กลุ่มทนายความได้ทำการฟ้องร้องต่อ Facebook ฐานที่กองกำลังติดอาวุธปาเลสไตน์กลุ่ม Hamas ได้ใช้ Facebook เป็นช่องทางการติดต่อสื่อสารวางแผนการก่อการร้ายจนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บที่มูลค่า 1,000 ล้านเหรียญหรือราวๆ 35,000 ล้านบาท

ก่อนหน้านี้ Facebook ก็เคยมีการแบนเพจที่มีเนื้อหายั่วยุให้เกิดความรุนแรงในปาเลสไตน์มาก่อนแล้ว ในขณะที่ Gabriel Weimann ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเหตุการณ์ก่อการร้ายบนอินเทอร์เน็ตจาก Haifa University ก็ให้ความเห็นว่า Facebook ไม่ใช่ช่องทางเดียวที่เหล่าผู้ก่อการร้ายจะใช้ได้ และการฟ้องทุกช่องทางนั้นคงไม่ใช่ทางออกที่ดีนัก แต่การพัฒนาระบบเพื่อตรวจจับข้อความที่มีลักษณะยั่วยุหรือวางแผนก่อการร้ายให้ได้และระงับการสื่อสารให้ได้น่าจะเป็นทางออกที่ดีกว่า
ก็ถือเป็นอีกกรณีศึกษาที่น่าติดตามครับว่าจะลงเอยอย่างไร เมื่อการสื่อสารบนโลกออนไลน์ถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดแล้ว ตัวกลางในการให้บริการด้านการสื่อสารจะมีส่วนที่ต้องรับผิดชอบใดๆ ด้วยหรือไม่ ในขณะที่ข้อเสนอให้มีการตรวจสอบข้อความเพื่อค้นหาการก่อการร้ายนั้น จะละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานมากน้อยแค่ไหน มีหลายมิติให้ต้องติดตามจริงๆ ครับ