Microsoft Azure by Ingram Micro (Thailand)

Food Passion กับการทำ Digital Transformation ด้วยนวัตกรรม, วัฒนธรรม และเทคโนโลยี

หากจะพูดถึงเรื่องราวของการทำ Digital Transformation แล้ว เส้นทางของ Food Passion ธุรกิจเจ้าของแบรนด์ร้านอาหารชื่อดังอย่างบาร์บีคิวพลาซ่าและจุ่มแซ่บฮัทในการก้าวสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรมนั้นก็ถือเป็นอีกเรื่องราวที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะนอกจากเรื่องของการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาแล้ว อีกส่วนหนึ่งที่คุณเรืองชาย สุพรรณพงศ์ Chief Disruption Officer แห่ง Food Passion ให้ความสำคัญไม่แพ้กันนั้นก็คือเรื่องของวัฒนธรรมและพนักงาน ที่เข้ามามีส่วนช่วยให้การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของ Food Passion นี้ประสบความสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี

ก่อนก้าวสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรม ต้องปรับวัฒนธรรมให้เสร็จเสียก่อน

คุณเรืองชายได้เริ่มต้นการให้สัมภาษณ์กับทีมงาน TechTalkThai ในครั้งนี้ ด้วยการเริ่มต้นเล่าถึงมุมมองของ Food Passion ที่มีต่อคำว่านวัตกรรมเป็นอันดับแรก เนื่องจาก Food Passion นั้นมองว่าการปรับตัวครั้งนี้ถือเป็นก้าวที่สำคัญมากต่อธุรกิจ การกำหนดทิศทางให้ชัดเจนว่าคำว่านวัตกรรมนั้นหมายถึงอะไรเพื่อให้ทุกคนเข้าใจตรงกันและมีเป้าหมายเดียวกันได้นั้นจึงถือเป็นสิ่งที่สำคัญ

“นวัตกรรมไม่ใช่เทคโนโลยี” คือประโยคที่ถือเป็นหัวใจสำคัญของการพูดคุยในครั้งนี้ และจะเป็นประโยคที่ทำให้เราเข้าใจมุมมองของ Food Passion ได้มากขึ้น โดยคุณเรืองชายได้เล่าถึงนวัตกรรมในมุมของ Food Passion ว่าจริงๆ แล้วนวัตกรรมนั้นคือเรื่องของ “ความเข้าใจ” และ “การตอบสนองต่อความต้องการ” ของลูกค้าและพนักงานให้ได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากขึ้นเสียมากกว่า ซึ่งการที่จะตอบโจทย์ทั้งสองประเด็นนี้ให้ได้ ก็คือการที่ Food Passion ต้องมีองค์ความรู้ใหม่ๆ และวิธีการทำงานแบบใหม่ๆ ที่สองสิ่งนี้เองถือเป็นนวัตกรรม ไม่ใช่เรื่องของเทคโนโลยีแต่อย่างใด

สำหรับตัวอย่างของสิ่งที่ Food Passion ให้ความสำคัญในฐานะของนวัตกรรม ก็เช่น การที่ Food Passion สามารถเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าที่มาใช้บริการทุกๆ วันได้มากขึ้น และนำเสนอสินค้าหรือบริการที่ตรงใจมากขึ้นกลับไปได้ หรือการที่ Food Passion ได้รับรู้ความต้องการหรือปัญหาที่เกิดขึ้นกับพนักงานในแต่ละสาขามากขึ้น และสามารถคิดค้นกระบวนการทำงานใหม่ที่ทำให้ชีวิตการทำงานของพนักงานดีขึ้นได้ เป็นต้น

แน่นอนว่าการที่ Food Passion จะสามารถเข้าใจความต้องการในมิติใหม่ๆ ของลูกค้าหรือพนักงานได้มากขึ้นนี้ หัวใจสำคัญก็คือ Mind Set ของทีมงาน Food Passion ในทุกๆ ตำแหน่ง ทั้งพนักงานหน้าร้านในสาขาต่างๆ ไปจนถึงทีมงานเบื้องหลังที่คอยสนับสนุนการทำงาน ทั้งหมดนี้ทำให้คุณเรืองชายได้ผลักดันการนำศาสตร์ด้าน Design Thinking เข้ามาอบรบพนักงานทุกคน และนำวัฒนธรรมของ Startup ในการกล้าคิด, กล้าทำ, กล้าล้มเหลว เข้ามาให้พนักงานให้สร้างทีมเพื่อค้นหาและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมาโดยตรงในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ เกิดเป็นการทำ Prototype จำนวนมากภายในบริษัทภายใต้การผลักดันในลักษณะ Corporate Incubator ขึ้นมา

ทุกวันนี้การเปลี่ยนแปลงหลายอย่างที่เกิดขึ้นใน Food Passion นี้ก็เป็นผลผลิตจากพนักงานและวัฒนธรรมดังกล่าว บางส่วนนั้นไม่ได้มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง และบางส่วนนั้นก็มีการพัฒนาเทคโนโลยีควบคู่กันขึ้นมา แต่นวัตกรรมใหม่ๆ ในนิยามของ Food Passion เองก็ยังคงถูกสร้างขึ้นมาต่อเนื่องในทุกๆ วันนี้ และถูกนำไปใช้งานในร้านบาร์บีคิวพลาซ่า, จุ่มแซบฮัท, Red Sun, Charna, Space Q ทั้งหมดรวมกันกว่าเกือบ 200 สาขาทั่วประเทศไทย

ผู้ที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Food Passion สามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ที่ http://www.foodpassion.co.th/

เข้าใจลูกค้าด้วยข้อมูล อำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าและพนักงานด้วยเทคโนโลยี

Mind Set หนึ่งที่ถูกปลูกฝังให้แก่พนักงานของ Food Passion ไปพร้อมๆ กับการเสริมมุมมองด้าน Design Thinking ให้กับพนักงานนั้น ก็คือการเป็น Data-Driven Business ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล และการที่พนักงานไม่เกรงกลัวที่จะนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงการทำงานตามสมควร

คุณเรืองชายได้เล่าถึงธุรกิจด้านอาหารและเครื่องดื่มในไทย ที่ทุกวันนี้มีการแข่งขันกันรุนแรงค่อนข้างมาก และการมาของธุรกิจร้านค้าออนไลน์และบริการขนส่งที่ได้ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และนี่เองที่ทำให้ Food Passion ต้องหันมาทบทวนกันยกใหญ่ว่าจริงๆ แล้วสิ่งที่ลูกค้าของ Food Passion ต้องการนั้นคืออะไรกันแน่

ในการทำความเข้าใจพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้าให้ได้อย่างแม่นยำนั้น คุณเรืองชายระบุว่า “ข้อมูล” ได้กลายเป็นหัวใจสำคัญที่มีบทบาทเป็นอย่างมากต่อการตัดสินใจและวางแผนของ Food Passion อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน และไม่ใช่มีเพียงแต่ผู้บริหาร, ผู้จัดการ หรือฝ่ายกลยุทธ์เท่านั้นที่จะให้ความสำคัญกับข้อมูล แต่พนักงานทุกคนล้วนต้องให้ความสำคัญกับข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของตนเองทั้งสิ้น

ลูกค้าของ Food Passion ทั่วไทยนั้นมีจำนวนหลายล้านคน สิ่งที่ Food Passion ทำนั้นคือการปรับตนเองจากธุรกิจ Offline ไปสู่การเป็น Omnichannel เพื่อให้มีช่องทางในการเข้าถึงและสื่อสารกับลูกค้าของตนเองมากที่สุด อีกทั้งยังสร้างโอกาสในการเก็บข้อมูลความต้องการของลูกค้าไปด้วยในตัว ระบบหนึ่งที่ได้กลายเป็นหัวใจสำคัญของ Food Passion ในทุกวันนี้ก็คือระบบ Membership ที่ทำให้สามารถรู้ถึงพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้าเป็นรายบุคคลได้ และทำให้ Food Passion สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ต่อยอดได้เป็นอย่างดี ทั้งการทำการวิเคราะห์ข้อมูล, การทำ Marketing Automation ที่ช่วยให้การทำการตลาดนั้นมีความคล่องตัวสูงขึ้นเป็นอย่างมาก ไปจนถึงระดับของการให้ AI ช่วยให้คำแนะนำถึงแคมเปญใหม่ๆ ที่น่าสนใจในอนาคต และมี LINE เป็นช่องทางสำคัญในการสื่อสารและให้บริการลูกค้าผ่านโลกออนไลน์ ในฐานะของระบบ Chat ที่มีผู้ใช้งานจำนวนมหาศาลในเมืองไทย

ในขณะเดียวกัน การอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าและพนักงานด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาตอบโจทย์นั้นก็สำคัญไม่แพ้กัน ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ Food Passion จึงได้ทำการ Integrate ระบบยกใหญ่ ผสานการนำเทคโนโลยีด้าน Cashless และ E-Payment เข้ามาใช้หน้าร้าน ทำให้การจ่ายเงินนั้นกลายเป็นเรื่องที่ง่ายดายทั้งสำหรับลูกค้าชาวไทยและต่างชาติในระบบเดียวกัน

ที่ผ่านมาในแต่ละปี Food Passion ได้มีการคิดค้นโปรโมชั่นและแคมเปญใหม่ๆ นับหลายร้อยรายการต่อปี เรียกได้ว่าการวางแผนแคมเปญใหม่ๆ นั้นเกิดขึ้นอยู่ตลอดทุกวัน ทั้งแคมเปญที่เป็นการทดลองตลาดไปจนถึงแคมเปญที่มั่นใจแล้วว่าลูกค้าจะตอบรับเป็นอย่างดี ทั้งหมดนี้เป็นผลมาจากการที่ Food Passion นั้นเข้าใจลูกค้ามากขึ้นจากข้อมูลที่มีอยู่ และสามารถสร้างแคมเปญอ้างอิงจากความเข้าใจนั้นๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่แตกต่างกันของลูกค้าแต่ละรายได้แม่นยำยิ่งขึ้นนั่นเอง

อย่างไรก็ดี การนำข้อมูลมาใช้สร้างคุณค่าในธุรกิจนี้ไม่จำเป็นจะต้องเป็นข้อมูลปริมาณมหาศาลที่ต้องมีการผสานเทคโนโลยีล้ำสมัยเข้าไปทำการวิเคราะห์เสมอไป คุณเรืองชายได้ยกตัวอย่างความสำเร็จของนวัตกรรมหนึ่งสำหรับการแก้ไขปัญหาเรื่อง Turnover Rate ของพนักงานที่สูง ด้วยการให้ทีมงานนั้นลงไปสัมภาษณ์พนักงานหน้าร้านและพนักงานที่เพิ่งเข้าใหม่ จนทราบว่าพนักงานใหม่หลายคนนั้นตัดสินใจที่จะไม่ทำงานต่อหลังจากฝึกอบรมเสร็จเรียบร้อยแล้วนั้นเพราะไม่มั่นใจว่าตนเองมีความรู้เพียงพอที่จะทำงานได้อย่างถูกต้อง จน Food Passion ได้ทำการออกแบบขั้นตอนการฝึกอบรมพนักงานใหม่มาแก้ไขปัญหานี้โดยเฉพาะ และลดปริมาณ Turnover Rate ของพนักงานจนมีอัตราส่วนของพนักงานใหม่ที่ลาออกลดน้อยลงมาก

ดูแลพนักงานทุกระดับให้ดีที่สุด เพราะไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนไปอย่างไร ธุรกิจก็ยังต้องขับเคลื่อนด้วยคน

คุณเรืองชายได้เผยถึงความสำเร็จของ Food Passsion ในครั้งนี้ว่าไม่ได้เกิดจากเพียงแค่การที่ Food Passion มีทิศทางที่ชัดเจนเกี่ยวกับนวัตกรรมเท่านั้น แต่นวัตกรรมเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยพนักงานทุกคน ดังนั้น Food Passion จึงไม่ได้มองเพียงแค่การเสริมศักยภาพให้กับพนักงานด้วยการอบรมความรู้ใหม่ๆ และให้โอกาสภายในโครงการ Corporate Incubator เท่านั้น แต่ Food Passion ยังให้ความสำคัญกับความสุขของพนักงานด้วย เพราะถ้าหากพนักงานมีความสุขในการทำงานและรักในองค์กรแล้ว ผลงานที่เกิดขึ้นนั้นก็ย่อมดี ในขณะที่พนักงานคนนั้นๆ ก็จะอยู่ทำงานด้วยกันยาวนานยิ่งขึ้น สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้กับองค์กรมากขึ้นตามไปด้วย

เช่นเดียวกันกับการทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้า คุณเรืองชายเล่าว่าทีมงานของ Food Passion ได้มีแนวทางในการทำความเข้าใจความต้องการของพนักงานอย่างเข้มข้น พร้อมยกตัวอย่างในการพยายามทำความเข้าใจถึงพฤติกรรมของพนักงานรุ่นหลังๆ ที่เป็นคนยุคใหม่ซึ่งต้องการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่องในชีวิตประจำวัน และเกิดเป็นสวัสดิการของ Food Passion ที่เปิดให้พนักงานหน้าร้านในสาขาต่างๆ สามารถใช้งาน Internet ของร้านได้ฟรีในช่วงเวลาพักผ่าน Wi-Fi ทำให้พนักงานรู้สึกได้พักผ่อนอย่างเต็มที่, มีความสุขกับการทำงาน และประหยัดค่าใช้จ่ายด้าน Internet บนโทรศัพท์ลงไปได้มากทีเดียว เป็นต้น

มั่นใจ AIS Business และ CSL ใช้ VMware Cloud สนับสนุนเทคโนโลยีใหม่ พร้อมเสริมแกร่งด้วยบริการด้าน ICT สำหรับธุรกิจ

ถึงแม้ว่านิยามคำว่านวัตกรรมของ Food Passion นั้นจะไม่ได้มีเทคโนโลยีเป็นตัวนำ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีเองก็ยังมีส่วนสำคัญต่อธุรกิจของ Food Passion อยู่ ดังนั้น Food Passion จึงเลือกใช้บริการทางด้านระบบ ICT จาก AIS Business และ CSL เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของระบบ IT ที่มีความเสถียร, มั่นคงทนทาน และมีทีมงานให้บริการอยู่ทั่วประเทศไทย

สำหรับระบบ Server เพื่อรองรับนวัตกรรมใหม่ๆ ทางด้าน Marketing นั้น Food Passion ได้เลือกใช้บริการ VMware Cloud จาก AIS Business และ CSL เพื่อให้มั่นใจว่าระบบสำคัญอย่าง Membership ที่ต้องมีการจัดเก็บข้อมูลของลูกค้าปริมาณมหาศาลนั้นจะสามารถเข้าถึงและเชื่อมต่อได้จากทุกสาขาอยู่ตลอดเวลา สร้างประสบการณ์ที่ดีในการใช้บริการร้านอาหารในเครือของ Food Passion ได้อยู่ตลอด

นอกจากนี้ด้วยความที่ AIS Business และ CSL นั้นเป็นผู้ให้บริการด้านระบบ ICT แบบครบวงจร อีกหนึ่งบริการสำคัญที่ Food Passion ได้ใช้งานนั้นก็คือระบบ Internet สำหรับธุรกิจที่ช่วยให้มั่นใจได้ว่าทุกๆ สาขาจะสามารถเชื่อมต่อไปยังระบบงานต่างๆ บน Cloud ได้อย่างรวดเร็ว และให้บริการ Wi-Fi เป็นสวัสดิการแก่พนักงานได้ด้วยความเร็วสูง และแยกเครือข่ายออกจากระบบภายในของร้านแต่ละสาขาเพื่อความมั่นคงปลอดภัยได้

คุณเรืองชายได้กล่าวสรุปถึงการให้สัมภาษณ์ครั้งนี้ ว่าการทำ Digital Transformation นี้ถือเป็นก้าวที่สำคัญมากของ Food Passion ดังนั้นการเลือก Technology Partner ที่เหมาะสมนั้นก็ถือเป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อให้ธุรกิจสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ และก้าวหน้าต่อไปได้อย่างไม่หยุดยั้ง โดยไม่ต้องกังวลถึงประเด็นข้อจำกัดทางด้านเทคโนโลยีหรือความเปลี่ยนแปลงในวงการ IT ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบันและอนาคตอีกต่อไป

สนใจบริการ Cloud และ ICT Service ครบวงจร ติดต่อ CSL ได้ทันที

สำหรับผู้ที่สนใจบริการ Cloud และ ICT Service ครบวงจร ติดต่อ CSL ได้ทันทีโทร 0-2263-8185 หรืออีเมล์ presales@csl.co.th

เกี่ยวกับ VMware Cloud Provider Program (VCPP)

โครงการ VCPP นี้คือโครงการที่ได้ผสานรวมเอาบริการ VMware Software-as-a-Service เข้ากับเหล่าผู้ให้ริการ VMware Service Provider Partners ทั่วโลก เพื่อให้ธุรกิจองค์กรต่างๆ สามารถใช้งานบริการ Cloud ที่มีเทคโนโลยีของ VMware เป็นเบื้องหลังได้ผ่านทางผู้ให้บริการที่มีมาตรฐาน

ปัจจุบันในประเทศไทยมีผู้ให้บริการด้าน IT ที่ได้เข้าร่วมโครงการ VCPP มากกว่า 20 รายแล้ว ดังนั้นธุรกิจไทยจึงสามารถเลือกใช้งานบริการ Cloud ภายในประเทศที่ให้บริการเทคโนโลยีของ VMware และเชื่อมต่อระบบ Data Center ภายในธุรกิจองค์กรเข้ากับบริการ Cloud เหล่านี้สู่ภาพของ Hybrid Cloud หรือทำ Disaster Recovery ได้ทันที โดยมีทีมงานคนไทยคอยให้บริการแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างใกล้ชิด

ผู้ที่สนใจใช้บริการ VMware ในรูปแบบของการคิดค่าใช้จ่ายตามจริง สามารถติดต่อทีมงานของ VMware ประจำประเทศไทยได้ที่คุณปลา 081-913-3347 หรืออีเมล์ kemwat@vmware.com หรือสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ VCPP ได้ที่ https://www.vmware.com/partners/service-provider.html และสามารถตรวจสอบสถานะของบริษัทต่างๆ ที่เป็น VCPP ได้ที่ https://cloud.vmware.com/providers/

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

เอชพี เปิดตัวพอร์ตโฟลิโอที่หลากหลายที่สุดในกลุ่มผลิตภัณฑ์ AI PCs [PR]

เอชพี เปิดตัวพอร์ตโฟลิโอที่หลากหลายที่สุดในกลุ่มผลิตภัณฑ์ AI PCs ขับเคลื่อน ด้วยขุมพลัง AI ยกระดับประสิทธิภาพการทำงาน การสร้างสรรค์ และประสบการณ์ของผู้ใช้ในสภาพแวดล้อม การทำงานแบบไฮบริด

Microsoft ยกเลิกการใช้ 1024-bit RSA Key บน Windows แล้ว

Microsoft ประกาศยกเลิกการใช้กุญแจเข้ารหัส 1024-bit RSA Key บน Windows แล้ว เปลี่ยนไปใช้กุญแจเข้ารหัสความยาว 2048-bit เป็นอย่างน้อย