[Guest Post] การบริหารจัดการสินทรัพย์ (APM) 4.0 พลิกโฉมประสิทธิภาพการทำงานในอุตสาหกรรม

ระบบวิเคราะห์เชิงคาดการณ์และระบบวิเคราะห์แบบให้คำแนะนำซึ่งใช้ AI และ ML นั้นกำลังจะเปลี่ยนโฉมการบริหารจัดการสินทรัพย์ ด้วยคุณลักษณะอันสำคัญของ การบริหารจัดการสินทรัพย์ 4.0 เทคโนโลยีเหล่านี้จึงสามารถแจ้งเตือนบริษัทถึงช่วงเวลาที่จะเกิดความล้มเหลวได้ก่อนที่จะเกิดเหตุขึ้นจริง ๆ รวมถึงยังแนะนำวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพสินทรัพย์ให้แก่ทีมซ่อมบำรุงได้อีกด้วย กล่าวโดย คุณ Kim Custeau รองประธานบริหารอาวุโสแห่ง การบริหารจัดการสินทรัพย์ MES และ AVEVA

 

มีการตั้งเป้าว่าตลาดการบริหารจัดการประสิทธิภาพสินทรัพย์จะเติบโตจาก 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐไปจนถึง 4 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2569 เพราะอุตสาหกรรม 4.0 จะส่งผลให้เกิดเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ ๆ รวมไปถึงแนวทางในการพลิกโฉมประสิทธิภาพการทำงานในอุตสาหกรรม  

การบริหารจัดการสินทรัพย์กำลังพัฒนาไปพร้อมกับอุตสาหกรรม และการบริหารจัดการสินทรัพย์  4.0 ก็นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของวิธีการซ่อมบำรุงของแต่ละบริษัท  นอกจากนี้การใช้ระบบที่ผสานรวมโลกกายภาพกับไซเบอร์เข้าด้วยกัน (Cyber-physical system) เพื่อเปลี่ยนวิธีการดำเนินธุรกิจในเบื้องต้นนั้นจะเอื้อให้เกิดการบริหารจัดการประสิทธิภาพสินทรัพย์ในเชิงรุกได้ผ่านการแจ้งเตือนด้วยระบบวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ (Predictive analytics) และระบบวิเคราะห์แบบให้คำแนะนำ (Prescriptive analytics) โดยทั้งสองวิธีนี้จะนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) การเรียนรู้ของเครื่อง (ML) และเทคโนโลยีการวิเคราะห์บิ๊กดาต้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การเปลี่ยนโฉมการบริหารจัดการสินทรัพย์ด้วยระบบดิจิทัล

แต่ก่อนการบริหารจัดการสินทรัพย์จะให้ความสำคัญกับวิธีการทางวิศวกรรมที่มีความน่าเชื่อถือ แต่ปัจจุบันโซลูชันการบริหารจัดการสินทรัพย์  4.0 ได้ผสานรวมเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) เข้ากับเทคโนโลยีด้านการดำเนินงาน (OT) จากนั้นจึงเชื่อมต่อสินทรัพย์เข้ากับผู้ปฏิบัติงานที่อยู่ตามขั้นตอนต่าง ๆ ในวงจรชีวิตสินทรัพย์ผ่านเทคโนโลยีหลากรูปแบบแตกต่างกันไป

การบริหารจัดการสินทรัพย์ถูกพลิกโฉมด้วยระบบดิจิทัลซึ่งแรกเริ่มนั้นได้ใช้วิธีการที่เน้นตัวสินทรัพย์เป็นหลักและเปลี่ยนไปสู่ระบบที่เชื่อมโยงกับงานวิศวกรรม การดำเนินงาน และประสิทธิภาพแบบครบวงจร โดยสร้างระบบ Digital Thread แบบผสานรวมระบบเดียวซึ่งใช้ตรวจสอบวงจรชีวิตของสินทรัพย์ได้ทั้งหมดรวมถึงเป็นการวางรากฐานให้แก่ระบบแจ้งเตือนเชิงคาดการณ์และการวิเคราะห์แบบให้คำแนะนำ

ด้วยเหตุนี้บริษัทจึงสามารถวางกลยุทธ์เพื่อหลีกเลี่ยงการหยุดทำงานที่ไม่ได้วางแผนไว้ (unplanned downtime) พร้อมกันนั้นยังช่วยให้ตัดสินใจว่า กลยุทธ์ด้านการป้องกันหรือแก้ไขใดดีที่สุดสำหรับเครื่องจักรที่มีความสำคัญน้อยกว่า ซึ่งจะช่วยลดต้นทุน ลดเวลาการหยุดทำงานที่ไม่ได้วางแผนไว้ รวมถึงใช้แรงงานและอุปกรณ์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ตัวชี้วัดและการแจ้งเตือนเชิงคาดการณ์ประสิทธิภาพสูง

ความสำคัญประการหนึ่งของการบริหารจัดการสินทรัพย์ 4.0 ก็คือ การตัดสินใจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล เพราะจะสร้างตัวชี้วัดประสิทธิภาพที่เป็นหลักสำคัญในการปรับเปลี่ยนและเพิ่มประสิทธิภาพแบบเรียลไทม์อย่างแท้จริง และในบางสถานการณ์ก็ป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดใด ๆ อีกด้วย  

ทั้งหมดนี้ก็เป็นเพราะว่า เซ็นเซอร์และอุปกรณ์มือถือนานาชนิดมีตัวช่วยตัดสินใจในเรื่องเงื่อนไข ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของสินทรัพย์โดยใช้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ ซึ่งเอื้อให้ตัดสินใจได้แม่นยำยิ่งขึ้น

ระบบ AI และ ML จะใช้ข้อมูลเซ็นเซอร์เพื่อการคาดการณ์การถดถอยของประสิทธิภาพการทำงานและความล้มเหลวของส่วนประกอบก่อนที่จะเกิดเหตุขึ้นได้แม่นยำมากกว่า 95% โดยจะแตกต่างอย่างสุดขั้วกับตัวชี้วัดที่ใช้กันอย่างแพร่หลายอยู่ตอนนี้ซึ่งมักจะประมวลผลช้าและรายงานผลแค่ความล้มเหลวหลังจากเกิดเหตุขึ้นแล้วเท่านั้น  

ข้อมูลต่าง ๆ นี้ใช้เพื่อตั้งค่าการแจ้งเตือน โดยจะให้คำแนะนำแบบเฉพาะทางซึ่งได้กำหนดไว้ก่อนหน้าแล้ว ด้วยเหตุนี้วิศวกรซ่อมบำรุงจึงสามารถป้องกันการทำงานผิดพลาดและลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นให้เหลือน้อยที่สุด

การวิเคราะห์แบบให้คำแนะนำและการดำเนินการ

แม้ระบบวิเคราะห์เชิงคาดการณ์จะมีความก้าวหน้ามากขึ้น รวมทั้งเรายังสามารถคาดการณ์อนาคตได้แม่นยำกว่าเดิม แต่การใช้ระบบวิเคราะห์แบบให้คำแนะนำจะยิ่งช่วยให้เรานำการบริหารจัดการสินทรัพย์  4.0 มาใช้ให้ประโยชน์สูงสุด และทั้งหมดนี้ก็เป็นเพราะว่าไม่เพียงแต่โซลูชันเหล่านี้จะช่วยบอกสิ่งต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้เท่านั้น แต่ยังสามารถวิเคราะห์การตอบสนองที่ดีที่สุดต่อเหตุการณ์นั้นได้ผ่านระบบวิเคราะห์บิ๊กดาต้าและระบบ ML

การแจ้งเตือนที่แสดงขึ้นมาแต่ละรายการจะถูกประมวลผลด้วยการดำเนินการแบบให้คำแนะนำโดยดูจากเงื่อนไขสี่ประการ ได้แก่ ความวิกฤติ ความเร่งด่วน การดำเนินการ และการบริหารจัดการชิ้นส่วนอะไหล่ จากนั้นจะให้คำแนะนำว่า ควรดำเนินการอย่างไรเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือของสินทรัพย์ มากกว่านั้นการดำเนินการที่อิงตามเงื่อนไขเช่นนี้จะช่วยให้การซ่อมบำรุงและการทำงานเกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพราะสามารถเข้าถึงและวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ได้

การบริหารจัดการสินทรัพย์  4.0 จะให้ผลประโยชน์ทางธุรกิจที่จับต้องได้

เราได้เห็นธุรกิจต่างๆ สามารถลดเวลาการหยุดทำงานที่ไม่ได้วางแผนไว้ได้ถึง 25% ความพร้อมใช้งานของสินทรัพย์เพิ่มขึ้น 20% อีกทั้งการใช้ประโยชน์สินทรัพย์สูงขึ้นถึง 30% ด้วยการใช้โซลูชันการบริหารจัดการสินทรัพย์ 4.0

ตัวอย่างหนึ่งก็คือ บริษัท Duke Energy ในสหรัฐอเมริกา สามารถหลีกเลี่ยงความล้มเหลวที่ส่งผลร้ายแรงได้ด้วยการใช้การบริหารจัดการสินทรัพย์  4.0 ซึ่งถ้าเกิดเหตุการณ์นั้นอาจก่อให้เกิดความเสียหายได้มากกว่า 10 ล้านเหรียญสหรัฐ และอีกตัวอย่างหนึ่งคือ บริษัท Southern Company ซึ่งเป็นบริษัทสาธารณูปโภคที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา ได้ใช้ระบบเฝ้าระวังจากศูนย์กลาง (centralized monitoring center) เพื่อดูแลสินทรัพย์ด้านการผลิตถ่านหิน ก๊าซ และพลังงานนิวเคลียร์ โดยได้ปรับใช้แบบจำลองการคาดการณ์มากกว่า 10,000 แบบเพื่อตรวจสอบอุปกรณ์สำคัญต่าง ๆ  อีกทั้งการตรวจพบรอยร้าวบนใบพัดได้ก่อนเกิดเหตุช่วยให้องค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้ราว 7.5 ล้านเหรียญสหรัฐ

โดย Ascend Performance Materials ยังเป็นอีกตัวอย่างของบริษัทที่สามารถสร้างมูลค่าทางธุรกิจที่แท้จริงจากการบริหารจัดการสินทรัพย์  4.0 โดยเป้าหมายของบริษัทคือการเปลี่ยนโรงงานยุค 1950 ให้เป็นโรงงานผลิตที่ทันสมัยซึ่งสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลทางอุตสาหกรรมเพื่อช่วยป้องกันการหยุดทำงาน

ด้วยการใช้เทคโนโลยีนี้ ทำให้ไม่ต้องป้อนข้อมูลด้วยตนเอง อีกทั้งยังสามารถแสดงภาพกระบวนการผลิตโดยรวมของแต่ละทีมได้ มากกว่านั้นยังเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารและการแบ่งปันข้อมูลความรู้ และไม่ต้องสูญเงินมากกว่า 2 ล้านเหรียญสหรัฐหากต้องปิดโรงงาน

ในภาคปิโตรเคมี บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ ในไทยใช้โซลูชันการบริหารจัดการสินทรัพย์  4.0 เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการหยุดทำงานโดยไม่ได้วางแผนจากการหยุดห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ ซึ่งส่งผลให้โรงงานมีความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้นจาก 98% เป็น 100% และช่วยประหยัดต้นทุนได้ดีมาก

เปลี่ยนวิธีการบริหารประสิทธิภาพสินทรัพย์ให้ดียิ่งขึ้น

การบริหารจัดการสินทรัพย์  4.0 จะช่วยเพิ่มโอกาสในการพัฒนาวิธีการบริหารประสิทธิภาพสินทรัพย์ให้ดียิ่งขึ้นดังตัวอย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้ว แต่ในขณะที่บางบริษัทได้บรรลุแนวทางการบริหารจัดการสินทรัพย์  4.0 ไปแล้วหรือบางแห่งใกล้จะถึงเป้าหมายแล้ว แต่บริษัทอื่น ๆ อาจยังไม่แน่ใจว่าควรจะเริ่มต้นการเปลี่ยนโฉมอย่างไรดี

ผู้ให้บริการเทคโนโลยีพร้อมที่จะช่วยคุณให้พัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการสินทรัพย์  และอยากชี้ให้ทุกคนเห็นว่า การบริหารจัดการสินทรัพย์  4.0 สามารถสร้างผลประโยชน์ให้แก่ธุรกิจของคุณได้ เทคโนโลยีนี้กำลังพลิกโฉมการบริหารจัดการสินทรัพย์ และก็สามารถเปลี่ยนโฉมธุรกิจของคุณได้เช่นกัน เขียนโดย Kim Custeau รองประธานอาวุโส การบริหารจัดการสินทรัพย์และ MES AVEVA

บทความโดย: Kim Custeau รองประธานอาวุโส การบริหารจัดการสินทรัพย์และ MES AVEVA

About Maylada

Check Also

True IDC แนะนำ! เพิ่ม Productivity ให้สูงปรี๊ด ด้วย Gemini for Google Cloud

ทุกวันนี้ แทบทุกองค์กรต่างเร่งหา Generative AI หรือ AI มาเพิ่ม Productivity ให้ธุรกิจในหลากหลายรูปแบบ เช่น การให้บริการลูกค้า (Customer Service), การพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software …

OpenAI ปล่อย Sora Turbo เครื่องมือ AI สร้างวิดีโอสมจริงยิ่งยวดสู่สาธารณะแล้ว

OpenAI ปล่อย Sora ซอฟต์แวร์สร้างวิดีโอแบบสมจริงยิ่งยวด (hyperrealistic) ด้วย AI ให้ใช้งานสาธารณะแล้ว หลังจากการรั่วไหลสู่ชุมชนแชร์โค้ด AI บน Hugging Face โดยผู้ทดสอบรุ่นเบตาประมาณสองสัปดาห์ก่อน โดย …