รายงานเผย จีนมีสิทธิบัตรด้าน Blockchain มากที่สุดในโลก สูงกว่าสหรัฐอเมริกาถึง 3 เท่า

Nikkei ได้ออกมารายงานถึงผลการวิจัยจาก Astamuse แห่งญี่ปุ่น ถึงการยื่นจดสิทธิบัตรด้าน Blockchain ในอดีตที่ผ่านมาในช่วงปี 2009 – 2018 ซึ่งสหรัฐอเมริกา, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้ และเยอรมนีนั้นได้ยื่นจดสิทธิบัตรรวมกันประมาณ 12,000 รายการ ซึ่งหากนับสิทธิบัตรจากจีนเพียงอย่างเดียวแล้ว ก็มีมากถึง 7,600 รายการหรือราวๆ 60% เลยทีเดียว

Credit: ShutterStock.com

ถัดจากจีนและสหรัฐอเมริกาที่มีส่วนแบ่งรวมกันราวๆ 80% ของสิทธิบัตรเหล่านี้แล้ว เกาหลีใต้นั้นมีการยื่นจดสิทธิบัตรด้วยกัน 1,150 รายการ ในขณะที่ญี่ปุ่นมีการยื่นจดอยู่ที่ 380 รายการ

อ้างอิงจากรายงานของ NGB นั้น Alibaba Group Holding ถือเป็นบริษัทที่มีการยื่นจดสิทธิบัตรมากที่สุดที่ 512 รายการ ตามมาด้วย nChain จากสหราชอาณาจักรที่มีการยื่นจดสิทธิบัตร 468 รายการ ในขณะที่ IBM นั้นมีสิทธิบัตรอยู่ที่ 248 รายการ

การผลักดันเทคโนโลยี Blockchain นี้ถือเป็นวาระแห่งชาติของจีนในการนำ Blockchain มาใช้เป็นศูนย์กลางของการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ และพลิกโฉมอุตสาหกรรมต่างๆ โดยมีนักวิเคราะห์คาดว่าจีนนั้นอาจมีแผนเปิดตัว Digital Currency ในอนาคตอันใกล้นี้

ที่มา: https://cointelegraph.com/news/with-7-600-blockchain-patent-applications-chinese-firms-far-outpace-us

About techtalkthai

ทีมงาน TechTalkThai เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำงานในสาย Enterprise IT ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน Network, Security, Server, Storage, Operating System และ Virtualization มารวมตัวกันเพื่ออัพเดตข่าวสารทางด้าน Enterprise IT ให้แก่ชาว IT ในไทยโดยเฉพาะ

Check Also

Meta เผยแผนเล็งใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพสำหรับดาต้าเซนเตอร์

เป็นที่รู้กันว่าการประมวลผลด้าน AI ต้องการพลังงานสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์อย่างมากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่ง Meta เองเป็นหนึ่งในผู้เล่นด้าน AI ยักษ์ใหญ่ที่ประสบปัญหาเหล่านี้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้จึงต้องมองหาพลังงานทางเลือกที่ยังต้องสอดคล้องต่อเรื่องอัตราการปลดปล่อยคาร์บอน โดยล่าสุดแนวทางการใช้ความร้อนใต้พิภพเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจและใกล้เข้ามาเรื่อยๆแล้ว

OpenAI เปิดตัว OpenAI o1 โมเดลซีรีส์ใหม่โค้ดเนม Strawberry เน้นให้เหตุผลในงานที่ซับซ้อนขึ้น

วันพฤหัสที่ผ่านมา OpenAI ได้เปิดตัวโมเดล OpenAI o1 ภายใต้โค้ดเนม “Strawberry” โมเดล AI ซีรีส์ใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อใช้เวลาในการประมวลผลในคำตอบให้มากขึ้น เพื่อให้สามารถตอบคำถามในปัญหาที่ยากขึ้นกว่าเดิมได้ และกำลังจะเทียบชั้นกับนักศึกษาปริญญาเอก (PhD) ด้านฟิสิกส์ เคมี …