[PR] ดร.สุรพันธ์ เมฆนาวิน ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการชั่วคราว สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล

ดร.สุรพันธ์ เมฆนาวิน ปัจจุบัน อายุ 50 ปี การศึกษา ปริญญาเอกวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการชั่วคราว สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล โดยมีผลตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป และดร.สุรพันธ์ เมฆนาวิน จะเริ่มเข้าทำงาน ณ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ในวันอังคารที 14 กุมภาพันธ์ 2560 เป็นต้นไป นับเป็นอีกก้าวหนึ่งสำคัญของการผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อการก้าวไปสู่ Thailand 4.0 ตามแนวนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อประโยชน์ต่อภาคประชาชน

ประวัติการศึกษา

  • ปริญญาเอกวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว
  • ปริญญาโทวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว
  • ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประวัติการทำงาน

2554 – 2555 กรรมการบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)

2551 – 2554 กรรมการผู้จัดการบริษัท กูรู สแควร์ จำกัด

2548 – 2551 ที่ปรึกษารองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

2543 – 2548 ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท สยามกูรู จำกัด

2536 – 2542 นักวิจัยศูนย์เทคโนโลยีและอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)

ตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบันนอกเหนือจากงานในองค์การมหาชน

  • กรรมการบริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
  • กรรมการผู้จัดการบริษัท กูรูสแควร์ จำกัด
  • ที่ปรึกษาอาวุโส บริษัท สยามกูรู จำกัด
  • อาจารย์พิเศษคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
  • กรรมการตัดสินการประกวดซอฟต์แวร์แห่งชาติ
  • อนุกรรมการบริหารโปรแกรมวิทยาการสารสนเทศบริการ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
  • กรรมการสถาบันเทคโนโลยีไทย ญี่ปุ่น

About TechTalkThai PR 2

Check Also

IBM และ L’Oréal ร่วมสร้างโมเดล AI แรก เพื่อต่อยอดการสร้างสรรค์เครื่องสำอางอย่างยั่งยืน [PR]

IBM (NYSE: IBM) และ L’Oréal บริษัทความงามชั้นนำของโลก ประกาศความร่วมมือในการใช้เทคโนโลยี Generative Artificial Intelligence (GenAI) และความเชี่ยวชาญของ IBM เพื่อเปิดมุมมองเชิงลึกใหม่ๆ สู่ข้อมูลการพัฒนาสูตรเครื่องสำอาง …

Yip In Tsoi พาส่องภาพรวมปัญหาความปลอดภัยจากไซเบอร์ จากข้อมูลสู่ Cyber Physical System และการปรับตัวในการใช้ AI ให้ปลอดภัย [PR]

เมื่อภูมิทัศน์ด้านภัยคุกคามไซเบอร์มีความซับซ้อน สุ่มเสี่ยงให้เกิดความเสียหายในวงกว้างมากขึ้น จำเป็นที่องค์กรต้องตระหนักถึงความท้าทายดังกล่าว เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์และมุมมองด้านความปลอดภัยให้ครบองค์ประกอบ T2P ได้แก่ คน (People) กระบวนการ (Process) และเทคโนโลยี (Technology)