Cloud Continuum: เมื่ออนาคตของ Cloud ไม่ได้อยู่เพียงแค่บน Cloud อีกต่อไป

หลายปีที่ผ่านมานี้ Cloud ได้กลายเป็นเทรนด์หลักของเทคโนโลยีที่ทุกธุรกิจต้องเปิดรับและนำไปใช้งานเพื่อสร้างโอกาสและความเป็นไปได้ใหม่ๆ ส่งผลให้การย้ายระบบขึ้นสู่ Cloud นั้นเกิดขึ้นในแทบทุกองค์กรธุรกิจอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด

อย่างไรก็ดี ในปี 2021 ที่ผ่านมานี้องค์กรธุรกิจจำนวนมากเริ่มมีการใช้งาน Cloud ในระดับที่มีความมั่นคงแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะต้องก้าวสู่ระดับถัดไปของการใช้ Cloud ในระดับสูงยิ่งขึ้นในปี 2022 เพื่อตอบโจทย์กลยุทธ์ของธุรกิจในระยะยาว และสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันเชิงนวัตกรรมที่สามารถต่อยอดได้อย่างไม่รู้จบ

ในบทความนี้เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับสถาปัตยกรรมใหม่ของ Cloud ที่มีชื่อเรียกว่า Cloud Continuum ที่จะทำให้องค์กรธุรกิจสามารถใช้ความสามารถของ Cloud ที่หลากหลาย และข้อมูลธุรกิจที่กระจัดกระจายอยู่บน Cloud ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้กับธุรกิจ ในขณะที่ยังคงบริหารจัดการได้อย่างสะดวกและง่ายดาย

Cloud เดียวไม่เพียงพอสำหรับองค์กรธุรกิจอีกต่อไป

อ้างอิงจากรายงานของ Accenture (1) ที่ได้ทำการสำรวจผู้นำทางด้านธุรกิจและไอที ทั่วโลกกว่า 4,000 ราย ระบุว่าเกือบ 65% ของผู้ตอบแบบสำรวจเห็นว่าการใช้ Cloud นั้นช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้ถึง 10% โดยเฉลี่ย ในขณะที่ผู้ตอบแบบสำรวจประมาณ 12-15% นั้นพบว่าการใช้ Cloud อย่างต่อเนื่องนั้นสร้างประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมต่อองค์กรธุรกิจ โดยท่ามกลางกระแสการทำ Disruption ครั้งใหญ่ทั่วโลกนี้ การใช้งาน Cloud ก็ได้กลายเป็นระบบโครงสร้างที่สำคัญในการริเริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรมและวิธีการทำงานในรูปแบบใหม่ๆ

อย่างไรก็ดี เมื่อองค์กรธุรกิจมีการใช้งาน Cloud อย่างต่อเนื่องและมีการใช้งาน Cloud จากผู้ให้บริการหลายรายเพื่อตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป ก็เริ่มทำให้เกิดปัญหาการกระจุกตัวกันของ Business Application และข้อมูลธุรกิจบนบริการ Cloud แต่ละระบบ ทำให้ท้ายที่สุดแล้ว องค์กรธุรกิจก็เริ่มเผชิญกับปัญหาของการดูแลรักษาระบบ Cloud ที่หลากหลาย ยากต่อการย้ายข้อมูลหรือระบบระหว่างกัน เกิดเป็น Silo ของแต่ละระบบ บนแต่ละบริการ Cloud ส่งผลให้ธุรกิจไม่สามารถใช้ประโยชน์จากบริการ Cloud ได้อย่างเต็มที่เท่าที่ควร แนวคิดของระบบ Multi-Cloud และ Hybrid Cloud จึงเกิดขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์เหล่านี้

นอกจากนี้ ด้วยความต้องการทางธุรกิจที่ต้องการใช้พลังประมวลผลในอาคาร, โรงงาน และสถานที่ต่างๆ ด้วย Latency ที่ต่ำ ซึ่งเป็นโจทย์ที่บริการ Cloud แบบดั้งเดิมตอบโจทย์ได้ยาก การนำแนวคิด Edge Computing ร่วมกับ Cloud มาใช้ในธุรกิจจึงเริ่มกลายเป็นที่สนใจในกลุ่มองค์กรธุรกิจ ทำให้ระบบ IT Infrastructure ขององค์กรธุรกิจยิ่งมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นไปอีกในการดูแลรักษาระบบ Edge เหล่านี้ควบคู่ไปกับ Multi-Cloud และ Hybrid Cloud

ในขณะเดียวกัน ประเด็นเหล่านี้ได้ยิ่งสร้างความท้าทายให้มากยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อนำข้อกำหนดทางกฎหมายด้านความมั่นคงปลอดภัย, ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล และการทำ Compliance สำหรับธุรกิจในแต่ละอุตสาหกรรมเข้ามาประเมินด้วย เพราะในสถาปัตยกรรม Cloud และ Edge ที่องค์กรมีการใช้งานอย่างหลากหลาย การควบคุมนโยบายเหล่านี้ให้เป็นไปตามข้อกำหนดนี้ถือเป็นโจทย์ที่ท้าทายอย่างยิ่ง จากการที่ต้องคำนึงและออกแบบวิธีการจัดเก็บ เข้าถึง ใช้งาน และควบคุมข้อมูลให้เป็นไปตามข้อกำหนดเหล่านี้

ความท้าทายเหล่านี้เองได้กลายเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้องค์กรธุรกิจไม่สามารถดำเนินกลยุทธ์ทางด้านเทคโนโลยีได้อย่างคล่องตัวในระยะหลัง และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้องค์กรต้องมองหาสถาปัตยกรรมใหม่ที่ผสานรวมการใช้งาน Cloud ทุกรูปแบบและ Edge เข้าด้วยกันให้ได้อย่างสมบูรณ์

Cloud Continuum: ผสานรวมหลากหลายระบบ Cloud เข้ากับ Edge ตอบโจทย์ Workload องค์กรธุรกิจสมัยใหม่

Accenture ได้ให้นิยามของสถาปัตยกรรม Cloud Continuum (2) ว่าเป็นระบบที่ผสานรวม Private Cloud, Public Cloud, Hybrid Cloud, Multi-Cloud และ Edge เข้าด้วยกันผ่านการเชื่อมต่อโดยเทคโนโลยี 5G และ Software-Defined Networking (SDN) เพื่อให้องค์กรธุรกิจมีสถาปัตยกรรม Cloud และ Edge ในทุกรูปแบบให้พร้อมใช้งาน ซึ่งสามารถตอบโจทย์ความต้องการที่แตกต่างกันออกไปได้อย่างยืดหยุ่น

Continuum Competitor คือคำศัพท์ที่ถูกบัญญัติขึ้นมาเพื่อใช้เรียกองค์กรธุรกิจที่นำแนวคิด Cloud Continuum ไปใช้ ในฐานะของการเป็นองค์กรธุรกิจที่ใช้ Cloud และ Edge เพื่อสร้างรูปแบบการดำเนินธุรกิจรูปแบบใหม่สำหรับรองรับอนาคตที่กำลังจะมาถึง

Accenture ระบุว่า Continuum Competitor สามารถลดค่าใช้จ่ายในองค์กรลงได้ 1.2-2.7 เท่า เมื่อเทียบกับธุรกิจที่ไม่ได้ใช้แนวคิด Cloud Continuum แต่ยังคงทำ Cloud Migration ในการย้ายระบบเป็นครั้งๆ ไป อีกทั้งยังสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ได้มากกว่า 2-3 เท่า และสามารถตอบโจทย์ความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อมได้ดีกว่าถึง 3 เท่าเลยทีเดียว

การใช้แนวคิด Cloud Continuum นี้ยังทำให้องค์กรธุรกิจสามารถเลือกสถาปัตยกรรมที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละระบบงานที่ตนเองต้องการได้ และยังสามารถเลือกใช้วิธีการหรือเทคโนโลยีเบื้องหลังนวัตกรรมที่ดีที่สุดได้อย่างต่อเนื่องในทุกๆ โครงการ

อุปสรรคในการก้าวสู่ภาพ Cloud Continuum

ถึงแม้ Cloud Continuum จะเป็นสถาปัตยกรรมที่มีข้อดีมากมาย แต่การนำ Cloud Continuum มาใช้งานจริงนั้นก็ย่อมมีอุปสรรคที่องค์กรต้องฝ่าฟันไปให้ได้ โดย Accenture ได้ทำการสำรวจถึงปัจจัยที่องค์กรธุรกิจยังมองว่าเป็นอุปสรรคต่อการทำ Cloud Continuum ดังนี้

  • 42% ระบุถึงความซับซ้อนที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงเชิงธุรกิจและการดำเนินงาน
  • 42% ระบุถึงวิธีการในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยและการทำ Compliance
  • 35% ระบุถึงความไม่สอดคล้องกันในการดำเนินงานระหว่างฝ่ายไอที และฝ่ายธุรกิจ
  • 34% ระบุถึงความล้าสมัยของระบบ IT Infrastructure และความซับซ้อนภายในระบบ Application ขนาดใหญ่ที่องค์กรใช้งาน
  • 32% ระบุถึงประเด็นด้านความเป็นเจ้าของข้อมูลและข้อกฎหมาย

อย่างไรก็ดี หากมองในระยะยาวแล้ว การทำ Cloud Continuum นี้จะส่งผลดีและสร้างประโยชน์ในระยะยาวแก่องค์กรธุรกิจ ทำให้การฝ่าฟันอุปสรรคเหล่านี้มีความคุ้มค่า ซึ่งจะนำไปสู่การทำ Industry Transformation เปลี่ยนอุตสาหกรรมใดๆ ให้ก้าวมาสู่การดำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัลได้อย่างเข้มแข็ง

ต่อยอด Cloud Continuum สู่กลยุทธ์การทำธุรกิจแห่งอนาคตบนโลกดิจิทัลอย่างคุ้มค่าสูงสุด

การใช้งาน Cloud Continuum องค์กรไม่เพียงจะได้ประโยชน์จากความสามารถในการลดค่าใช้จ่ายในการใช้งาน Cloud เท่านั้น แต่องค์กรจะยังได้รับความยืดหยุ่นและความรวดเร็วในการใช้งานระบบ Cloud และ Edge ที่เหมาะสมเพื่อสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้กับธุรกิจอีกด้วย โดยกุญแจความสำเร็จในการใช้งาน Cloud Continuum ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรธุรกิจนั้นมีด้วยกัน 4 ประการ ดังนี้

1. การกำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์ทางธุรกิจและเทคโนโลยีให้ชัดเจน

ในการใช้งาน Cloud Continuum ให้ได้อย่างคุ้มค่านั้น ธุรกิจจะต้องสร้าง Cloud Continuum Strategy ให้ครอบคลุมถึงประเด็นดังต่อไปนี้

  • วิสัยทัศน์ทางธุรกิจซึ่งระบุถึงค่านิยมหลักขององค์กรและเป้าหมายในระยะยาว
  • การวิเคราะห์และระบุถึงจุดอ่อนและสิ่งที่ยังขาดซึ่งต้องการเติมเต็ม
  • การทำความเข้าใจที่ชัดเจนถึงจุดยืนในปัจจุบันและเป้าหมายที่ต้องการมุ่งหน้าไปให้ถึง

กรณีศึกษา: BOSCH

BOSCH คือหนึ่งในธุรกิจที่มีเป้าหมายในการมุ่งสู่ภาพของ Smart Manufacturing 4.0 ด้วยการสร้าง Smart 5G Factory โดยการใช้โครงข่าย Private 5G ในการเชื่อมต่อเครื่องจักรในสายการผลิตเข้ากับระบบประมวลผลและ Cloud เพื่อทำการวิเคราะห์และแสดงผลข้อมูลที่เกิดขึ้นในสายการผลิตแบบ Real-time ให้สามารถทำการเข้าถึงได้จากทั้งภายในและภายนอกโรงงาน

2. เลือกใช้งาน Cloud Practice ที่ดีและเหมาะสมที่สุดอยู่เสมอ

การนำ Cloud Practice ที่ดีและเหมาะสมมาใช้กับแต่ละงานให้แตกต่างกันออกไปเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้งาน Cloud Continuum นั้นคือสิ่งที่จำเป็น โดย Cloud Practice ที่องค์กรธุรกิจควรจะต้องทำความรู้จักมีดังนี้

  • Feed-It-Forward เร่งความเร็วในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการเพื่อสร้างตลาดใหม่แห่งอนาคตอย่างต่อเนื่อง
  • Continuous Goals ดำเนินการเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายอย่างต่อเนื่องเป็นระยะยาว
  • Cloud-First Apps พัฒนา Application โดยออกแบบและวางระบบเพื่อรองรับการใช้งานบน Cloud เป็นหลัก
  • Talent Transformation เสริมสร้างศักยภาพใหม่ๆ แก่พนักงานเพื่อให้ทุกการเปลี่ยนแปลงในองค์กรเป็นไปได้อย่างมั่นคง
  • IT Experimentation ทดลองสิ่งใหม่ๆ เพื่อนำเสนอประสบการณ์ใหม่ๆ ในทุกๆ การอัปเกรดระบบ
  • Scale Awareness ทำนายความต้องการของระบบในอนาคตเพื่อรองรับบริการ Cloud-AI รูปแบบใหม่ๆ

กรณีศึกษา: Food Passion

Food Passion ธุรกิจที่เป็นเจ้าของร้านอาหารชื่อดัง อย่างเช่น บาร์บีคิวพลาซ่า จุ่มแซ่บฮัท และฮ็อทสตาร์ ได้เลือกใช้บริการ AIS Enterprise Cloud เพื่อรองรับการดำเนินงานในสาขาต่างๆ ของร้านอาหารทั่วประเทศไทย และนำข้อมูลจากแต่ละสาขามาทำการจัดเก็บอยู่บน Cloud เพื่อนำไปวิเคราะห์ทางการตลาด ทำความเข้าใจลูกค้า และนำเสนอสิ่งที่ลูกค้าต้องการได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงพร้อมที่จะเปิดสาขาใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็วโดยไม่มีข้อจำกัดทางด้านเทคโนโลยีมาเป็นคอขวดของธุรกิจอีกต่อไป ด้วยการเชื่อมต่อสาขานั้นๆ เข้ากับระบบ บน Cloud ผ่าน เครือข่ายของ AIS

3. เร่งสร้างนวัตกรรมเพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดีเยี่ยม

Cloud Continuum จะช่วยให้ประสบการณ์ในการทำงานของพนักงานและการส่งมอบประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้าเป็นจริงขึ้นมาได้ จากการนำแนวคิดแบบ Data-Driven, Automation และการนำเครื่องมือต่างๆ บน Cloud ไปใช้เสริมในทุกๆ การทำงานและการให้บริการลูกค้าขององค์กร

กรณีศึกษา: Loreal

Loreal ได้มุ่งมั่นที่จะส่งมอบประสบการณ์ใหม่ให้กับลูกค้าด้วยการพัฒนานวัตกรรมที่มีชื่อว่า Lancome Skin Screen ซึ่งเป็นเทคโนโลยี Augmented Reality (AR) มาผสานรวมกับระบบ Skin Diagnostic เพื่อทำการวัดคุณภาพผิวของลูกค้าด้วยการอ้างอิงจากข้อมูลสภาพผิวกว่า 5 แสนรายการ พร้อมระบุถึงปัญหาด้านผิวที่ลูกค้าต้องใส่ใจเป็นพิเศษ และแนะนำผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับสภาพผิวของลูกค้าได้อย่างแม่นยำ โดยใช้โครงข่าย 5G FWA ในการส่งข้อมูลรูปภาพผิวของลูกค้าขึ้นไปวิเคราะห์บน Cloud ได้อย่างรวดเร็ว

4. ดำเนินกลยุทธ์ขององค์กรอย่างแข็งขัน

ถึงแม้การดำเนินกลยุทธ์ Cloud Continuum จะเป็นสิ่งที่ยากและมีอุปสรรคมากมาย แต่เพื่อประโยชน์ในระยะยาว ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรจึงต้องมุ่งมั่นที่จะดำเนินกลยุทธ์นี้ให้สำเร็จ และสร้างความเข้าใจให้กับพนักงานในแต่ละฝ่าย เพื่อให้เกิดการรวมพลัง นำความสามารถที่แตกต่างกันของแต่ละคนมาผสานเพื่อสร้างโอกาสและความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้กับองค์กรธุรกิจที่ในอนาคตจะมี Cloud Continuum เป็นศูนย์กลางให้ได้

กรณีศึกษา: SHERA

SHERA ได้ทำโครงการ Digital Transformation โดยการอาศัยบริการ Microsoft 365 และ Microsoft Azure จาก AIS มาใช้เป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินธุรกิจสำหรับผู้บริหารและพนักงานในแต่ละฝ่าย พร้อมการวางระบบเครือข่ายเชื่อมต่อทุกสาขาในองค์กรเข้าด้วยกันโดยมี Firewall ศูนย์กลางสำหรับการรักษาความมั่นคงปลอดภัย และการเชื่อมต่อเครือข่ายผ่าน Microsoft Edge Node เพื่อให้ทุกการใช้งานบริการ Cloud ของ Microsoft เป็นไปด้วยประสิทธิภาพในระดับที่สูงสุด

จะเห็นได้ว่าในการใช้งาน Cloud ให้ได้อย่างเต็มศักยภาพนั้น ถึงแม้การทำความเข้าใจในเชิงลึกเกี่ยวกับเทคโนโลยีจะเป็นปัจจัยที่สำคัญ แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือการวางกลยุทธ์ทางด้านธุรกิจให้สามารถดึงเอาข้อดีของ Cloud มาใช้สร้างการเติบโตให้กับธุรกิจในแง่มุมต่างๆ ให้ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งประเด็นนี้เอง ทาง AIS Business และ CSL ก็พร้อมที่จะเป็นที่ปรึกษาให้กับธุรกิจของคุณ ในฐานะของผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านการทำ Business Transformation ด้วยเทคโนโลยี Cloud ให้กับองค์กรธุรกิจไทยมาแล้วหลากหลายอุตสาหกรรม

สำหรับผู้ที่สนใจเทคโนโลยี Cloud หรือแนวคิด Cloud Continuum สามารถติดต่อทีมงาน AIS Business ได้ทันที

AIS Business และ CSL พาร์ทเนอร์ที่ช่วยตอบโจทย์ทุกเรื่อง ICT & Digital ที่คุณมั่นใจ

“Your Trusted Smart Digital Partner”

ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่

Email : business@ais.co.th

Web : https://www.csl.co.th

Web : https://business.ais.co.th

About nattakon

จบการศึกษา ปริญญาตรีและโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ KMITL เคยทำงานด้าน Engineer/Presale ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Network Security และ Public Cloud ในประเทศ ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

ยิบอินซอย เปิดพื้นที่โลกแห่งปัญญาประดิษฐ์ “YIP IN TSOI สวัสดี AI 2024” สัมผัสการทำงานของ AI เทคโนโลยีแห่งอนาคต [PR]

เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท ยิบอินซอย จำกัด ได้จัดงาน “YIP IN TSOI สวัสดี AI 2024” ขึ้น ณ ศูนย์ …

JP1/ITDM2 เพื่อการจัดการระบบไอทีที่สะดวกสบายยิ่งขึ้น

ในยุคที่องค์กรต้องพึ่งพาเทคโนโลยีทางด้านไอทีในการดำเนินงาน ส่งผลให้การจัดการสินทรัพย์ไอทีมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการติดตามสินทรัพย์ที่มีความหลากหลาย การจัดการซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งบนอุปกรณ์แต่ละตัว หรือการป้องกันความเสี่ยงเรื่องการเข้าใช้งานระบบ และความปลอดภัยของข้อมูลจากการเข้าถึงทั้งภายในและภายนอกองค์กร ซึ่งสิ่งที่กล่าวทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการทำงาน และความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ