วิกฤติโคโรน่าไวรัส (Covid- 19) ที่กำลังระบาดอยู่นี้ ได้ส่งผลกระทบต่อองค์กรต่างๆ ทั่วโลก ธุรกิจหลายแห่งได้รับผลกระทบจนต้องหยุดการดำเนินงานชั่วคราว หรือแม้แต่ต้องประกาศเลิกกิจการไป พนักงานขององค์กรต้องปรับตัวทำงานจากที่บ้านหรือเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ในวิกฤติย่อมมีโอกาส การแพร่ระบาดของเชื้อ Covid-19 นี้ ในอีกด้านหนึ่ง ได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการปรับกลยุทธ์ในการดำเนินงานของหลายๆ ธุรกิจ จนเกิดกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) อย่างรวดเร็ว มีการบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลในหลากหลายหน่วยงาน ทำให้เกิดรูปแบบใหม่ๆ ในการดำเนินธุรกิจและส่งมอบคุณค่าให้แก่ลูกค้า
ในห้วงเวลาเช่นนี้เองที่จะเป็นช่วงที่พิสูจน์ว่า องค์กรใดจะสามารถประคับประคองตัวจนผ่านวิกฤตินี้ได้ ตลอดจนสามารถกลับมาเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งอีกครั้ง ในสภาวะที่ยังมีความไม่แน่นอนอยู่นี้ อาจจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่แต่ละองค์กรจะทบทวนกลยุทธ์ และพิจารณาประยุกต์เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดำเนินธุรกิจ
โซลูชั่น RPA สร้าง Bot ให้ทำงานอัตโนมัติ
Robotic Process Automation หรือ RPA นั้น เป็นกระบวนการทำงานอัตโนมัติด้วยหุ่นยนต์ซอฟต์แวร์หรือ Bot ซึ่งแนวคิดของ RPA นั้นก็คือการสร้าง Bot เพื่อมาทำงานซ้ำๆ ที่เกี่ยวกับข้อมูลแทนมนุษย์ เนื่องจากต้นทุนทางธุรกรรมในการทำกิจกรรมที่ต้องทำซ้ำๆ นั้น เป็นต้นทุนที่ค่อนข้างสูงแต่ให้ผลตอบแทนที่ต่ำ อีกทั้งยังต้องใช้ทั้งพนักงานและเวลาจำนวนมาก ลักษณะงานเหล่านี้มีอยู่ในทุกๆ อุตสาหกรรมและในทุกส่วนงาน เช่น การป้อนข้อมูลลงระบบสินค้า การเก็บและป้อนข้อมูลทางบัญชี การจัดการกับใบเสร็จต่างๆ ฯลฯ ซึ่งองค์กรสามารถพิจารณานำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ได้ เพื่อให้การจัดการข้อมูลนั้นสามารถเป็นไปได้โดยอัตโนมัติ หรือทํางานร่วมกับมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนอกจากจะได้ปริมาณงานที่เพิ่มมากขึ้นในเวลาที่สั้นลง ยังทำให้พนักงานสามารถใช้เวลาและศักยภาพที่มีไปกับงานที่มีคุณค่ามากกว่า
Automation Anywhere ผู้นําเทคโนโลยี RPA ระดับโลก
Automation Anywhere เป็นผู้นําในกระบวนการทํางานอัตโนมัติโดยหุ่นยนต์ (RPA) โดย Bot ของ Automation Anywhere สามารถอ่านข้อมูลจากไฟล์ภาพ เอกสารและนําข้อมูลเหล่านั้นไปกรอกลงระบบต่างๆ ได้อย่างถูกต้องแม่นยํา ซึ่งบริษัท ไอแอม คอนซัลติ้ง จำกัด บริษัทที่ปรึกษาและพัฒนาระบบไอทีแนวหน้าของไทย ได้เล็งเห็นแล้วว่าเทคโนโลยีนี้เป็นเทคโนโลยีแห่งอนาคตที่จะช่วยพลิกโฉมการดำเนินงานให้กับองค์กรและธุรกิจต่างๆ ในไทย โดยความโดดเด่นของระบบ RPA ของ Automation Anywhere สามารถสรุปได้ ดังนี้
Easy ความง่ายดายในการใช้งาน
Automation Anywhere ทํางานร่วมกับ Application ในระดับองค์กรได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังใช้งานได้ง่าย โดยสามารถใช้งานจากที่ไหนก็ได้ รวมถึงสามารถเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการ AI อื่นๆ ได้ เช่น Google, Amazon, Microsoft เป็นต้น จึงกล่าวได้ว่าเป็นระบบที่รองรับ Digital Workforce ได้อย่างครบวงจร และช่วยลดต้นทุนการดําเนินงาน
Bot Store ลดเวลาการพัฒนา
ธุรกิจสามารถเลือกและดาวน์โหลด Bot บน Automation Anywhere Bot Store ได้ทันที จึงไม่ต้องพัฒนา Botเอง ทำให้ประหยัดเวลา นอกจากนี้ทุก Bot Template ได้ผ่านการตรวจสอบจากทาง Automation Anywhere แล้ว ธุรกิจจึงมั่นใจได้ในเรื่องการใช้งาน
Automation Anywhere University ต่อยอดองค์ความรู้
ผู้ใช้งานสามารถศึกษาเนื้อหาเกี่ยวกับ RPA ต้ังแต่ขั้นพื้นฐานไปจนถึงข้ันสูงได้เองโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ในหลักสูตร Online Training ของ Automation Anywhere หากเรียนจบหลักสูตร ยังสามารถขอใบรับรอง (certification) ได้ ถือเป็นการต่อยอดองค์ความรู้และเสริมสร้างศักยภาพแก่พนักงานในองค์กร
Hi-Security ความปลอดภัยของข้อมูลระดับ Bank Grade
Automation Anywhere มีมาตรฐานความปลอดภัยสากลระดับ Bank Grade ซึ่งมีเทคโนโลยีความปลอดภัยมาตรฐานต่างๆ รองรับ
การประยุกต์ใช้โซลูชั่น RPA ในภาคธุรกิจ – กรณีศึกษาในอุตสาหกรรมการผลิต
ในธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิต (Manufacturing Industry)นั้น จัดว่าเป็นธุรกิจที่มีความซับซ้อน ประกอบด้วยระบบและขั้นตอนที่หลากหลาย ซึ่งข้อมูลที่พนักงานต้องจัดการมักจะมีจำนวนมาก ข้อมูลเหล่านี้มีทั้งแบบที่มีโครงสร้างตายตัวชัดเจนและมีแบบที่ต้องใช้ดุลยพินิจของพนักงานในการตัดสินใจ โซลูชั่น RPA จะมีส่วนเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับขั้นตอนที่สามารถทำได้เองโดยอัตโนมัติ เช่น ระบบการสั่งของ (order management) หรือการรับประกันสินค้า (warranty management) ทำให้พนักงานสามารถไปโฟกัสในส่วนงานอื่นที่สร้างมูลค่าได้มากกว่า เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ
บริษัท Stant เป็นหนึ่งในผู้ผลิตและจำหน่ายชิ้นส่วนระบบควบคุมอุณหภูมิและไอน้ำขนาดใหญ่ มีสาขาธุรกิจใน 5 ประเทศ และจัดส่งชิ้นส่วนให้ลูกค้ากว่า 160 แห่งทั่วโลก ในแต่ละวันแผนกการเงินและบัญชีของ Stant ใช้เวลาในการจัดการเอกสารเบิกจ่ายและการเรียกเก็บเงินค่อนข้างมาก นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ยังต้องใช้เวลาในการตรวจสอบเอกสาร และลงบันทึกรายการต่างๆ ภาระงานเหล่านี้ ทำให้การส่งรายงานบัญชีเป็นไปได้ค่อนข้างช้า และอาจส่งผลต่อการชำระเงินให้แก่ซัพพลายเออร์
ด้วยเหตุนี้ ทีมผู้บริหารของบริษัท Stant จึงตัดสินใจนำระบบ RPA ของ Automation Anywhere เข้ามาใช้ เพราะเห็นว่าระบบดังกล่าว จะสามารถช่วยลดระยะเวลาการทำงานของแผนกได้ หลังจากการใช้งานบริษัท Stant พบว่า ระยะเวลาในการทำงานของระบบการเบิกจ่ายและเรียกเก็บเงินจากเดิมที่ใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ ลดลงเหลือเพียงแค่ 4 วัน และมีแนวโน้มที่จะลดลงไปอีก นอกจากนี้ยังไม่มีข้อผิดพลาดใดๆ เกิดขึ้นเลยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้เป็นไปได้ด้วยระบบการทำงานอัตโนมัติ ที่ Bot ได้เข้ามาช่วยในกระบวนการที่ซ้ำๆ ไม่ว่าจะเป็นการป้อนข้อมูลและจับคู่ใบเรียกเก็บเงิน และในกรณีที่ตรวจพบข้อผิดพลาด Bot จะช่วยทำการแก้ไขให้ หรือในกรณีที่มีข้อยกเว้น Bot จะส่งต่อเอกสารนั้นไปยังเจ้าหน้าที่เพื่อทำการอนุมัติต่อไป
ในส่วนของพนักงานนั้นได้ทำงานในลักษณะบูรณาการและได้พัฒนาศักยภาพมากขึ้น โดยเปลี่ยนจากการทำงานซ้ำๆ เป็นงานเชิงคิดวิเคราะห์และแก้ไขปัญหามากขึ้น ทำให้บริษัท Stant ตั้งเป้าที่จะนำระบบอัตโนมัตินี้มาใช้กับระบบการเรียกเก็บเงินจากซัพพลายเออร์ถึงร้อยละ 80 จากทั้งหมด และยังพิจารณาที่จะปรับใช้ระบบอัตโนมัตินี้เพิ่มขึ้นในส่วนงานอื่นๆ อีกในอนาคต
จากกรณีศึกษาดังกล่าว จะเห็นได้ว่า การวางรากฐานทางเทคโนโลยีและการลงทุนในระบบดิจิตัลนั้นเป็นสิ่งสำคัญ และเป็นสิ่งที่ธุรกิจที่อยากจะการเติบโตและแข่งขันได้ในอนาคตจำเป็นต้องคำนึงถึง อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลขององค์กรธุรกิจ ไม่ใช่เพียงการนำเทคโนโลยีมาใช้ในองค์กรเท่านั้น แต่ ผู้นำองค์กรต้องนำการเปลี่ยนแปลงอย่างครบวงจร ทั้งคน ระบบ และบริบท จึงจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างยั่งยืน
ที่มา: https://www.automationanywhere.com/images/casestudy/CaseStudy-Stant-Thirdware-AutomationAnywhere.pdf
บริษัทผู้ให้คำปรึกษาการบริหารงาน และพัฒนาระบบไอทีสำหรับองค์กรเอนเทอร์ไพรส์ในประเทศไทยมากว่า 15 ปี
หากท่านต้องการคำปรึกษาทางด้าน RPA สามารถติดต่อได้ที่ corporatesales@iamconsulting.co.th หรือ โทร 02-690-3663
นอกจากนี้ ท่านยังสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง https://www.iamconsulting.co.th/en/rpa.html หรือกด Like เพื่อติดตามข้อมูลข่าวสารและร่วมแบ่งปันความรู้ได้ที่ www.facebook.com/IAMConsultingTH