Microsoft Azure by Ingram Micro (Thailand)

Dell EMC PowerFlex(dHCI) Solution for Modern Datacenters ตอนที่ 3

จากตอนก่อนหน้านี้ ข้อมูลในยุคปัจจุบันมีผลต่อการแข่งขันเพื่อเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจ และข้อมูลที่เข้ามาจะมีหลากหลายลักษณะแตกต่างกันไป ดังนั้นการจัดการข้อมูลจะต้องรองรับทั้งประสิทธิภาพ, ปริมาณงาน, ความจุ, ความพร้อมใช้งาน, การปกป้องข้อมูล และข้อกำหนดของการบริการข้อมูล นอกจากนี้ยังต้องบริหารงบประมาณด้านไอทีให้เหมาะสมด้วย Dell EMC PowerFlex Solution  ได้ออกแบบให้ให้มีความสามารถทางด้านโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ด้งนี้

• มีสมรรถนะสูง ไม่ว่าจะเป็นด้าน IOPS หรือ Throughput
• รองรับการขยายได้มากกว่า 1000 nodes และหลาย Petabytes (PB)
• สร้างจากพื้นฐานฮาร์ดแวร์ที่สามารถรองรับความเสียหายได้โดยไม่มีผลกระทบให้ระบบหยุดชงัก เช่น Mirror Disk Design เป็นต้น
• มีโครงสร้างที่มีความยืดหยุ่นสูง ทำให้สามารถรวบรวมข้อมูลจากระบบต่างๆ มาบริหารจัดการทรัพยากรร่วมกันได้ (Data center consolidation)
• ถูกผลิตสำเร็จมาจากโรงงาน และมีการจัดการวงจรการทำงานด้วยระบบ LCM (life cycle management) รวมทั้งดูแลระบบทั้งหมดโดยเดลล์เทคโนโลยี

จากคุณสมบัติข้างต้นทำให้ PowerFlex สามารถช่วยพัฒนาดาต้าเซ็นเตอร์ให้ทันสมัย จากสถาปัตยกรรม 3-tier แบบเดิมมาเป็นแบบใหม่ที่เป็น Software Defined โดยได้ทั้งสมรรถนะที่สูงขึ้น, มีความยืดหยุ่นมากขึ้นและ มีความน่าเชื่อถือในระดับ 6*9’s ด้วยฮาร์ดแวร์ที่ใช้ความสามารถของ Intel® Xeon® Scalable Processors เพื่อให้รองรับงานสำคัญที่ต้องการประสิทธิภาพสูงในปัจจุบัน และระบบงานใหม่ๆ อย่าง Cloud Native Workload ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ระบบฐานข้อมูลออราเคิล (Oracle Database)

ในปัจจุบัน ระบบฐานข้อมูลออราเคิล เป็นระบบฐานข้อมูลที่มีการใช้งานอย่างกว้างขวางในระบบแอพพลิเคชั่นที่สำคัญและต้องการการตอบสนองต่อผู้ใช้อย่างรวดเร็ว และต้องใช้งานได้ตลอดเวลา ตั้งแต่ปี 1995 ทางบริษัทเดลล์เทคโนโลยี ได้ร่วมทำการวิจัยและพัฒนากับบริษัทออราเคิลจนมีลูกค้าจำนวนมากร่วมกัน ระบบฐานข้อมูลของออราเคิลต้องการระบบที่มีสมรรถนะสูง, มีความเสถียร และมีความเชื่อมั่นในการดูแลจัดการข้อมูลสูงสุดเพื่อนำไปใช้กับระบบงานหลักที่สำคัญขององค์กร รวมทั้งระบบงานที่มีการเรียกใช้และเข้าถึงข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์จำนวนมาก (data warehouses) ซึ่งทางออราเคิลก็มีระบบงานเสริมเพื่อรองรับงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นเช่น Oracle RAC (Real Application Clusters) ที่รองรับรับการทำงานรวมกันของหลายๆ เซิร์ฟเวอร์ในเข้าถึงระบบฐานข้อมูลในคลัสเตอร์เดียวกัน โดยทำงานร่วมกับ Oracle ASM (Automated Storage Management) ที่จัดการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลและระบบไฟล์ เพื่อรองรับการการเข้าถึงข้อมูลแบบ single-instance ให้กับแอพพลิเคชัน เพื่อทำให้ระบบมีประสิทธิภาพและเสถียรภาพมากขึ้น

ตัวอย่างข้างล่างเป็นการออกแบบเริ่มต้นด้วย Dell EMC PowerFlex 4 nodes  ที่รองรับการขยายในอนาคต แบบ Scale-Out โดยเป็นการขยายที่ได้ทั้งขนาดความจุในการเก็บข้อมูลและประสิทธิภาพไปตามจำนวนโหนดที่เพิ่มขึ้น

ในแต่ละโหนดของ PowerFlex ใช้ดิสค์แบบ SSD โดย มี VMware ESXi และ PowerFlex ซอฟแวร์ โดยออกแบบให้แต่ละโหนดมี 2 VM โดยที่ VM แรกจะใช้สำหรับ Dell EMC PowerFlex Storage Virtual Machine (SVM) รองรับการจัดการ PowerFlex คลัสเตอร์และบริการด้านการจัดการข้อมูลต่างๆ ส่วน VM ที่สองจะใช้สำหรับระบบฐานข้อมูลออราเคิลบน Red Hat Enterprise Linux ที่มีการใช้งาน Oracle ASM สำหรับจัดการพื้นที่จัดเก็บข้อมูล

นอกจากนี้ผู้ใช้ระบบฐานข้อมูลออราเคิลยังมีความต้องการที่จะหาโซลูชั่นใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์และทำให้การดูแลระบบดีขึ้น เช่น

• ต้องการระบบที่ทำให้เร็วขึ้นเสถียรมากขึ้นในขณะที่ใช้งบประมาณลดลง
• ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูลต้องการโซลูชั่นที่ช่วยให้ใช้เวลาในการจัดการระบบน้อยลงและสะดวกขึ้น
• ลูกค้าที่ใช้ระบบฐานข้อมูลออราเคิลต้องการลดค่าใช้จ่ายเรื่อง Database license
• ลูกค้า Oracle Exadata มีความกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายในการดูแลในการจัดการและ licensing
• มีการใช้เซิฟเวอร์ระบบฐานข้อมูลไม่เต็มประสิทธิภาพ (Under-utilized) หรือจำนวนเซิฟเวอร์ระบบฐานข้อมูลที่ต้องเพิ่มมากขึ้น
• ต้องการแชร์ทรัพยากรณ์ระบบฐานข้อมูลออราเคิลบน Virtualized Platform โดยเลือกใช้งาน Hypervisors ตามต้องการ หรือเลือกทำงานบน Bare metal configuration
• ต้องการลดจำนวนสำเนาของระบบฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการทำงานทดสอบและพัฒนา (Test/Dev)

จากความต้องการเหล่านี้ ทางบริษัทเดลเทคโนโลยี มีหน่วยงานที่สามารถทำการวิเคราะห์ผลจากการเก็บรายงานประสิทธิภาพ (awr/statspack) ของระบบฐานข้อมูลของลูกค้าแล้วทำการวิเคราะห์ออกมาเป็นรายงาน ซึ่งส่วนใหญ่จะพบว่าการใช้ CPU ของเซิร์ฟเวอร์ระบบฐานข้อมูลจะค่อนข้างต่ำกว่าทรัพยากรที่มีอยู่จริง ยกตัวอย่างด้านล่างจากลูกค้ารายหนึ่งจะพบว่ามีการใช้งาน CPU สูงสุดอยู่ที่ประมาณ 40% เท่านั้นซึ่งทำให้สามารถลดจำนวน CPU ลงได้โดยไม่มีผลกระทบกับการทำงาน และสามารถลดค่าใช้จ่ายของ Oracle DB license ลงได้ด้วย (CPU Core Licensing)

สมรรถนะสูงสุดด้วย Intel Scalable Processor และสถาปัตยกรรมแบบ dHCI

จากความการวิเคราะห์รายงานของลูกค้าข้างต้น การออกแบบระบบใหม่ด้วย Dell EMC PowerFlex solution ที่ใช้ Dell PowerEdge technology ก็ทำให้สามารถเลือกจำนวน Intel CPU core ตั้งแต่ 4-28 cores ที่ความเร็ว 1.9 – 3.9 GHz (หรือตามที่ Intel ออก Technology ใหม่ๆมาในอนาคต) เราจึงสามารถออกแบบระบบด้วยการเลือก Intel CPU ที่มีจำนวน core น้อยแต่ทำงานที่ความถี่ GHz สูงเช่นใช้ Intel® Xeon® Gold 6250 ที่มีเพียง 8 core แต่ความถี่สูงถึง 3.9GHz เพื่อให้ได้สมรรถนะสูงสุดในการทำงานเป็นเซิร์ฟเวอร์ของระบบฐานข้อมูลเพื่อลดค่าใช้จ่ายจากจำนวน Core License แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถใช้ Intel CPU ที่มีจำนวน core สูงขึ้นในส่วนของ PowerFlex SDS เพื่อให้ได้สมรรถนะในการจัดเก็บและบริการในการจัดการกับข้อมูลต่างๆ เนื่องจาก PowerFlex ไม่ได้คิด license จากจำนวน CPU core ซึ่งจะต่างจากเดต้าเบสฮาร์ดแวร์ที่จะกำหนด CPU ไว้ตายตัวเป็น 24 cores ที่ 2.4 GHz นอกจากนั้น PowerFlex ยังมีบริการการจัดการข้อมูลหลายอย่าง ทำให้ช่วยลดงานที่ CPU ของระบบฐานข้อมูลต้องไปจัดการเอง ทำให้สามารถใช้ประสิทธิภาพทั้งหมดของ CPU ไปเพื่อการประมวลผลฐานข้อมูลเป็นเท่านั้น และเนื่องจาก PowerFlex มีการใช้งาน disk drive เป็นจำนวนมาก ทำให้การ rebuild drive จากความเสียหายทำได้รวดเร็วและไม่กระทบกับประสิทธิภาพของระบบฐานข้อมูล และในส่วนซอฟแวร์ในการบริการจัดการข้อมูล DellEmc PowerFlex ก็สามารถช่วยลดค่าใช้จ่าย โดยการรวมเอาการจัดการต่างๆ มาไว้ด้วยกัน เช่น การทำ Compression, Snapshot, Replication, Data at Rest Encryption และ LCM เป็นต้น

ในส่วนการจัดการ Dell Emc PowerFlex ช่วยให้การดูแลระบบได้ง่ายขึ้น โดยทางลดความยุ่งยากด้านการจัดการกับหน่วยจัดเก็บข้อมูลโดยไม่ต้องมีการทำ RAID protection, RAID Group/Storage Pool, Striped/Concatenated Meta Devices, Tiering, Cache Size, Thick or Thin LUNs เป็นต้น ด้านเดต้าเบสก็ช่วยลดความยุ่งยากลงเช่นกัน โดยที่ไม่ต้องทำ ASM Intelligent Data Placement, number of ASM disk groups, ASM Redundancy, Allocation Unit Size, ASM Coarse or Fine Grained Striping เป็นต้น

ระบบประมวลผลและวิเคราะห์ (SPLUNK ENTERPRISE)

บริษัทเดลเทคโนโลยีกับบริษัท Splunk ได้ร่วมกันทดสอบระบบเพื่อหาสถาปัตยกรรมที่น่าเชื่อถือ และสามารถรองรับการทำงานของ Splunk Enterprise ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และทำงานรวมกันได้อย่างไม่มีปัญหา หรือที่เรียกว่า Validated the Reference Architecture ซึ่ง DellEMC PowerFlex และ Splunk ได้ทำการทดสอบมากกว่า 20 รูปแบบ (Configurations) ที่เหมาะกับการใช้งานที่ต่างกัน ซึ่ง DellEMC PowerFlex มีความยืดหยุ่นสูง สามารถใช้ได้ทั้งระบบ Splunk ที่ต้องการการประมวลผลสูง (Compute-heavy) หรือต้องการความจุสูง (Storage-Heavy) หรือระบบที่สมดุล (Balanced Configurations) รวมทั้งระบบแบบ hybrid ที่มีการใช้งานหน่วยจัดเก็บข้อมูล All Flash ร่วมกับระบบ NAS โดยในส่วนจัดเก็บข้อมูลของ PowerFlex จะทำงานเสมือน SAN storage แต่ใช้การรับส่งข้อมูลผ่านระบบ network แทน โดยที่เริ่มต้นที่ 4 nodes และขยายได้มากกว่า 1,000 nodes ที่เป็นการขยายทั้งเนื้อที่และสมรรถนะไปด้วยกัน ส่วนในส่วนประมวลผล (Compute) ของ PowerFlex จะรองรับ ระบบงานของ SPLUNK Enterprise ที่ต้องการสมรรถนะสูงในการวิเคราะห์ในชุดข้อมูลปัจจุบัน (hot/warm data) และทำงานร่วมกับ DellEMC Isilon scale-out network-attached storage (NAS) เพื่อรองรับการทำเก็บข้อมูลในระยะยาว (cold data) โดยมี Vmware virtualization เพื่อช่วยในการจัดการทรัพยากรของของระบบให้ง่ายขึ้น

ตัวอย่างด้านล่างเป็นรูปแบบ Reference architecture ที่ใช้ DellEMC PowerFlex ด้วยสถาปัตยกรรมแบบ Hyperconverged ร่วมกับ DellEMC Isilon storage สำหรับ Virtualized Splunk Enterprise โดยการเก็บชุดข้อมูล Splunk (hot/warm/cold buckets) ไว้ในหน่วยจัดเก็บข้อมูลที่ต่างกัน เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการประสิทธิภาพในการใช้งานและประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บข้อมูลในระยะยาว (Retention)

จากรูปด้านบน นอกจากจะเป็นการรองรับการทำงานของ Splunk ในการวิเคราะห์งานอย่างมีประสิทธิภาพแล้วยังช่วยในเรื่อง

  • ลดต้นทุนในภาพรวม (Total Cost of Ownership) โดยการเก็บข้อมูลในที่ที่เหมาะสมและตอบสนองธุรกิจได้ดี เพื่อให้คุ้มค่าในการลงทุนที่สุด
  • ตอบสนองความต้องการทางธุรกิจได้รวดเร็วกว่า และทำให้เกิดมูลค่าให้กับธุรกิจมากขึ้นเพื่อในการแข่งขัน เนื่องจากการใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์มาตรฐาน ที่เป็นสถาปัตยกรรมที่รองรับการขยายงานทั้งขนาดและสมรรถนะในอนาคตได้มาก โดยไม่ต้องหยุดระบบและไม่ต้องเสียเวลาในการทำย้ายข้อมูล (Data Migration) เมื่ออุปกรณ์หมดอายุการใช้งาน (End of Support Life – EOSL
  • ทำให้การดูแลระบบทำได้ง่ายขึ้น เนื่องจากการใช้Splunk Enterprise บนสถาปัตยกรรมแบบ virtualized ร่วมกับ VMware และ PowerFlex Solution ทั้งในการจัดการแบบออโตเมชั่นหรือการทำดูแลระบบด้วย LCM (Lifecycle Management

ระบบงานแบบใหม่ๆบนคลาวด์ (Cloud Native Architecture)

บริษัทขนาดใหญ่ในปัจจุบันได้พบความท้าทายอย่างมากที่จะต้องปรับตัว และพัฒนาเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบธุรกิจ (Digitally Transformation) ที่ต้องตอบสนองต่อความต้องการของธุรกิจในโลกดิจิตอล ด้วยเทคโนโลยีใหม่ที่สร้างความได้เปรียบคู่แข่งการค้าทั้งสินค้าและบริการ ดังนั้นสถาปัตยกรรมแบบ Cloud Native จึงเข้ามาช่วยในการพัฒนาระบบและนำไปใช้งานกับแอพพลิเคชั่น เพื่อให้ง่ายต่อการปรับแก้และการเพิ่มขยาย ด้วยการใช้งานระบบงานคอนเทนเนอร์ (Containerization) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่เป็นที่นิยมและใช้งานกันอย่างมากในการใช้งานกับระบบงานใหม่ต่างๆ (Cloud Native-Workload) เทคโนโลยี่นี้ได้ถูกพัฒนาเพิ่มเติมความสามารถใหม่ๆ กันอย่างกว้างขวางและต่อเนื่องจากกลุ่มนักพัฒนาซอฟแวร์ open-source community

สถาปัตยกรรมแบบ Cloud Native ทำให้แอพพลิเคชั่นใช้งานความสามารถของระบบคอนเทนเนอร์ในเรื่องโครงสร้าง ระบบงานฐานข้อมูล เครื่องมือในการพัฒนาที่มีความสามารถในการจัดการหลายด้านเช่น scheduling, load balancing, resource monitoring, scaling, and job isolation เพื่อการใช้งานในรูปแบบงานที่ซับซ้อน โดย Kubernetes (K8s) จะเป็นตัวควบคุมและจัดการ (Orchestration) ในงานและบริการต่างๆที่พัฒนาโดยระบบคอนเทนเนอร์ อย่างเช่น การทำ configuration และ automation โดย K8s จะกำหนดรูปแบบ (framework) ในการจะกระจายทรัพยากรต่างๆให้กับ Containers ใน K8s จะมีโซลูชั่นในการจัดการการเก็บข้อมูล ที่เรียกว่า CSI (Container Storage Interface) ซึ่งเป็นไดร์เวอร์มาตรฐานที่ทำให้หน่วยจัดเก็บข้อมูลทำงานร่วมกับ Pods ใน Containers โดยผ่าน PVC (Persistent Volume Claim) ของ K8s

ในบรรดาเพล็ตฟอร์มคอนเทนเนอร์ต่างๆนั้น Red Hat® OpenShift® Container Platform เป็นที่นิยมใช้ในองค์กรขนาดใหญ่ โดยใช้ K8s เป็นตัวควบคุมและจัดการไม่ว่าแอพพลิเคชั่นนั้นจะทำงานอยู่ในเดต้าเซ็นเตอร์ (on-premises) หรือทำงานอยู่บนผู้ให้บริการคลาวด์ (public cloud) และเนื่องจาก DellEMC PowerFlex รองรับการทำงานทั้งแบบดั้งเดิม (traditional workloads) และการทำงานแบบใหม่ (cloud-native workloads) ด้วยเทคโนโลยีที่มีความยืดหยุ่นสูง ที่สามารถขยายส่วนประมวลผลและหน่วยจัดเก็บข้อมูลได้แบบอิสระต่อกัน (dHCI) และมีการเพิ่มขยายแบบ linear scalability ทำให้มีสมรรถนะสูงและมีความน่าเชื่อถือในระดับ enterprise-grade resilience ดังตัวอย่างด้านล่างนี้

นอกจากนั้น DellEmc PowerFlex ยังรองรับระบบฐานข้อมูลสำหรับระบบคลาวด์ (Cloud-Native database) เช่น Cassandra, MongoDB , CockroachDB, Couchbase, PostgreSQL เป็นต้น ทำให้ระบบสามารถที่จะทำงานอยู่ในดาต้าเซ็นเตอร์ (private cloud) หรือบนผู้ให้บริการคลาวด์ (public cloud) หรือทำงานร่วมกันได้ (hybrid clouds) โดยที่ DellEmc PowerFlex จะมี Dell EMC CSI Operator ซึ่งเป็น  K8s native application ที่จะช่วยติดตั้งและจัดการ CSI Drivers เพื่อแอพพลิเคชั่นรองรับการใช้งาน CSI ได้ทำให้ Container Orchestration Systems (COs) เช่น K8s สามารถใช้งานหน่วยเก็บข้อมูลในระดับ block และ file storage system สำหรับคอนเทนเนอร์เวิร์คโหลด ดังผลทดสอบกับ MongoDB และ Cassandra ข้างล่าง

ระบบฐานข้อมูลแบบ Cloud-Native Database (Cassandra)

ระบบฐานข้อมูล Cassandra เป็นระบบฐานข้อมูล open source แบบ NoSQL ที่เป็นฐานข้อมูลแบบกระจาย (decentralized database) สำหรับรองรับการจัดการข้อมูลแบบมีโครงสร้าง (structured data) ขนาดใหญ่ โดยสามารถกระจายการทำงานในหลายโหนดหรือไปต่างเดต้าเซ็นเตอร์แบบไม่มีข้อจำกัดด้านระยะทาง นอกจากนี้ยังมีความแตกต่างจากฐานข้อมูลแบบเดิม เช่น มีความยืดหยุ่นในการขยายสูงในขณะเดียวกันก็มีสมรรถนะสูงด้วย, มีความยืดหยุ่นในการเลือกหน่วยจัดเก็บข้อมูล และสามรถเขียนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว เป็นต้น

ระบบฐานข้อมูล Cassandra มีลักษณะการกระจายข้อมูลแบบ peer-to-peer ไปยังโหนดต่างๆ ในคลัสเตอร์ ซึ่งในแต่ละโหนดนั้นจะหน้าที่เหมือนกัน โดยแต่ละโหนดจะเป็นอิสระต่อกันและในขณะเดียวกันก็จะทำงานร่วมกันในด้วย แต่ละโหนดในคลัสเตอร์จะรับคำสั่งอ่าน/เขียนโดยไม่คำนึงถึงว่าข้อมูลนั้นจะอยู่ที่ไหนในคลัสเตอร์ ดังนั้นเมื่อมีโหนดใดเสียหาย โหนดที่เหลืออยู่จะรับคำสั่งอ่าน/เขียนแทน ซึ่ง DellEMC PowerFlex ทำงานรองรับ Cassandra ได้ตามรูปด้านล่าง

จากการทดสอบการทำงาน DellEMC PowerFlex โดยใช้ Cassandra-stress tool ทำการสร้างโหลดเพื่อทดสอบบน Cassandra pods จำนวน 6 pods ผ่านการทดสอบ 2 รูปแบบ

การทดสอบรูปแบบที่ 1: ทดสอบการอ่าน100% โดยเริ่มจากการโหลดข้อมูล 2 พันล้าน records เข้าไปใน Cassandra database จากนั้นจึงทำการอ่านข้อมูลผ่าน Cassandra Pods ทั้งหมด ผลการทดสอบแสดงดังกราฟด้านล่าง จากการทดสอบด้วยการอ่าน 100% ผ่าน Cassandra 6 Pods บน OpenShift Cluster จะได้ throughput 147,675 ops/s ที่มี latency ในระดับต่ำกว่า 1 มิลลิวินาที เมื่อใช้ 50 เทรดต่อ Cassandra Pod

การทดสอบรูปแบบที่ 2 : ทดสอบการเขียน 100% โดยการเขียนข้อมูล 3 ล้าน records ลงใน Cassandra database ผลการทดสอบแสดงจากกราฟด้านล่าง จากการทดสอบด้วยการเขียน 100% ผ่าน Cassandra 6 Pods บน OpenShift Cluster จะได้ throughput 121,470 ops/s ที่มี latency ในระดับต่ำกว่า 1 มิลลิวินาที เมื่อใช้ 60 เทรดต่อ Cassandra Pod

สามารถดูรายละเอียดของการทดสอบได้จาก https://infohub.delltechnologies.com/section-assets/cassandra-powerflex-000068

โดยสรุป 5 จุดเด่นของ DellEmc PowerFlex Solution มีดังนี้

  1. สูงสุด (Massive Performance)
  2. มีความเสถียรในระดับ 99.9999% (99.9999% Availability)
  3. มีประสิทธิภาพสูง (High efficiency) ข้อมูลจะกระจายอยู่ทุกโหนดและใช้ทรัพยากรจากทุกโหนดอย่างเต็มที่
  4. มีความทนทานต่อความเสียหาย (Resiliency) มีระบบการกระจายข้อมูลแบบ Multipathing ในทุกทรัพยากรของระบบ
  5. มีความยืดหยุ่นสูง (Flexibility) สามารถขยายส่วนประมวลผล หรือส่วนจัดเก็บข้อมูลได้อย่างอิสระตามความต้องการของงานและรองรับหลากหลายระบบ

สามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ DellTechnologies.com/PowerFlex หรือติดต่อ คุณวศิน โทร. 090-949-0823 หรืออีเมลมายัง Chidchanok.uthaigorn@dell.com

About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

ผสาน Automation และ Intelligence เข้าไปยังความสามารถของงานด้านการผลิต โดย Infor

การนำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาใช้งานในธุรกิจนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และแต่ละอุตสาหกรรมก็มีความท้าทายเฉพาะตัวที่ต้องเผชิญหน้า ในอุตสาหกรรมการผลิตเองก็เช่นกันที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ความต้องการของลูกค้า Supply Chain และอื่นๆ 

Cisco ปิดดีลเข้าซื้อ Splunk มูลค่า 1 ล้านล้านบาท

หลังจากผ่านการตรวจสอบอย่างเข้มข้นจนได้รับอนุมัติเรียบร้อย ล่าสุดทาง Cisco ได้ประกาศถึงความสำเร็จในการเข้าซื้อกิจการของ Splunk ที่มูลค่า 28,000 ล้านเหรียญหรือราวๆ 1 ล้านล้านบาทอย่างเป็นทางการแล้ว