[รีวิว] AIS 5G SD-Branch & SD-WAN: เชื่อมต่อเครือข่ายสาขาหรือร้านค้าง่ายๆ ผ่าน Cloud ยืดหยุ่น มั่นคงปลอดภัย ใช้ Internet ว่องไวด้วย AIS 5G

ในปีที่ผ่านมา อีกหนึ่งโซลูชันที่ AIS Business ได้ทำการเปิดตัวมาเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจองค์กรในการเชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างสาขาและบริหารจัดการ Internet และการเชื่อมต่อเครือข่ายของแต่ละสาขาที่น่าสนใจมากๆ นั้นก็คือโซลูชัน 5G SD-Branch & SD-WAN ที่ทาง AIS ได้ผสานรวมทั้งเทคโนโลยีของ 5G, อุปกรณ์สำหรับ SD-Branch และเทคโนโลยี SD-WAN เข้าไว้เป็นหนึ่งเดียวในราคาที่เข้าถึงได้ง่าย

ทีมงาน TechTalkThai มีโอกาสได้ทดสอบโซลูชันนี้ในการใช้งานจริงอย่างเข้มข้น จึงขอนำประสบการณ์ในการทดลองใช้งานมาเล่าสู่กันฟังในบทความนี้ครับ

ในโซลูชันดังกล่าว จะมีส่วนประกอบในการทดสอบดังนี้

  • AIS 5G FWA เป็นระบบเครือข่าย 5G สำหรับใช้งานทดแทน Internet ในสาขาโดยเฉพาะ ซึ่งจะมาในรูปแบบของ SIM 5G และ Package Internet ให้พร้อมใช้งาน ด้วยประสิทธิภาพและความเสถียรที่เหนือกว่า Internet สำหรับ 5G บนมือถือ
  • AIS SD-Branch Appliance เป็นอุปกรณ์สำหรับติดตั้งในสาขาหรือหน้าร้านที่ต้องการ โดยรวมเอาความสามารถในการทำ SD-WAN, Router, Switch และ Wi-Fi Access Point เอาไว้ในอุปกรณ์เดียว และรองรับการติดตั้ง SIM 5G เพื่อใช้ทำ 5G FWA ได้
  • AIS SD-WAN Gateway เป็นอุปกรณ์สำหรับทำหน้าที่เป็น SD-WAN Gateway ที่รวมเอาความสามารถทั้งหมดของ SD-Branch เอาไว้ และรองรับการทำ VPN Concentrator เป็นศูนย์รวมสำหรับการเชื่อมต่อ VPN ระหว่างสาขา
  • AIS mbox Cloud Management ระบบบริหารจัดการ SD-Branch Appliance และ SD-WAN Gateway ผ่าน Cloud ซึ่งจะช่วยให้การติดตั้งใช้งานอุปกรณ์, การตั้งค่าการทำงาน และการดูแลรักษาระบบโดยรวมเป็นไปได้อย่างง่ายดาย

การทำงานในภาพรวมของโซลูชันนี้เข้าใจค่อนข้างง่าย โดยอุปกรณ์ AIS SD-Branch Appliance จะทำการติดตั้ง AIS 5G SIM มาในตัวเพื่อเชื่อมต่อ Internet ด้วย AIS 5G FWA ทำให้สาขาปลายทางมีระบบเครือข่ายที่เชื่อมต่อ Internet ได้ทันที จากนั้นจึงทำการบริหารจัดการระบบผ่าน Cloud Management เพื่อสร้าง Network Policy, Wi-Fi SSID และการเชื่อมต่อ VPN กลับไปยัง AIS SD-WAN Gateway นั่นเอง

ในการทดสอบครั้งนี้ ทาง AIS Business ได้จัดส่ง AIS SD-Branch Appliance ที่มีการติดตั้ง SIM 5G เอาไว้ พร้อม URL, Username และ Password สำหรับเข้าไปบริหารจัดการผ่าน AIS mbox Cloud Management มาให้ ซึ่งโดยรวมประสบการณ์การใช้งานก็ถือว่าค่อนข้างง่ายดาย ไม่ต้องเปิดคู่มือใดๆ ก็สามารถเริ่มต้นใช้งานด้วยตนเองได้เลย

สำหรับประสบการณ์การใช้งานจริง มีดังนี้

1. แกะกล่อง AIS SD-Branch Appliance อุปกรณ์ดูแข็งแรงทนทาน Mount ติดตั้งกับกำแพงได้ มี Port เพียงพอให้ใช้งานได้ทันที

หลังจากได้รับอุปกรณ์มา ทางทีมงาน TechTalkThai ก็ทำการแกะกล่องทดลองใช้งานทันที โดยภายในกล่องจะมีอุปกรณ์ AIS SD-Branch Appliance พร้อม SIM 5G ติดตั้งมาภายใน, เสารับส่งสัญญาณ 5G & Wi-Fi และเต้าเสียบปลั๊กไฟมาให้ ซึ่งเท่านี้ก็เพียงพอต่อการทดสอบแล้ว

ตัวอุปกรณ์ดูมีความแข็งแรงทนทานดี สามารถติดตั้งใช้งานได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร โดยหากติดตั้งภายนอกอาคารอาจต้องเลือกสถานที่ที่ป้องกันฝนหรือละอองความชื้นซักเล็กน้อย เพราะอุปกรณ์สามารถทน Operating Temperature ได้สูงสุดถึง 70 องศา แต่ยังมีช่องระบายอากาศที่น้ำหรือความชื้นยังอาจเล็ดรอดเข้าไปได้

หลังจากเสียบเสาสัญญาณและปลั๊กไฟเรียบร้อย อุปกรณ์ก็จะเริ่มทำงานทันที โดยจะมีสัญญาณการเชื่อมต่อเครือข่าย 5G ให้ตรวจสอบได้จากภายนอก ซึ่งเมื่อไฟตรงนี้ขึ้นเป็นสีเขียวแล้ว ก็แปลว่าอุปกรณ์พร้อมใช้งานได้แล้ว แต่ในจังหวะนี้จะยังไม่มีการปล่อยสัญญาณ Wi-Fi ออกมา จนกว่าเราจะไปสร้าง SSID ให้เรียบร้อยเสียก่อนด้วยเหตุผลด้านความมั่นคงปลอดภัย แต่หากต้องการเชื่อมต่อผ่าน LAN ก็สามารถทำได้เลย ซึ่งในตัวอุปกรณ์จะสามารถทำหน้าที่เป็น DHCP Server สำหรับแจกจ่าย IP Address ได้

ตอนนี้อุปกรณ์จะยังไม่ได้ทำการเชื่อม VPN ผ่าน SD-WAN เอาไว้ เพราะยังไม่ได้มีการตั้งค่าใดๆ แต่ในการใช้งานจริง หากเราทำการตั้งค่า VPN, Wi-Fi และ Security เอาไว้ก่อน ระบบก็จะสามารถทำงานได้อย่างเต็มความสามารถที่ต้องการทันทีที่นำไปติดตั้งใช้งานที่สาขาหรือหน้าร้าน ก็ถือว่าสะดวกสบายพอสมควรสำหรับธุรกิจที่ต้องมีการจัดการเครือข่ายที่สาขาหลายแห่ง หรือขยายสาขาในระยะเวลาอันสั้นตามต้องการ

2. เริ่มต้นบริหารจัดการผ่าน mbox Cloud Management สร้าง SSID สำหรับเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายที่สาขา และกำหนด Firewall Policy ที่ต้องการ ใช้งาน Internet ผ่าน 5G FWA ได้อย่างรวดเร็ว

หลังจากที่เปิดใช้งานอุปกรณ์เรียบร้อยแล้ว เราก็สามารถเข้าไปทำการบริหารจัดการอุปกรณ์ผ่าน Cloud ได้ทันที โดยเข้าไปยัง URL ของ Cloud Portal ที่ AIS ให้มา และทำการกรอก Username/Password จากนั้นก็จะเข้าสู่หน้า Dashboard ของระบบบริหารจัดการทันที

ภายในหน้า Cloud Portal จะมีเมนูด้วยกันดังนี้

  • Orchestrator เป็นเมนูรวมสำหรับการบริหารจัดการเครือข่ายทั้งในส่วนของ Internet, SD-WAN, LAN, Wi-Fi และ Security
    • Monitoring มีหน้า Dashboard สำหรับตรวจสอบภาพรวมการทำงานของระบบ, SD-WAN สำหรับการจัดการการเชื่อมต่อ VPN ระหว่างสาขา, Hosts สำหรับการจัดการอุปกรณ์แต่ละชุด และ Alerts ที่รวมการแจ้งเตือนสำคัญของระบบเอาไว้ในหน้าเดียว
    • Configuration สำหรับการตั้งค่าอุปกรณ์ SD-WAN Gateway, SD-Branch Appliance และการสร้าง Template ของ Policy ต่างๆ เพื่อนำไปใช้กับแต่ละอุปกรณ์หรือ Object Group ที่กำหนดเอาไว้
  • Admin เป็นเมนูรวมสำหรับการบริหารจัดการในระดับอุปกรณ์และบัญชีผู้ใช้งาน

ระบบดูไม่ได้มีความซับซ้อนอะไร ดังนั้นในขั้นตอนนี้ที่เราต้องการสร้าง Wi-Fi SSID ก็ทำการเลือกที่เมนู Orchestrator > Configuration > Templates > Wireless และทำการสร้าง SSID ที่ต้องการหากต้องการสร้างเป็น Policy กลางและนำไปใช้กับหลายอุปกรณ์ แต่ในการทดสอบนี้เราจะลองทำกับอุปกรณ์เพียงชุดเดียวก่อน ก็สามารถเข้าไปที่เมนู Orchestrator > Configuration > Branch Devices > SD-Branch และเลือกอุปกรณ์ที่ต้องการ ก่อนจะเข้าไปตั้งค่าในปุ่ม Wi-Fi โดยตรงเลยก็ได้เช่นกัน

แนวทางการ Configure ระบบแบบนี้ทำให้เราสามารถบริหารจัดการภาพรวมของระบบได้อย่างยืดหยุ่น ด้วยการสร้าง Template กลางมาใช้กับอุปกรณ์หลายๆ ชุดร่วมกันก็ได้ และยังสามารถทำการปรับแต่งการตั้งค่าเฉพาะรายอุปกรณ์ได้

ในแง่ของ Wi-Fi Security เราสามารถตั้งค่าการยืนยันตัวตนสำหรับแต่ละ SSID ให้ใช้ Open, WPA2-PSK, WPA1/WPA2-PSK, WPA2-EAP-RADIUS ได้ และสามารถเลือกทำ Client Isolation ให้แต่ละ Client ที่เชื่อมต่อไม่สามารถรับส่งข้อมูลระหว่าง Client กันเองได้ รวมถึงยังสามารถทำ Wi-Fi Hotspot เพื่อใช้หน้า Captive Portal ภายนอกซึ่งอาจจะมีการยืนยันตัวตนหรือมีการให้คิดเงินในการใช้ Wi-Fi ซึ่งต้องพัฒนาเพิ่มเติมต่อไปได้

ในขั้นตอนนี้เราได้ทำการสร้าง SSID ขึ้นมาทดสอบ 1 วง เปิดการยืนยันตัวตนด้วย WPA2-PSK เพียงเท่านี้เราก็สามารถเชื่อมต่อ Wi-Fi และใช้งาน Internet ได้แล้วผ่าน Wi-Fi 6 ซึ่งมีความเร็วในการเชื่อมต่อ Internet ที่น่าพึงพอใจ ซึ่ง SIM 5G ที่ AIS ให้มานั้นมีความเร็ว Download/Upload อยู่ที่ 100Mbps/40Mbps และในการทดสอบก็ได้ผลลัพธ์ความเร็วในการ Download เกินกว่า 100Mbps และความเร็วในการอัปโหลดมากกว่า 30Mbps นับว่าทำประสิทธิภาพได้ดีใช้งานได้ สามารถใช้เป็นระบบเครือข่ายหลักในการเชื่อมต่อของหลายๆ กรณีได้เลย

ส่วนในการใช้งานทั่วไป เรียกได้ว่าการใช้ 5G FWA นี้สามารถทดแทน Internet บ้านในการทำงานได้เลย เพราะความเร็วในการตอบสนองนั้นไม่แตกต่างกัน ในขณะที่มี Bandwidth ปริมาณมากเพียงพอสำหรับการทำงานทั่วไปได้สบายๆ ซึ่งจากการทดลองใช้งานเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ก็สามารถใช้ได้ทั้งการทำงานและความบันเทิงตามปกติ ไม่มีประสบการณ์ที่ไม่ดีในการใช้งานเกิดขึ้นเลยในระหว่างนี้

นอกจากนี้ ในการตั้งค่าด้านเครือข่าย ยังสามารถทำการกำหนดค่า Static Routing, Dynamic Routing, VLAN และ Interface ได้เหมือนอุปกรณ์ L3 Switch หรือ Router ดังนั้นการปรับแต่งเส้นทางการรับส่งข้อมูลในแต่ละวงเครือข่ายย่อยๆ ก็สามารถทำได้อย่างอิสระเช่นกัน

3. เชื่อมต่อ VPN กับ AIS SD-WAN Gateway ได้อย่างง่ายดาย รองรับหลายเทคโนโลยีในการเชื่อมต่อ

ในส่วนของ SD-WAN เองก็มีการตั้งค่าให้เลือกได้ทั้งในส่วนของการเชื่อมต่อ VPN และนโยบายด้าน Cybersecurity ที่สามารถปรับแต่งได้

ในส่วนของ SD-WAN นั้นเรียกว่ามีความสามารถที่จำเป็นพื้นฐานมาให้อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อด้วย VPN, SSL-VPN, IPsec VPN หรือการทำ Multi-WAN ที่สามารถตั้งค่า Load Balancing ได้ในแบบ IP-based และเสริมด้วยความสามารถในการทำ Traffic Steering เพื่อควบคุมเส้นทางการรับส่งข้อมูลตาม Flow หรือ Network ได้ตามต้องการ อีกทั้งยังกำหนด QoS เพื่อควบคุมคุณภาพในการรับส่งข้อมูลเครือข่ายได้ทั้งในแบบ Class-based Shaping และ Connection-based Limiting ด้วย

สำหรับการตั้งค่าด้าน Security นั้น หลักๆ จะเป็นเรื่องของการตั้งค่า Firewall และ Hotspot โดยสำหรับ Firewall เราจะสามารถกำหนด Firewall Policy ในแบบ Access Rule, DNAT/Port Forwarding, SNAT/Masquerade สำหรับการเชื่อมต่อทั่วไป และกำหนดได้ว่าในการเชื่อมต่อผ่าน VPN จะสามารถใช้ Port หรือ Protocol อะไรได้บ้าง ซึ่งในส่วนนี้ก็สามารถรองรับการปรับแต่งเครือข่ายให้สามารถใช้งาน Application เฉพาะทางต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย

ส่วนการกำหนด Hotspot นั้นจะถูกใช้สำหรับกรณีที่ต้องการเชื่อมต่อเครือข่ายให้มีการยืนยันตัวตนกับ Captive Portal ภายนอกเป็นหลัก ซึ่งก็จะต้องมี Captive Portal URL และ RADIUS Server รองรับในส่วนนี้ เหมาะสำหรับการนำไปใช้สร้าง Guest Networking หรือธุรกิจที่มีการขายการใช้ Wi-Fi เป็นช่วงระยะเวลาที่กำหนด เช่น โรงแรม เป็นต้น

ความน่าสนใจอีกประการของโซลูชันนี้ก็คือการที่มีระบบสำหรับสร้างหน้า Captive Portal มาให้ด้วยในแบบของ Content Management System (CMS) ที่จะช่วยให้เราสามารถสร้างหน้า Captive Portal ขึ้นมาใช้ได้อย่างสวยงามง่ายๆ โดยไม่ต้องเขียนโค้ดเอง ไม่ต้องออกแบบเองมากนัก มี Template พร้อมให้เอามาแก้ไข หรือจะ Drag & Drop ลากวางองค์ประกอบต่างๆ ด้วยตนเองก็ได้ ซึ่งก็ถือว่าสะดวกไม่น้อย พร้อมทั้งยังมีระบบ Database หลังบ้านมาให้พร้อมใช้ได้อีกด้วย ทำให้ไม่ต้องไปเตรียม Server ภายนอกเองแต่อย่างใด

4. ตรวจสอบทุกการใช้งานผ่าน Dashboard บน mbox Cloud Management แก้ไขปัญหาการใช้งานเครือข่ายได้อย่างคล่องตัว

ในการตรวจสอบการทำงานของโซลูชันนี้ในรายวัน สามารถทำได้ผ่านหน้า Dashboard กลางของระบบที่จะมีการรวบรวมข้อมูลที่หลากหลาย ได้แก่

  • Host Map ตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านแผนที่ โดยเราสามารถเลือกนำอุปกรณ์ของเราแต่ละชุดไปวางบนแผนที่ และตรวจสอบสถานะการทำงานได้จากแผนที่โดยตรง
  • Host Graph Overview สรุปสถิติการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งเราสามารถเลือกได้เองว่าจะนำข้อมูลส่วนใดมาแสดงบ้าง เช่น สถานะ Up/Down, SLA, Uptime, DHCP, Hardware Utilization ไปจนถึงสถิติด้าน Network
  • Problem Summary สรุปเหตุการณ์ผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในระบบเครือข่าย เพื่อให้สามารถตรวจสอบและแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว

5. คิดค่าใช้จ่ายเป็นแบบการเช่าใช้งาน เหมารวมทั้งอุปกรณ์ โซลูชัน และ 5G ครบวงจร

อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้โซลูชัน AIS SD-Branch & SD-WAN นี้น่าสนใจมากๆ ก็คือราคาที่เข้าถึงได้ง่าย โดยจากการสอบถามเบื้องต้นนั้นทราบว่าโซลูชันนี้จะคิดค่าใช้จ่ายเป็นการเช่าใช้แบบรายเดือน โดยรวมมาให้ทั้งในส่วนของอุปกรณ์ที่มีการใช้งาน, บริการ mbox Cloud Management ไปจนถึง Package ของ 5G FWA มาด้วยแล้วในตัว โดยมีราคาเริ่มต้นเพียงแค่หลักพันบาทต่อเดือน

ด้วยราคาที่คุ้มค่าระดับนี้ ก็ทำให้โซลูชันนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้ในองค์กรหรือธุรกิจหลากหลายขนาดเลย ตั้งแต่ร้านค้าขนาดเล็กที่มีหลายสาขา ไปจนถึงธุรกิจที่มีสาขาหลายแห่ง หรือองค์กรขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่ทำงานกระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศก็ตาม

จากที่ได้ทดลองใช้งานมา ทีมงาน TechTalkThai มีความเห็นว่าโซลูชันดังกล่าวจะเหมาะกับธุรกิจดังต่อไปนี้

  • ห้างสรรพสินค้าและร้านค้า ที่ต้องการการเชื่อมต่อเครือข่ายที่เสถียร ไว้ใจได้ มั่นคงปลอดภัย บริหารจัดการผ่าน Cloud ได้ง่าย และไม่ต้องดูแลรักษาอะไรมาก เพราะการติดตั้งที่ง่ายดายและการรองรับการเชื่อมต่อ WAN ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ทำให้สามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างสะดวก ขึ้นร้านค้าสาขาใหม่ได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่การทำ SD-WAN ก็จะช่วยให้การเชื่อมต่อใช้งาน Business Application ภายใน Data Center ขององค์กรเป็นไปได้อย่างง่ายดาย
  • โรงงานและการผลิต ที่ต้องการระบบเครือข่ายสำหรับเชื่อมระหว่างโรงงานหลายสาขาเพื่อรวบรวมข้อมูลจากแต่ละสาขาเข้าด้วยกัน หรือใช้งาน Business Application แบบ On-Premises ในส่วนกลาง หรือแม้แต่โรงงานที่ต้องการเชื่อมต่อ Internet โดยไม่ต้องเดินสาย Fiber จาก ISP เข้ามา โซลูชันนี้ก็ถือเป็นทางเลือกที่สะดวกสบายไม่น้อย
  • ธุรกิจองค์กรทั่วไป ที่ต้องการใช้ SD-WAN ในธุรกิจ และมองประเด็นเรื่องความคุ้มค่าในการจัดการ Internet และระบบเครือข่ายจากหลายสาขาเป็นหลัก ซึ่งจะได้ประโยชน์จากการมี 5G FWA เป็นอีกเส้นทางการเชื่อมต่อ Internet เพิ่มเติมในองค์กรเข้ามาด้วย ช่วยลด Downtime ที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจลงได้เป็นอย่างดี

ข้อดี

  • เป็นโซลูชันเช่าใช้งานที่จบในตัวได้ทั้ง SD-WAN, SD-Branch, Internet และ Management
  • มี 5G FWA ให้เป็นอีกเส้นทางในการเชื่อมต่อเครือข่ายสำหรับองค์กรได้ทันที ซึ่งความเร็วของ 5G FWA ก็สามารถทดแทน Internet ทั่วไปได้อย่างไม่ติดขัด ใช้เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายหลักสำหรับบางสาขาได้เลย
  • ใช้งานง่าย ไม่ต้องเปิด Manual ก็ทำระบบ SD-WAN, SD-Branch เองได้ แต่ถ้าจะ Troubleshoot ลึกๆ ระดับอุปกรณ์หรือตั้งค่าที่ซับซ้อนก็มี Manual ให้ดูเช่นกัน
  • สามารถวางระบบ SD-Branch ได้ทันที จบได้ในอุปกรณ์เดียวสำหรับหลายกรณีการใช้งาน
  • เริ่มต้นใช้งาน SD-WAN ได้อย่างสะดวก มีความสามารถพื้นฐานที่จำเป็นในการเชื่อมต่อและรักษาความปลอดภัยระหว่างสาขามาให้พร้อมใช้
  • อุปกรณ์ที่ให้มามีความทนทานแข็งแรง ติดตั้งได้ง่าย ไม่ต้องดูแลรักษามากนัก
  • บริหารจัดการทุกอย่างได้ผ่าน Cloud เดียว ไม่ต้องวุ่นวายกับการ Integrate ระบบ
  • ราคาคุ้มค่า ตัดสินใจลงทุนได้ง่าย

ข้อเสีย

  • ในส่วนของ SD-WAN ยังขาดความสามารถด้านการทำ Traffic Optimization เมื่อเทียบกับโซลูชัน SD-WAN ชั้นนำ แต่สำหรับหลายกรณีการใช้งานก็ไม่จำเป็นต้องใช้ความสามารถเหล่านั้น
  • ในส่วนของการทำ Network Authentication และ Encryption ยังมีทางเลือกที่ไม่หลากหลายมากนัก

สนใจโซลูชัน SD-Branch หรือ SD-WAN สามารถติดต่อทีมงาน AIS Business ได้ทันทีที่ E-mail : business@ais.co.th หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ >> https://m.ais.co.th/BBHx1jai8

 

About Pawarit Sornin

- จบการศึกษา ปริญญาตรี สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต - เคยทำงานด้าน Business Development / Project Manager / Product Sales ดูแลผลิตภัณฑ์ด้าน Wireless Networking และ Mobility Enterprise ในประเทศ - ปัจจุบันเป็นนักเขียน Full-time ที่ TechTalkThai

Check Also

AWS Storage Gateway คืออะไร ?

AWS Storage Gateway คือบริการพื้ที่จัดเก็นบนคลาวด์ (Cloud Storage) แบบ Hybrid ที่มีพื้นที่เสมือนไม่จำกัดสำหรับแอปพลิเคชัน ที่จะสนับสนุนให้แอปพลิเคชันที่อยู่บน On-Premises สามารถเข้าถึงพื้นที่ Cloud Storage บน …

เชิญร่วมงานสัมมนา Splunk Experience Day Thailand [3 เม.ย. @ Siam Kempinski Hotel Bangkok]

Splunk ขอเชิญผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานด้าน IT Security เข้าร่วมงานสัมมนา Splunk Experience Day Thailand เพื่ออัปเดตเทรนด์และกลยุทธ์ด้าน Security & Observability ล่าสุดในปี 2025 …