CDIC 2023

[PR] ฟูจิตสึเผยวิสัยทัศน์นำนวัตกรรมเทคโนโลยีพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตร เพื่อการปลูกข้าวที่มีประสิทธิภาพและให้ผลผลิตที่ยั่งยืน

กรุงเทพฯ, 18 กุมภาพันธ์ 2559 – บริษัท อาซาฮี ชูโซะ ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตสาเกชื่อดังของญี่ปุ่น ต้องการที่จะรับประกันปริมาณจัดซื้อข้าวสาเกในอัตราที่สม่ำเสมอ เพื่อใช้ในการผลิตเหล้าสาเกยี่ห้อดัสไซ ( Dassai ) บริษัทฯ จึงได้ปรับใช้ Akisai ( อะกิไซ ) ซึ่งเป็นบริการคลาวด์ของฟูจิตสึสำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรกรรม โดยบริษัทมุ่งหวังที่จะเพิ่มการผลิตข้าวยามาดะ นิชิกิ ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวที่ปลูกได้ยาก และได้จับมือกับเกษตรกรและบริษัทเกษตรกรรมหลากหลาย ผ่านแพลตฟอร์มระบบคลาวด์ในการแชร์ข้อมูล ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการปลูกข้าว ตอนนี้อาซาฮี ชูโซะพร้อมแล้วที่จะผลักดันยี่ห้อดัสไซออกไปสู่ตลาดโลก

เราหวังที่จะเพิ่มผลิตผลการปลูกข้าว ผ่านทางวิธีการจัดการตัวเลข โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูล อย่างที่เราทำในการกลั่นเหล้าสาเก ด้วยวิธีการนี้เราสามารถเปิดโอกาสให้คนทั่วโลกได้ลิ้มรสเหล้าดัสไซของเรามากขึ้น “Hiroshi Sakurai, President บริษัท อาซาฮี ชูโซะ จำกัด กล่าวถึงข้อมูลทำไร่เพื่อการปลูกข้าวที่มีประสิทธิภาพและให้ผลผลิตข้าวที่ยั่งยืนขึ้นบริษัท อาซาฮี ชูโซะ ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตสาเกชื่อดังของญี่ปุ่น ต้องการที่จะรับประกันปริมาณจัดซื้อข้าวสาเกในอัตราที่สม่ำเสมอ เพื่อใช้ในการผลิตเหล้าสาเกยี่ห้อดัสไซ ( Dassai ) บริษัทฯ จึงได้ปรับใช้ Akisai ( อะกิไซ)  ซึ่งเป็นบริการคลาวด์ของฟูจิตสึสำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรกรรม โดยบริษัทมุ่งหวังที่จะเพิ่มการผลิตข้าวยามาดะ นิชิกิ ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวที่ปลูกได้ยาก และได้จับมือกับเกษตรกรและบริษัทเกษตรกรรมหลากหลาย ผ่านแพลตฟอร์มระบบคลาวด์ในการแชร์ข้อมูล ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการปลูกข้าว ตอนนี้อาซาฮี ชูโซะพร้อมแล้วที่จะผลักดันยี่ห้อดัสไซออกไปสู่ตลาดโลกนวัตกรรมเพื่อมนุษยชาติ

fujitsu-sake-industry

เปิดโอกาสให้คนทั่วโลกได้ลิ้มรสสาเกยี่ห้อดัสไซ บริษัทอาซาฮี ชูโซะ จำกัด เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสาเกยี่ห้อดัสไซ ( Dassai ) ซึ่งเป็นสาเกบริสุทธิ์ที่มีรสชาติหวานนุ่มลิ้นอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว และได้รับความนิยมจากคนญี่ปุ่นเองและชาวต่างชาติทั้งในสหรัฐอเมริกา เยอรมันฝรั่งเศส โมนาโก อียิปต์ และฮ่องกง ทำให้สาเกยี่ห้อดัสไซมีความต้องการในตลาดสูงมากและอาซาฮี ชูโซะ ก็เผชิญกับความท้าทายที่จะต้องตอบสนองความต้องการนี้ให้ทันเช่นกันความท้าทายในการตอบสนองกับความต้องการสูงสาเกยี่ห้อดัสไซเป็นสาเกที่มีคุณภาพสูงและมีความแตกต่างจากสาเกยยี่ห้ออื่น ตรงที่เป็นเหล้าสาเกที่บริสุทธิ์ ปราศจาก สารเจือปน ดัสไซกลั่นมาจากข้าวพันธุ์ยามาดะนิชิกิ ซึ่งมีการนวดและขัดเนื้อข้าวเกินกว่าร้อยละ 50 เหลือไว้แต่เพียงแกนข้าวตรงกลางที่ให้รสชาติที่ละมุนลิ้น คุณสมบัตินี้เองที่ทำให้ดัสไซเป็นสาเกบริสุทธิ์สีขาวใส มาพร้อมกับกลิ่นหอมรัญจวน ส่งผลให้การผลิตดัสไซต้องใช้ จำนวนข้าวต่อขวดมากกว่าสาเกทั่วไปข้าวพันธุ์ยามาดะ นิชิกินั้นขึ้นชื่อในเรื่องการปลูกยาก เพราะเป็นข้าวที่มีความบอบบาง และต้องมีการควบคุมปริมาณปุ๋ยและน้ำอย่างถี่ถ้วน นอกจากนี้ การปลูกข้าวพันธุ์นี้ไม่ใช่ทักษะที่เรียนรู้กันได้ง่าย ๆ

สำหรับเกษตรกรที่ไม่มีประสบการณ์ โดยองค์ความรู้ด้านการปลูกข้าวส่วนใหญ่จะตกทอดกันจากรุ่นสู่รุ่นและแย่ยิ่งไปกว่านั้น มีเกษตรกรหลายรายที่ถอดใจเลิกอาชีพนี้ไปแล้ว ด้วยจำนวนเกษตรกรที่ลดลงนี้ ทำให้ทักษะและประสบการณ์ในการปลูกข้าวยามาดะ นิชิกิ จึงเริ่มสูญหายไปตามกาลเวลาในปัจจุบันความนิยมบริโภคสาเกมีเพิ่มสูงขึ้น และความกดดันในเรื่องอุปทานจึงเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย บริษัทอาซาฮี ชูโซะดำเนินมาตรการหลายประการเท่าที่จะทำได้เพื่อขจัดปัญหานี้ถึงแม้ปกติแล้ว สาเกจะมีการเตรียมการผลิตในช่วงฤดูหนาวและใช้เวลาตลอดฤดูใบไม้ผลิในการกลั่น แต่ทางอาซาฮี ชูโซะก็ใช้กระบวนการกลั่นที่กินเวลาตลอดทั้งปี เพื่อรองรับกับความต้องการจำนวนมาก นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้มีการใช้การวัดที่มีความละเอียดรอบคอบ พร้อมกับการวิเคราะห์ข้อมูลเข้ามาร่วมในกระบวนการผลิตอีกด้วยในปี 2013 บริษัทอาซาฮี ชูโซะ ก็ยังต้องการข้าว ยามาดะนิชิกิจำนวนถึง 4,800 ตัน เพื่อรองรับความต้องการ แต่บริษัทฯก็ไม่สามารถจัดหามาได้เพียงพอ โดยหาได้เพียงแค่ครึ่งเดียวของจำนวนนั้น อาซาฮี ชูโซะ จะเปลี่ยนมาขึ้นราคาสาเกแทนก็ได้ แต่บริษัทต้องการให้สาเกเข้าถึงกลุ่มตลาดในวงกว้างขึ้นดังนั้นการหาหนทางจัดหาข้าวยามาดะ นิชิกิให้ได้ปริมาณสูงขึ้น

จึงกลายเป็นงานสำคัญของบริษัทการใช้ข้อมูลการเพาะปลูกในการผลิตสาเกโซลูชั่นที่อาซาฮี ชูโซะ พบว่าสามารถตอบสนองความท้าทายได้มากที่สุดคือ โซลูชั่น Akisai ของฟูจิตสึ ซึ่งเป็นบริการคลาวด์เพื่อุตสาหกรรมอาหารและเกษตรกรรม โดยนำข้อมูลและการวิเคราะห์เพื่อมาบริหารจัดการการเพาะปลูก เนื่องจากอาซาฮี ชูโซะได้นำวิธีการทางด้านข้อมูลมาใช้บ้างแล้วนั้น Akisai จึงมีความเหมาะสมเป็นอย่างมากขั้นตอนแรกนั้นเริ่มต้นในเดือนเมษายน 2014 โดยมีการใช้ Akisai ในที่นาปลูกข้าว 2 แห่ง พร้อมกับการติดตั้งเซ็นเซอร์ที่นาข้าว เพื่อวัดอุณหภูมิและความชื้นในอากาศ อุณหภูมิ,ความชื้นในดิน และความอุดมสมบูรณ์ของดิน มีการเก็บข้อมูลเหล่านี้ทุกชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีการติดตั้งกล้องเพื่อคอยสังเกตการณ์ จับภาพท้องนาในแนวพาโนรามาในแต่ละวันเพื่อแสดงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ในส่วนการสรุปข้อมูลของ Akisai จะแสดงข้อมูลให้เกษตรกรเห็นว่ามีการฉีดปุ๋ยในปริมาณเท่าใดและในช่วงเวลาไหนบ้าง โดยข้อมูลเหล่านี้พร้อมให้ใช้งานทันที

fujitsu-agriculture

เครือข่ายการทำงานเพื่อขยายผลิตผลข้าวยามาดะ นิชิกิ เกษตรกรสามารถใช้ข้อมูลที่ว่านี้ในการประเมินว่าช่วงเวลาไหนคือช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการให้ปุ๋ยและเก็บเกี่ยวผลิตผลและตอนนี้แม้แต่เกษตรกรที่ไม่มีประสบการณ์ในการปลูกข้าวยามาดะ นิชิกิก็สามารถใช้ Akisai เพื่อช่วยในการปลูกข้าวชนิดนี้ให้ได้ในจำนวนที่เพียงพออาซาฮี ชูโซะเริ่มเปิดโปรแกรมการสอนการปลูกข้าวยามาดะนิชิกิ ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มเพื่อการแบ่งปันข้อมูลและพัฒนาองค์ความรู้ในอุตสาหกรรมนี้ ทางบริษัทฯ หวังที่จะขยายระบบนิเวศนี้ และดึงดูดให้มีเกษตรกรหันมาปลูกข้าวพันธุ์นี้มากขึ้นโดยใช้ข้อมูลที่บริษัท ได้ผ่านโซลูชั่น Akisai ซึ่งส่งผลให้มีผลิตผลข้าวยามาดะ นิชิกิเพิ่มสูงขึ้น ในปัจจุบันมีองค์กรเกษตรกรรม 4 รายที่ต้องการเข้าร่วมโครงการนี้ และจะเริ่มต้นการทำงานตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิ ในปี 2015นอกจากนี้ ยังมีผู้สนับสนุนอาซาฮี ชูโซะอีกหลายราย ซึ่งหวังที่จะปรับใช้งานระบบไอซีทีในอุตสาหกรรมการเกษตรของตนเองตัวอย่างเช่น บริษัทผู้ผลิตปุ๋ยคาดหวังว่า ข้อมูลใน Akisai จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาปุ๋ยสำหรับข้าวยามาดะ นิชิกิ นอกจากนี้โซลูชั่นยังเปิดโอกาสให้มีการกระตุ้นเศรษฐกิจและเกษตรกรรมท้องถิ่น ในพื้นที่แถบภูเขาที่ในชนบทของประเทศให้กลับมาคึกคักอีกครั้งหนึ่ง และประโยชน์ที่เราได้เห็นจากแอพพลิเคชั่นไอซีทีนี้ก็จะส่งผลให้ระบบนิเวศด้านอุตสาหกรรมการเกษตรที่สร้างบนแพลตฟอร์ม Akisai มีการขยายตัวอย่างแน่นอนในอนาคต Asahi Shuzo


About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

สัมภาษณ์พิเศษ การเผยแพร่งานวิจัย หัวข้อ “การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความเป็นผู้ประกอบการภายใน (Intrapreneurship) ของธุรกิจเทคโนโลยีบ่งชี้อัตโนมัติ เพื่อรองรับความพลิกผันของเทคโนโลยี ในประเทศไทย”

รายงานวิจัยโดย ว่าที่ร้อยตรี ดร.คมกริช ไพฑูรย์ และ อาจารย์ ดร.กานต์จิรา ลิมศิริธง (2565) “การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความเป็นผู้ประกอบการภายใน (Intrapreneurship) ของธุรกิจเทคโนโลยีบ่งชี้อัตโนมัติ เพื่อรองรับความพลิกผันของเทคโนโลยี ในประเทศไทย” อ้างอิงจากการตีพิมพ์ครั้งที่ …

[โปรพิเศษรอบ Early Bird] คอร์สเรียน ‘Incident Response’ จาก Sosecure เรียนออนไลน์ เน้นลงมือจริง 3 วันเต็ม

Incident Response เป็นหนึ่งในหัวข้อหลักของแผนการที่ทุกองค์กรควรมือ คำถามคือทุกวันนี้องค์กรหรือบริษัทที่ท่านมีส่วนรวมมีแผนรับมือเหล่านี้ได้ดีเพียงใด ครอบคลุมความเสี่ยงและเคยผ่านสถานการณ์จริงมาได้ดีแค่ไหน ซึ่งหากปฏิบัติตามแผนได้ดีก็อาจจะช่วยลดผลกระทบของความเสียหายได้อย่างมีนัยสำคัญ ด้วยเหตุนี้เองจึงอยากขอเชิญชวนผู้สนใจทุกท่านมาเพิ่มพูนความรู้ในคอร์สสุดพิเศษจาก Sosecure โดยเนื้อหาจะกล่าวถึง Framework, Incident Response และ Incident Handling …