แม้จะทราบถึงประโยชน์และประสิทธิภาพของเทคโนโลยี AI เป็นอย่างดี ทว่าการเริ่มต้นนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้งานสำหรับหลายๆธุรกิจแล้วก็อาจเป็นไปอย่างล่าช้า ส่วนหนึ่งก็เพราะธุรกิจนั้นไม่มีสารตั้งต้นที่พร้อมให้ AI ทำงานอย่างเต็มศักยภาพ สารตั้งต้นที่ว่านี้ก็ได้แก่ฮาร์ดแวร์ที่เหมาะสม และข้อมูลในปริมาณที่มากพอที่จะวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกออกมาได้

ในปัจจุบัน มีผู้ให้บริการ AI หลายรายที่ทราบถึงปัญหานี้ และได้พัฒนาโซลูชันขึ้นมาตอบโจทย์ธุรกิจในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลโดยเฉพาะ หนึ่งในนั้นคือ HACARUS สตาร์ทอัพจากประเทศญีปุ่นที่กล้าการันตีว่า AI ของพวกเขาไม่ต้องใช้ข้อมูลมากก็ทำงานได้เป็นอย่างดี ประหยัดพลังงาน ไม่ต้องการกำลังการประมวลผลสูง อีกทั้งยังสามารถอธิบายเหตุผลในการตัดสินใจแต่ละครั้งได้ เทคโนโลยีของพวกเขาทำงานอย่างไร? และมีการนำไปใช้อย่างไรบ้าง? ติดตามได้ในบทความนี้
รู้จักกับ HACARUS กันก่อน
HACARUS เป็นบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี Artificial Intelligence ที่ถูกตั้งขึ้นในปี 2014 แต่มีผลงานโครงการด้าน AI ร่วมกับบริษัทในอุตสาหกรรมต่างๆมาแล้วมากกว่า 100 บริษัท
ในปี 2020 พวกเขาได้มีรายชื่อใน CB Insights AI 100 ซึ่งจัดลำดับสตาร์ทอัพด้าน AI ที่น่าจับตามองจากทั่วโลก และล่าสุดในปี 2021 นี้ HACARUS ก็ได้รับรางวัล Best Object Recognition Solution จาก AI Breakthrough Awards ด้วย
HACARUS ได้พัฒนาเทคโนโลยีพิเศษซึ่งเพิ่มเติมจากการใช้ Deep Learning โดยทั่วไป HACARUS ได้พัฒนาเทคโนโลยีพิเศษที่ใช้เทคนิคที่เรียกว่า Sparse Modelling ซึ่งเป็นเทคนิคที่จะคัดสรรปัจจัยที่สำคัญจากข้อมูลที่มีมิติรายละเอียดมากออกมาใช้ในการวิเคราะห์และทำนาย โดย Sparse Modelling ของ HACARUS มีจุดเด่นอยู่ 3 ข้อด้วยกัน ได้แก่
- ใช้ข้อมูลตั้งต้นน้อย ทำให้การเริ่มต้นประยุกต์ใช้งาน AI ในองค์กรง่ายยิ่งขึ้น เพราะไม่จำเป็นจะต้องมีการเก็บข้อมูลล่วงหน้านานๆหรือในปริมาณมากอีกต่อไป
- AI อธิบายการทำงานของตัวเองได้ ผู้ใช้สามารถตรวจสอบย้อนไปถึงวิธีคิดและเหตุผลของการตัดสินใจของ Sparse Modelling ได้เสมอ
- ทำงานได้รวดเร็วและใช้พลังงานน้อย ทำให้ธุรกิจนำ Sparse Modelling ของ HACARUS ไปประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์ได้หลากหลายชนิด ไม่จำเป็นต้องลงทุนฮาร์ดแวร์ใหม่ ทำงานได้ทั้งแบบ On-premise และบนคลาวด์

เทคโนโลยีของ HACARUS เหมาะกับธุรกิจแบบไหน?
Sparse Modelling ของ HACARUS นั้นประยุกต์กับธุรกิจได้หลายรูปแบบ โดยอุตสาหกรรมที่พวกเขาเชี่ยวชาญเป็นพิเศษคืออุตสาหกรรมการผลิต และพวกเขาก็มีโซลูชันเฉพาะทางด้วย ซึ่งบริการของ HACARUS นั้นจะแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ
- HACARUS Inspect – โซลูชันการตรวจสอบผ่านรูปถ่าย ภาพเคลื่อนไหว หรือเสียง สามารถประยุกต์ใช้ในงาน เช่น ตรวจสอบข้อผิดพลาดในการผลิต ตรวจจับความผิดปกติในสภาพแวดล้อมด้วยเสียง หรือควบคุมคุณภาพสินค้า
- HACARUS Lens – โซลูชันอ่านภาพและตัวอักษรด้วย AI ได้แก่ โซลูชันอ่านมิเตอร์และหน้าจออัตโนมัติ โซลูชันอ่านเอกสารและลายมือ และโซลูชันอ่านบาร์โค้ดที่ทำงานได้อย่างรวดเร็วแม่นยำ
- HACARUS Dojo – บริการให้คำปรึกษาโซลูชัน กลยุทธ์ธุรกิจ และอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ AI ละ Data Science สำหรับธุรกิจที่สนใจอยากนำเทคโนโลยีเหล่านี้เข้าไปประยุกต์ใช้งาน เพิ่มทักษะให้กับบุคลากร หรือจัดตั้งทีมด้าน AI และข้อมูลโดยเฉพาะ
- HACARUS Edge – แพลตฟอร์มสำหรับ AI Edge Computing โดยเฉพาะ ช่วยในการพัฒนาและติดตั้งระบบสำหรับธุรกิจที่ต้องการพัฒนาระบบ IoT, FPGA (Field-programmable Gate Array) หรือการทำ Edge Computing ในกรณีอื่นๆ
กรณีศึกษา Mitsubishi Electric – Sparse Modelling ใช้ข้อมูลน้อย เริ่มได้ไว ทำงานกับเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่มีอยู่แล้วได้
Mitsubishi Electric ต้องการปรับธุรกิจให้สามารถดำเนินต่อไปได้แม้ในอนาคตที่จะเข้าสู่ยุคสังคมผู้สูงอายุ การนำระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการได้จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ทว่าสิ่งที่พวกเขาต้องเผชิญก็คล้ายคลึงกับธุรกิจอีกจำนวนไม่น้อยที่มีข้อจำกัดด้านข้อมูล ที่อาจยังมีไม่มากเนื่องด้วยวิถีการทำงานแบบดั้งเดิม และข้อกำจัดด้านฮาร์ดแวร์และกำลังการประมวลผลที่จะรองรับเทคโนโลยีที่ต้องการใช้งาน เทคโนโลยีของ HACARUS สามารถตอบโจทย์ทั้งสองข้อนี้ได้เป็นอย่างดี
Mitsubishi Electric ได้มีความร่วมมือกับ HACARUS ในการนำเทคโนโลยี Sparse Modelling ไปใช้ในงานตรวจสอบ (Inspection) ด้วยการทำงานของกล้องความละเอียดสูงและเทคโนโลยี AI พวกเขาสามารถสร้างระบบตรวจสอบอัตโนมัติที่ช่วยแบ่งเบาภาระจากบุคลากร ทำงานได้รวดเร็ว มีความแม่นยำในการตรวจสอบสูงถึง 98% และมีข้อผิดพลาดที่ต่ำลง

ระบบ AI ของ HACARUS นั้นใช้ทรัพยากรและพลังงานน้อย จึงสามารถทำงานบนเครื่องจักรที่ Mitsubishi Electric มีอยู่ รวมไปถึงทำงานบนอุปกรณ์ Edge Devices อื่นๆได้อย่างราบรื่น ช่วยให้ธุรกิจสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาในการวางระบบไปได้
กรณีศึกษา Osaka Gas – Digital Transformation ภายในองค์กร สู่ Digital Transformation ในครัวเรือน และธุรกิจลูกค้า
Osaka Gas คือบริษัทผู้ให้บริการแก๊ส ไฟฟ้า และบริการอื่นๆแก่ลูกค้ารายบุคคลและธุรกิจที่เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี 1897 เมื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัล พวกเขามีเป้าหมายในการนำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาใช้เพื่อสร้างคุณค่าให้กับองค์กรอย่างยั่งยืน และได้เริ่มความร่วมมือกับ HACARUS ในปี 2019
Osaka Gas ได้ทำงานร่วมกับ HACARUS ตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผน เลือกเทคโนโลยี ไปจนถึงการพัฒนาโซลูชัน ณ ปัจจุบันพวกเขามีโครงการอย่างโครงการระบบตรวจสอบท่อแก๊สใต้ดิน และระบบตรวจสอบข้อผิดพลาดในการผลิต ซึ่งทั้งสองงานนั้นเป็นงานที่เคยต้องใช้บุคลากรที่ผ่านการฝึกฝนทักษะมาเป็นพิเศษในการทำ เมื่อมี AI เข้ามาช่วย ก็สามารถทำงานได้อย่างละเอียด แม่นยำ และรวดเร็วยิ่งขึ้น รวมไปถึงยังสามารถทำงานโดยอัตโนมัติ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพเข้าไปอีก
นอกจากการทำงานภายในองค์กรแล้ว Osaka Gas ยังมีแผนที่จะนำเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่าง AI และ IoT เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของบริการที่พวกเขามอบให้กับลูกค้า ช่วยให้ลูกค้าทั้งธุรกิจและครัวเรือน สามารถใช้เทคโนโลยีเหล่านี้เพื่อเพิ่มความสะดวกสบาย และประสิทธิภาพให้กับการทำงานหรือชีวิตประจำวันได้ ตัวอย่างเช่น Jumimikata Service ที่เป็นโซลูชันสำหรับการแก้ปัญหาจิปาถะในบ้านที่อยู่อาศัย หรือแผนการให้บริการระบบ IoT สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
รู้จัก HACARUS ให้มากขึ้น ในงาน JRIT ICHI
ผู้ที่สนใจเทคโนโลยีและบริการของ HACARUS สามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ที่หน้าเว็บไซต์ https://hacarus.com แต่หากต้องการพูดคุยลงลึกถึงรายละเอียด และปรึกษาถึงแนวทางการนำเทคโนโลยี AI และ IoT เข้ามาพัฒนาประสิทธิภาพของธุรกิจได้อย่างเหมาะสม ท่านสามารถเข้าไปติดต่อ เยี่ยมชม และพูดคุยกับทีมงาน HACARUS ได้ในงาน JRIT ICHI งานตลาด IT ออนไลน์ ที่รวบรวมผู้ให้บริการ IT ชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่นมาให้ทุกท่านได้ทำความรู้จักและเลือกสรรกันอย่างคับคั่ง ลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ฟรีเลยที่ https://www.jrit-ichi.com