[Guest Post] เอ็นทีที ประกาศความเป็นผู้นำใน IDC MarketScape ด้านการให้บริการความปลอดภัยบนคลาวด์ ปี 2021 ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

NTT Ltd., ผู้ให้บริการเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก ได้รับการยอมรับด้านความเป็นผู้นำด้านการให้บริการด้านการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ ปี 2021 ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก  Leader in the IDC Marketscape: Asia/Pacific Cloud Security Services 2021 Vendor Assessment (doc # AP47097721, June 2021). โดยรายงานดังกล่าวสะท้อนถึงความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค ความรู้ และความสามารถของผู้เชี่ยวชาญด้านระบบคลาวด์และระบบรักษาความปลอดภัยของเอ็นทีที ตลอดจนการพัฒนาด้านกลยุทธ์เพื่อมอบประสบการณ์ให้กับลูกค้าได้อย่างดีเยี่ยม 

 

รายงานดังกล่าวมาจากการประเมินการดำเนินงานของเอ็นทีที จากผู้ให้บริการด้าน CSS ทั้งหมด 13 ราย โดยระบุว่ากลยุทธ์การให้บริการด้านรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ของเอ็นทีทีนั้น ได้เน้นไปยังความต้องการของลูกค้าเป็นศูนย์กลาง และมุ่งสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายทั่วโลกและสะท้อนถึงการขับเคลื่อนในตลาดมหภาคที่มีการบูรณาการด้านการรักษาความปลอดภัยอย่างแน่นหนา พร้อมกับแนวทางปฏิบัติอื่นๆ ภายใต้เอ็นทีที กรุ๊ป ซึ่งเป็นแนวทางที่มีเจตนาในการช่วยให้ลูกค้าสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายในการออกแบบระบบรักษาความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพ

โดยในปีที่แล้ว เอ็นทีที ยังได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำ ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในการให้บริการด้านบริหารจัดการระบบรักษาความปลอดภัย  หรือ IDC MarketScape : Asia/Pacific Managed Security Services 2020 ซึ่งรวมทั้งสิ้นได้รับรางวัล 4 ครั้งติดต่อกัน อีกทั้งเป็นผู้นำใน  Worldwide Managed Security Services 2020 อีกด้วย

ผลงานระดับโลกอันแข็งแกร่งและความสามารถด้านความปลอดภัย

ปัจจุบันเอ็นทีที เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการเทคโนโลยีรายใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการด้านความปลอดภัยที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียแปซิฟิก ในรายงานระบุว่าเอ็นทีทีเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในตลาด โดยพิจารณาจากผลงานที่มีอยู่มากมายและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเครือข่ายศูนย์ปฏิบัติการด้านความปลอดภัยทั่วโลก (Security Operations Centers) และศูนย์ข่าวกรองภัยคุกคามทั่วโลก (Global Threat Intelligence Center) ซึ่งมีการดำเนินงานโดยตรงใน 17 ประเทศ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่มีการดำเนินงานด้านความปลอดภัยบนคลาวด์อยู่ในภูมิภาค โดยได้รับการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญด้านระบบคลาวด์ประมาณ 1,000 คน และทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย 800 คน

คาซุ ยูซาวะ  ซีอีโอด้านรักษาความปลอดภัยของ NTT Ltd. กล่าวว่า  การได้รับการยอมรับในฐานะ ‘ผู้นำ’ ใน IDC MarketScape ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จาก CSS ถือเป็นเครื่องยืนยันถึงความสามารถในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ของเอ็นทีที รวมถึงแนวทางการรักษาความปลอดภัยโดยการออกแบบที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ซึ่งธุรกิจต่างๆ ในเอเชีย

แปซิฟิกหันมาใช้โมเดลบนคลาวด์มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อเพิ่มความเร็วในการปรับใช้แอพพลิเคชั่นและบริการ รวมถึงความคล่องตัว และประสิทธิภาพในการลดต้นทุน อย่างไรก็ตามอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดในการนำไฮบริดคลาวด์มาใช้ในปัจจุบันคือการจัดการความปลอดภัยของข้อมูลในสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องยากที่จะทำให้การใช้งานบนไฮบริดคลาวด์ถูกยกเลิกโดยไม่ต้องมีการดำเนินงานที่ถูกต้อง และนั่นคือสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญและพันธมิตรกำลังหาทางทำการช่วยเหลือ”

“คลาวด์และความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นภูมิทัศน์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และด้วยความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้นเราจึงมองหาการขับเคลื่อนนวัตกรรมอยู่เสมอ นอกจากนี้การบูรณาการเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ เช่น AI และ ML ที่เพิ่มระดับการทำงานอัตโนมัติโดยเฉพาะในการตรวจจับภัยคุกคาม โดยเป้าหมายของเราคือการเพิ่มความชาญฉลาดลงในโครงสร้างพื้นฐานและแอพพลิเคชั่นไว้ในระดับสูงสุดอยู่เสมอ เพื่อให้บรรลุต่อความสอดคล้องของบริการในตลาดต่างๆ” คาซุ ยูซาวะ กล่าว

คาซุ ยูซาวะ กล่าวเสริมว่า เพื่อช่วยให้ลูกค้ามีความคล่องตัวและลดความซับซ้อนของกระบวนการเลือกและจัดการเทคโนโลยีที่ยุ่งยาก เอ็นทีทีจะทำการประเมิน พร้อมให้คำปรึกษา คัดสรรค์ และผสานรวมเทคโนโลยีของพันธมิตรเอาไว้ล่วงหน้าเพื่อลงแพลตฟอร์มการให้บริการด้านบริหารจัดการความปลอดภัย (Managed Security Services) โดยเราจะดูแลลูกค้าของเราอย่างเต็มรูปแบบและมั่นใจว่าพวกเขาจะได้รับคำแนะนำอย่างดีเยี่ยม พร้อมรับทราบวิธีให้บริการของเราสำหรับธุรกิจของพวกเขาในช่วงการระบาดของโควิด-19 อย่างมีประสิทธิภาพ และในปัจจุบันเรายังให้บริการแก้ไขการตอบสนองต่อเหตุการณ์โดยไม่มีค่าใช้จ่ายแก่ลูกค้าในกลุ่มธุรกิจสุขภาพ  (Healthcare) เนื่องจากความปลอดภัยคือสิ่งที่เราให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก”

สำหรับจุดแข็งอื่นๆ ของเอ็นทีที ที่มีการเน้นย้ำในรายงานดังกล่าว คือแนวปฏิบัติด้านบริการ Managed Security อย่างครอบคลุม โดยนำเสนอบริการที่เน้นคลาวด์และเครื่องมือที่เป็นกรรมสิทธิ์ของเอ็นทีทีจำนวนหนึ่ง เช่น เครื่องมือตรวจจับภัยคุกคามไซเบอร์ (Cyber Threat Sensor) ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าตรวจจับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมบนระบบคลาวด์และเว็บแอพพลิเคชั่น

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมดาวน์โหลดได้ที่ download the IDC MarketScape excerpt.

 

เกี่ยวกับ IDC MarketScape

IDC MarketScape แบบจำลองการประเมินผู้ให้บริการ ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้ภาพรวมของความแข็งแกร่งในการแข่งขันของซัพพลายเออร์ด้าน ICT (เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) ในตลาดที่กำหนด โดยการวิจัยจะใช้วิธีการให้คะแนนที่เข้มงวด รวมถึงการใช้เกณฑ์เชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ ซึ่งส่งผลให้มีภาพประกอบกราฟิกเดียวของผู้ขายแต่ละตำแหน่งภายในตลาดที่กำหนด โดย IDC MarketScape ให้กรอบที่ชัดเจนในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ การให้บริการ ขีดความสามารถ กลยุทธ์และปัจจัยความสำเร็จของตลาดในปัจจุบันและในอนาคตของผู้ค้าไอที และโทรคมนาคม โดยสามารถเปรียบเทียบได้อย่างมีความหมาย ซึ่งกรอบดังกล่าวยังช่วยให้ผู้ให้บริการเทคโนโลยีได้รับการประเมินแบบ 360 องศา ถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของผู้จัดจำหน่ายในปัจจุบันและอนาคต

 

เกี่ยวกับเอ็นทีที

NTT Ltd. เป็นบริษัทผู้ให้บริการเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก เราร่วมมือกับองค์กรต่างๆทั่วโลกเพื่อกำหนดและบรรลุผลผ่านโซลูชั่นเทคโนโลยีอัจฉริยะ สำหรับเราแล้วความชาญฉลาดหมายถึงการขับเคลื่อนข้อมูลการเชื่อมต่อดิจิทัลและความปลอดภัย ในฐานะผู้ให้บริการไอซีทีระดับโลกเรามีพนักงานมากกว่า 40,000 คนประจำอยู่ตามสำนักงานสาขาทั่วโลก ครอบคลุม 57ประเทศ และมีการแลกเปลี่ยนทางการค้าใน 73 ประเทศ พร้อมทั้งให้บริการมากกว่า 200 ประเทศ และเมื่อร่วมมือกันเราสามารถสร้างสรรค์อนาคตที่ทุกอย่างเชื่อมถึงกัน

ข้อมูลเพิ่มเติม เยี่ยมชมได้ที่ hello.global.ntt

 

About Maylada

Check Also

Microsoft เผยไอเดียแก้ Security Updates บน Windows หลังเหตุการณ์ CrowdStrike

หลังจากเกิดเหตุการณ์ Blue Screen of Death จาก CrowdStrike หลังอัปเดต Security บนเครื่องมือ EDR บน Windows ล่าสุดดูเหมือน Microsoft …

Fortinet ยอมรับถูกขโมยข้อมูลออกไปจริง

Fortinet ได้ออกมายืนยันข่าวที่มีกลุ่มแฮ็กเกอร์สามารถเข้าไปขโมยข้อมูลบน Azure Sharepoint ของตนได้ โดยยืนยันว่ามีผลกระทบกับลูกค้าเพียงแค่ไม่เกิน 0.3% เท่านั้น และยังไม่มีการเผยถึงเนื้อหาข้อมูลที่ถูกขโมยไป