Microsoft Azure by Ingram Micro (Thailand)

[Guest Post] The Future of Shopping Valentine’s Day with Retail and E-Commerce

The Future of Shopping Valentine’s Day with Retail and E-Commerce” วันสำคัญอย่างวาเลนไทน์ที่ผ่านมาหลายคนมองหา “Perfect Gift” สำหรับเพื่อนสนิท ครอบครัวหรือคนรัก แต่จะเลือกของขวัญอย่างไรให้ถูกใจทั้งคนให้และคนรับ เหล่ากลุ่มผู้ค้าปลีกจะเข้ามาช่วยลูกค้าหาของขวัญถูกใจนั้นได้อย่างไร ?

สำหรับผู้บริโภคปัจจุบัน กำลังมองหาผลิตภัณฑ์ที่พวกเขาชื่นชอบบนโลกโซเชียลมีเดียมากขึ้น มันง่ายสำหรับผู้ค้าปลีก ที่จะหาช่องทางนำเสนอสินค้าเพื่อดึงดูดกลุ่มผู้บริโภคเหล่านี้ ทั้งหน้าร้าน ร้านค้าออนไลน์หรือบนเว็บไซต์ สร้างประสบการณ์ใหม่ๆ เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค ผ่านแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ ทั้งบน Mobile Apps หรือ Web service การที่จะก้าวตามนวัตกรรมต้องอาศัยความรวดเร็วและความยืดหยุ่นของการพัฒนาระบบร่วมด้วย

ตัวอย่างวันวาเลนไทน์กับธุรกิจค้าปลีก (Retail)

ทั้งแบรนด์และผู้ค้าปลีกจะทำให้วันวาเลนไทน์เป็นของขวัญที่ล้ำค่า และสำหรับผู้ซื้อที่ต้องการส่งต่อความรักนั้นได้อย่างไร ?

ผู้ค้าปลีก ใช้กระบวนการ “Personal shopping assistants” นำข้อมูลฐานลูกค้ากับข้อมูลที่ได้จากการโต้ตอบกับลูกค้าที่ใช้งานผ่านแต่ละ service แต่ละแอพพลิเคชั่นที่ผ่านมามาใช้งาน นำมาเชื่อมต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน แล้วแสดงผลต่อแอพพลิเคชั่นใหม่ที่ถูกพัฒนามาเพื่อวันวาเลนไทน์โดยเฉพาะ เช่นด้านล่าง

  • การนำข้อมูลพื้นฐานมาใช้งานเพื่อเชื่อมโยงหาของขวัญที่อาจจะถูกใจ เช่น เพศ อายุ ความชอบ กิจกรรม อารมณ์ ความทรงจำ หรือประสบการณ์ล่าสุด นำมาประกอบกัน โดยเชื่อมโยงกันผ่านแอพพลิเคชั่นที่ถูกพัฒนามาเพื่อวันวาเลนไทน์โดยเฉพาะ ซึ่งความคาดหวังเพื่อให้ได้ตัวเลือกที่ถูกใจมากกว่า ดอกกุหลาบสีแดง เครื่องประดับ หรือ ช๊อคโกแลต
  • หลังจากได้ของขวัญถูกใจแล้ว ยังต้องดำเนินการ ในการทำธุรกรรมทางการเงิน Mobile Payment ต่อ ก่อนนั้นอาจจะนำมาเข้า promotion service เพื่อตัดราคาส่วนลด และส่งต่อไปยังช่องทางชำระเงิน ผ่านทาง service gateway ทำธุรกรรมต่อไปยังธนาคารและบัตรเครดิต เพื่อสั่งซื้อและชำระเงินในขั้นตอนสุดท้าย

พบว่า 85% ของลูกค้าในสหรัฐอเมริกายอมรับว่าของขวัญที่ถูกคัดเลือกมาโดยพิเศษ ที่เชื่อมโยงจากประสบการณ์จริง เป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมสำหรับทั้งผู้ให้และผู้รับที่จะเพลิดเพลินกับการเลือกบางสิ่งร่วมกัน หรืออาจจะใช้ AI-Chatbot ร่วมด้วย เพื่อโต้ตอบลูกค้าเบื้องต้น โดยเชื่อมโยงข้อมูลของผู้บริโภคส่งต่อไปยัง AI-Chatbot ให้สามารถโต้ตอบได้อย่างทันใจลูกค้า ให้ลูกค้าไม่รู้สึกโดดเดี่ยวในการเลือกสินค้า

ทางด้านผู้ค้าปลีก สามารถช่วยให้ผู้บริโภคสามารถมีความทรงจำดีดี เกี่ยวกับของขวัญที่ได้รับ ที่แสดงถึงตัวตนของคนคนนั้น ทำให้ของขวัญมีคุณค่าทางจิตใจมากขึ้น เป็นการเชื่อมโยงจิตใจของผู้บริโภคให้มีความรักในแบรนด์มากขึ้นเพราะความใส่ใจที่มีต่อผู้บริโภค สร้างความสะดวกสบาย กับกระบวนการ Gifting และมอบความอุ่นใจให้กับลูกค้า

ทั้งผู้ค้าปลีกยังสามารถประเมินการสต๊อคสินค้า พูดคุยติดต่อพาร์ทเนอร์แบรนด์ต่างๆ เพื่อร่วมรายการส่งเสริมการขายได้ล่วงหน้า ประเมินระยะเวลาการส่งสินค้าและการออกโปรโมชั่น ต่างๆให้แก่ลูกค้าได้รวดเร็ว ช่วยเพิ่มยอดขายให้ได้มากขึ้นด้วย

Business Challenge :

สิ่งสำคัญของการพัฒนาคือความคิดสร้างสรรค์ ไอเดีย ที่ต้องเกิดขึ้นตลอดเวลา เพราะการเปลี่ยนแปลงมักเกิดขึ้นตลอดเวลาเช่นกัน โครงสร้างแบบ Microservices จึงเข้ามาตอบโจทย์

“Microservices you can extend your existing commerce infrastructure quickly and easily to the next new experience.”

Retail marketing team ทีมงานที่ดูแลระบบทางด้านการตลาดมักจะมีไอเดียใหม่ๆ เกิดขึ้นเป็นประจำ อย่างเช่นวันวาเลนไทน์ที่ผ่านมา แต่การเปลี่ยนแปลงในทุกครั้ง มักจะเผชิญปัญหาทางด้านค่าใช้จ่ายและระยะเวลาทางด้านเทคนิคพัฒนาแอพลิเคชั่น ที่อาจจะต้องปรับเปลี่ยนอยู่ตลอด

“ไอเดียใหม่ๆ จะเกิดขึ้นจริง…ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป…”

คุณจะสามารถปรับปรุง ขยายโครงสร้างพื้นฐานด้าน Infrastructure รองรับระบบธุรกิจค้าปลีก Retail และระบบ eCommerce ให้รวดเร็วและง่ายดายต่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อมอบประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับลูกค้าของคุณได้ในทุกช่องทาง

กลุ่มผู้ค้าปลีกเข้าใจและเล็งเห็นความสำคัญของโครงสร้างแบบ Microservices ที่เข้ามาตอบโจทย์กับ Business function จึงเลือกโครงสร้างแบบ Microservices ให้เข้ามาตอบโจทย์และเข้ามาแก้ไขวงจรของปัญหาดังกล่าว ทั้งเพิ่มความยืดหยุ่นและรวดเร็วให้กับงาน DevOps ตอบสนองต่อนักไอเดียต่างๆ

ระบบแบบเดิมที่มีโครงสร้างแบบ Monolithic เป็นโครงสร้างที่ไม่มีความยืดหยุ่นมากนัก หากต้องการขยายระบบที่ต้องเชื่อมโยงในหลาย service เข้าด้วยกัน จะต้องลงทุนกับระบบ infrastructure ที่มากกว่า microservices

และในส่วนของ cost ที่ตามเพิ่มเข้ามา ทั้ง OS และค่า Software ต่อเนื่องต่างๆ ยังไม่รวมถึงค่าดูแลระบบในอนาคต ที่จะเกิดขึ้น ยิ่งเครื่องมากเท่าไหร่หรือระบบมากเท่าไหร่ hidden cost ในการดูแลยิ่งเพิ่มมากเท่านั้น

Microservices มักถูกจับคู่กับคำว่า “API : Application Program Interfaces” เป็นโปรโตคอลที่อนุญาตให้ Software Service หลายๆชิ้น สามารถเชื่อมต่อพูดคุยและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ หรือเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ใหม่ๆ (New devices) ที่เกิดขึ้นได้ เช่น Google Home Mini หรือ Amazon Alexa speaker และอื่นๆ

“API-First” และโครงสร้างแบบ Microservices จึงเข้ามาพลิกโครงสร้างสำหรับนักพัฒนา Development มุ่งเน้นไอเดียใหม่ๆ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ไม่ซ้ำใคร ให้เกิดขึ้นได้รวดเร็ว

IBM Infrastructure Technical Solution for Microservices System :

ประโยชน์ที่จะได้รับจากการเลือกใช้งานระบบโครงสร้างแบบ Microservices :

  • ระบบโครงสร้างแบบ Microservices ช่วยลดเวลา ลดความเสี่ยง ในการทำ patches, แก้ bug fixes และอัปเดท new features ต่างๆ และยัง support งาน Initial development ตอบโจทย์งานไอเดียใหม่ๆ ที่ต้องการ การพัฒนาอย่างรวดเร็ว อย่างเช่น การแก้ไขปรับปรุง พัฒนาและอัปเดท application 40 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อทดลองระบบและ test campaigns โดยไม่กระทบระบบอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง
  • เหมาะสำหรับผู้ค้าปลีก (retailer) และ business partners ที่มีทีมงาน DevOps หรือ Application team ที่พัฒนาระบบอยู่แล้วหรือเพิ่มเริ่มต้นสร้างทีมงานเพื่องาน Development ที่มีการใช้งานหลักๆ APIs, Mobile Application Service  หรือมีการใช้งาน API Gateway เพื่อเชื่อมต่อระบบอื่นๆ เช่น ระบบ Payment Gateway  เป็นต้น
  • โครงสร้างแบบ Microservices ให้ความยืดหยุ่นกับการเลือกใช้แพลตฟอร์มไม่ยึดติดกับ Hardware Vendor ใดใด แต่จะสื่อสารกันผ่าน Container Engine เป็นหลัก

“ไม่ว่าจะอยู่ในอุตสาหกรรมใด ก็หลีกเลี่ยงไม่พ้นการทำงานร่วมกับเทคโนโลยีใหม่ๆเพื่อช่วยขับเคลื่อนองค์กรและเพิ่มยอดขายทางการตลาด IBM Systems ยังคงมุ่งเน้นเรื่องเทคโนโลยีให้ตอบโจทย์กับลูกค้ามากที่สุด และมีทั้งทีมงานผู้เชี่ยวชาญทางด้านระบบไอทีพร้อมให้คำปรึกษา”

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท คอมพิวเตอร์ยูเนี่ยน จำกัด
โทร 02 311 6881# 7151 , 7156 หรือ email : cu_mkt@cu.co.th

หากสนใจเพิ่มเติมสามารถติดต่อทาง IBM Thailand มีทีมงาน ที่พร้อมให้คำปรึกษาสำหรับทุกท่านอย่างครบถ้วน Inbox เข้ามาได้ที่ Facebook IBM Thailand: https://www.facebook.com/IBMThailand/

เขียนโดย

สัญญา  พรขจรกิจกุล

HW Sales Specialist

Computer Union

ปรียานุช เปล่งวาจา

IBM IT/Specialist

IBM Thailand Co.,Ltd

About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

Microsoft ยกเลิกการใช้ 1024-bit RSA Key บน Windows แล้ว

Microsoft ประกาศยกเลิกการใช้กุญแจเข้ารหัส 1024-bit RSA Key บน Windows แล้ว เปลี่ยนไปใช้กุญแจเข้ารหัสความยาว 2048-bit เป็นอย่างน้อย

NVIDIA เปิดตัว Blackwell B200 GPU และ GB200 Superchip

NVIDIA ประกาศเปิดตัว Blackwell B200 GPU และ GB200 Superchip ชิปประมวลผล AI รุ่นใหม่