[PR] บก.ปอศ. เข้าจับกุมบริษัทที่ใช้ซอฟต์แวร์เถื่อนโดยค่าเสียหายรวมกว่า 500 ล้านบาท

วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2558 – ในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ( บก.ปอศ. ) เข้าตรวจค้นองค์กรธุรกิจทั้งหมด 214 แห่ง พบใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิและผิดกฏหมายมูลค่าความเสียหายเกือบ 500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 จากปี 2557 แสดงให้เห็นว่าองค์กรธุรกิจและผู้บริหารจำเป็นต้องเข้าใจกฎหมายลิขสิทธิ์ให้มากขึ้น รวมทั้งบทลงโทษทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องเมื่อมีการละเมิดลิขสิทธิ์ รวมถึงผลกระทบต่อธุรกิจ

ecdpolice-arrest-company-using-pirate-software

ในปีนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.ปอศ. ได้เพิ่มช่องทางสำหรับผู้ที่ต้องการแจ้งเบาะแสการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในองค์กรธุรกิจ รวมถึงสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ

พ.ต.อ. ดร. กิตติศักดิ์ ปลาทอง รองผู้บังคับการ บก.ปอศ. กล่าว “การใช้งานซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิและผิดกฎหมายคืออาชญากรรมดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ยอมให้เกิดขึ้นไม่ได้ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยได้รับความเสียหายจากการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์เช่นกัน เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงต้องบังคับใช้กฎหมายเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของนักพัฒนาซอฟต์แวร์เหล่านั้น เราขอให้ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรธุกิจเข้าใจว่าการตรวจสอบการใช้งานซอฟต์แวร์ตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิคือส่วนสำคัญของการจัดการความเสี่ยงองค์กรและต้องทำการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าบริษัทจะไม่ต้องเผชิญกับความเสี่ยงต่าง ๆ อันเนื่องมากจากการใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิและผิดกฎหมาย”

ในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.ปอศ. ได้เข้าตรวจค้นบริษัทในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ที่มีชาวไทยเป็นเจ้าของกิจการ พบเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 51 เครื่องมีการติดตั้งซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิและผิดกฎหมาย นอกจากนี้ บก.ปอศ. ยังเข้าตรวจค้นโรงงานผลิตสารเคมีซึ่งมีผู้ถือหุ้นเป็นชาวไทยและชาวมาเลเซียในจังหวัดนครปฐมในข้อหาใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิและผิดกฎหมายบนเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 43 เครื่อง และโรงงานผลิตเครื่องใช้ในครัวเรือน พบการใช้งานและติดตั้งซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิและผิดกฎหมายบนเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 94 เครื่อง

พ.ต.อ. ดร.กิตติศักดิ์ ยังกล่าวอีกว่า “บก.ปอศ. จะดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ จากร้อยละ 71 ในปี 2557 เพื่อส่งเสริมการเติบโตของอุตสาหกรรมไอทีในประเทศไทยและสภาพแวดล้อมที่ดีสำหรับการพัฒนานวัตกรรมในเศรษฐกิจดิจิทัล นอกจากนี้ การปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ยังเป็นวิธีที่จะปิดช่องโหว่ด้านความปลอดภัยที่เกิดจากการใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิและผิดกฎหมายซึ่งเป็นสาเหตุของอาชญากรรมไซเบอร์อีกด้วย

ผู้ที่แจ้งเบาะแสการใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิและผิดกฎหมาย หรือการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในองค์กรธุรกิจ มีสิทธิ์ได้รับเงินรางวัล โดยสามารถแจ้งผ่านสายด่วนที่ 02-714-1010 หรือรายงานผ่านช่องทางออนไลน์ ทั้งนี้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้แจ้งเบาะแสจะถูกปิดไว้เป็นความลับ ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดตามได้ที่ www.stop.in.th

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

รายงาน Group-IB ชี้ APAC ต้องเผชิญกับภัยคุกคามทางไซเบอร์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ [PR]

รายงาน High-Tech Crime Trends Report 2025 ของ Group-IB เผยให้เห็นว่า ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต้องเผชิญภัยคุกคามไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้น ท่ามกลางสถานการณ์ความเสี่ยงที่ทั่วโลกกำลังเผชิญมากขึ้นเรื่อย ๆ

Cloudsec Asia จับมือ Nokia เสริมแกร่งระบบป้องกันภัยไซเบอร์ระดับ Mission-Critical ให้องค์กรในประเทศไทย [PR]

Cloudsec Asia ผู้ให้บริการโซลูชันความปลอดภัยไซเบอร์ชั้นนำของไทย ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญกับ Nokia เพื่อยกระดับความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับ Mission-Critical แก่องค์กรในประเทศไทย Cloudsec Asia จะเป็นผู้บูรณาการระบบ (System Integrator) สำหรับโครงการที่ใช้เทคโนโลยีความปลอดภัยของ Nokia …