครบถ้วนแม่นยำและการวางกระบวนการดำเนินงานในแบบ Digital เพื่อสร้างความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจตั้งแต่การดำเนินการไปจนถึงการบริหาร

6. การวางแผนประชาสัมพันธ์และสื่อสาร

ในการวางแผนประชาสัมพันธ์และสื่อสารนี้ ธุรกิจจะต้องทำการประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัทให้แก่ผู้ลงทุนและประชาชนทั่วไป เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์กรและมีข้อมูลที่ดีสำหรับให้นักลงทุนหรือผู้ที่สนใจทำการตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม โดยต้องมีการดำเนินการล่วงหน้าตั้งแต่ก่อนเข้าตลาดหลักทรัพย์ และดำเนินการต่อเนื่องไปหลังจากที่ผ่านกระบวนการเข้าตลาดหลักทรัพย์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ระบบ ERP: หัวใจสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจวางแผน IPO ได้อย่างมั่นใจ

จะเห็นได้ว่าในการเตรียมตัวเข้าตลาดหลักทรัพย์นี้ ระบบ ERP มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในฐานะของระบบที่จะขับเคลื่อนธุรกิจโดยมีข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ ชัดเจน และโปร่งใส อีกทั้ง ERP ที่เป็นศูนย์รวมของข้อมูลธุรกิจและการเงินเองนี้ ก็จะเป็นกุญแจสำคัญในการจัดทำรายงานต่างๆ ที่จำเป็นต่อการเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ อีกทั้งยังทำให้การตรวจสอบบัญชีและการตรวจสอบภายในสามารถเกิดขึ้นได้อย่างเป็นระบบและสำเร็จได้ในระยะเวลาอันสั้นอีกด้วย ในขณะที่การวางแผนประชาสัมพันธ์และสื่อสารทั้งก่อนและเข้าตลาดหลักทรัพย์เอง ก็ต้องอาศัยข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจนในการนำเสนอด้วยเช่นกัน

นอกเหนือจากประโยชน์ของ ERP ที่จะทำให้ธุรกิจมีระบบบัญชีและการเงินที่สอดคล้องกับข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ และความสามารถในการตรวจสอบธุรกิจได้อย่างโปร่งใสดังที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้ว ERP เองก็ยังสามารถตอบโจทย์ใหม่ๆ ที่ธุรกิจจะต้องเผชิญในตลาดหลักทรัพย์ได้หลากหลายประการ เช่น

  • การตอบสนองต่อข้อกฎหมาย ข้อบังคับ และกฎเกณฑ์ใหม่ๆ เมื่อเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์แล้ว ธุรกิจต้องดำเนินการตามข้อกฎหมาย ข้อกำหนด และกฎเกณฑ์ต่างๆ อย่างเคร่งครัด อีกทั้งเมื่อมีข้อกฎหมายหรือข้อบังคับใหม่ๆ ออกมา ธุรกิจก็ต้องเร่งปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อประเด็นเหล่านี้ให้ได้อย่างทันท่วงที เพื่อให้เกิดความถูกต้องและสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้ถือหุ้น ซึ่งระบบ ERP จะช่วยตอบโจทย์เหล่านี้ได้จากการมีข้อมูลการดำเนินงาน, บัญชี และการเงินที่ครบถ้วน เพื่อให้วิเคราะห์วางแผนเปลี่ยนแปลงได้อย่างตรงจุด และทราบถึงค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำเนินการส่วนนี้ได้อย่างเหมาะสม
  • การตอบสนองต่อผู้ถือหุ้น ซึ่งจะคาดหวังความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจ, การมีแผนดำเนินงานและการกำหนดผลการดำเนินการที่ชัดเจน, ความสม่ำเสมอในการดำเนินธุรกิจและสร้างผลกำไร ไปจนถึงความจริงใจในการดำเนินธุรกิจและการสนับสนุนประเด็นทางสังคม ดังนั้นระบบ ERP ที่มีข้อมูลครบถ้วน สามารถวิเคราะห์และสรุปผลรายงานในแง่มุมต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วแม่นยำ ตอบคำถามของผู้ถือหุ้นได้อย่างทันท่วงที และช่วยธุรกิจรับมือกับกรณีไม่คาดฝันได้จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น
  • การตอบสนองต่อผู้บริหารของธุรกิจ ธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์นั้นอาจมีการใช้ผู้บริหารชุดเดิมซึ่งมีความเข้าใจในธุรกิจอย่างชัดเจน หรืออาจมีการเปลี่ยนตัวผู้บริหารที่มีศักยภาพในการสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจได้ ดังนั้น ERP จึงจะต้องทำหน้าที่เป็นระบบที่จะทำให้ผู้บริหารหรือกรรมการคนใหม่ที่เข้ามาดำเนินการ สามารถทำความเข้าใจและเรียนรู้ธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว ด้วยข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ และสามารถค้นหาคำตอบที่จำเป็นต่อการปรับเปลี่ยนธุรกิจได้ เพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าไปได้อย่างต่อเนื่องและไม่สะดุดติดขัด

แง่มุมเหล่านี้ถือเป็นกรณีการใช้งานระบบ ERP ที่ต่างจากการใช้เพื่อบริหารธุรกิจทั่วๆ ไป ซึ่งก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาให้ดีในการเลือกใช้งานระบบ ERP หากธุรกิจมีเป้าหมายในการเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์นั่นเอง

ขอเชิญเข้าร่วมงานสัมมนา “Speed Up Your IPO with ERP เตรียมความพร้อม IPO ไม่ยาก แต่ต้องมีตัวช่วยที่ดี” [24 พ.ค. 2023 – 8.00 -12.30 น. ณ โรงแรม W Bangkok สาทร]

Sala Daeng ขอเรียนเชิญเจ้าของกิจการและผู้บริหารทุกท่าน เข้าร่วมงานสัมมนาฟรี “Speed Up Your IPO with ERP เตรียมความพร้อม IPO ไม่ยาก แต่ต้องมีตัวช่วยที่ดี” เพื่อเรียนรู้ถึงแนวทางการเตรียมระบบบริหารจัดการธุรกิจ สำหรับการเข้าตลาดหลักทรัพย์ (IPO) ทั้งในแง่มุมของกระบวนการ, การจัดเตรียมข้อมูล และการวางระบบ ERP ให้เหมาะสม ในวันที่ 24 พฤษภาคม 2023 เวลา 8.00 -12.30 น. ณ โรงแรม W Bangkok สาทร โดยมีรายละเอียด กำหนดการและวิธีการลงทะเบียนเข้าร่วมงานโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ดังนี้

Speed Up Your IPO with ERP เตรียมความพร้อม IPO ไม่ยาก แต่ต้องมีตัวช่วยที่ดี

วันที่: 24 พฤษภาคม 2023

เวลา: 8.00 -12.30 น.

สถานที่: โรงแรม โรงแรม W Bangkok สาทร ห้อง The Conservatory Room, Level 1 the House on Sathorn (แผนที่ https://goo.gl/maps/CR82Sw82vw9PkHuj8)

ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน (ไม่มีค่าใช้จ่าย):

การนำธุรกิจเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์หรือ IPO นั้น ได้กลายเป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญของธุรกิจเพื่อระดมทุนเร่งสร้างการเติบโตให้ทันท่วงทีต่อสภาวะการแข่งขันทางธุรกิจที่รุนแรง และปัจจุบันนี้ก็มีธุรกิจไทยที่สนใจการ IPO มากขึ้นเรื่อยๆ ในหลากหลายอุตสาหกรรม

อย่างไรก็ดี การเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์นั้นมีกฎเกณฑ์และระเบียบข้อปฏิบัติต่างๆ มากมาย ทำให้เมื่อประเมินถึงประเด็นเหล่านี้แล้ว การเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์นั้นก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งเจ้าของกิจการและผู้บริหารควรต้องทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ก่อนที่จะตัดสินใจดำเนินการ เพื่อให้การก้าวเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์นั้นเป็นไปได้อย่างตรงต่อวัตถุประสงค์ที่ต้องการของธุรกิจ หรือในบางกรณี การไม่เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์นั้นก็อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

ในงานสัมมนาครั้งนี้ ทีมงาน Ari ผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาสำหรับธุรกิจ จะพาทุกท่านไปรู้จักกับการเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ในรูปแบบต่างๆ ที่เป็นไปได้ในประเทศไทย และสรุปถึงข้อดีข้อเสียที่เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารทุกท่านควรรู้ก่อนตัดสินใจเข้าตลาดหลักทรัพย์ พร้อมเล่าถึงกฎเกณฑ์และระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทุกท่านเข้าใจถึงสิ่งที่จะต้องเผชิญในการเตรียมตัวเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงยังมีการนำเสนอถึงแนวทางการเตรียมตัว ทั้งในแง่ของการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน, การจัดเก็บรวบรวมข้อมูลที่จำเป็น และการวางระบบ ERP เพื่อให้ธุรกิจพร้อมต่อการเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ และดำเนินกิจการต่อไปได้อย่างมั่นคงในฐานะของบริษัทมหาชน

กำหนดการ

ภายในงานสัมมนา ท่านจะได้รับชมเนื้อหาดังต่อไปนี้

งานสัมมนาในครั้งนี้จะนำเสนอเนื้อหาเป็นภาษาไทยโดยทีมงาน Sala Daeng และจะมีทีมงานที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่จะคอยตอบคำถามคลายข้อสงสัยเกี่ยวกับการเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ในทุกแง่มุมให้กับท่าน

งานสัมมนานี้เหมาะกับ

เจ้าของกิจการ, ผู้บริหารธุรกิจ, ผู้บริหารด้านการเงิน สำหรับธุรกิจที่มีแผนการเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ในอนาคต หรือต้องการเรียนรู้ข้อมูลเพื่อทำการวางแผนตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจ

ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน (ไม่มีค่าใช้จ่ายจากมูลค่า 15,000 บาท)

สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถทำการลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ทันทีโดยไม่มีค่าใช้จ่ายที่ https://ari-hq.com/en/speed-up-ipo-2023 โดยทีมงานขอความกรุณาลงทะเบียนด้วยข้อมูลจริง และจะมีทีมงานติดต่อท่านกลับไปเพื่อยืนยันผลการลงทะเบียนเข้าร่วมงานในครั้งนี้

สนใจโซลูชันระบบ ERP หรือต้องการที่ปรึกษาสำหรับการ IPO ติดต่อ Sala Daeng ได้ทันที

สำหรับธุรกิจที่สนใจวางระบบ ERP ใหม่ หรือเปลี่ยนระบบ ERP เก่ามาสู่ระบบใหม่ที่ทันสมัย ใช้งานง่าย และตอบโจทย์ของธุรกิจมากขึ้น สามารถติดต่อทีมงาน Sala Daeng ได้ทันทีที่ https://sala-daeng.com/en


About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

การ์ทเนอร์ชี้ 6 กลยุทธ์ที่ผู้นำทีม Software Engineering ต้องทราบในปี 2023

การมีกลยุทธ์ถือเป็นเรื่องที่ดีเพราะแนวปฏิบัติเหล่านี้จะช่วยให้องค์กรมีกรอบที่จะเป็นไป ให้อยู่เหนือการเปลี่ยนแปลงของกระแสเทคโนโลยี ในมุมของ Software Engineering การ์ทเนอร์ได้แนะนำ 6 กลยุทธ์ไว้ดังนี้

วีเอ็มแวร์มอบรางวัล Excellence Awards แก่ลูกค้าในภูมิภาคเอเชีย [Guest Post]

บริษัท วีเอ็มแวร์ อิงค์ ผู้นำด้านนวัตกรรมซอฟต์แวร์ระดับองค์กร ประกาศผู้ชนะรางวัล Customer Achievement Awards อันทรงเกียรติ รางวัลเหล่านี้ยกย่องบริษัทที่ได้แสดงให้เห็นถึงการสร้างนวัตกรรมที่โดดเด่นและความสามารถในการเปลี่ยนแปลงโดยใช้ประโยชน์จากบริการและเทคโนโลยีของ VMware ลูกค้าของวีเอ็มแวร์ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งให้เกิดนวัตกรรมและวิวัฒนาการทางธุรกิจภายในภูมิทัศน์แบบไดนามิกของสภาพแวดล้อมมัลติคลาวด์ ที่งาน VMware Explore …