Check Point ได้ออกมาเปิดเผยถึงสถานการณ์และสถิติการโจมตีทางไซเบอร์ในประเทศไทย รวมถึงอัปเดตโซลูชันใหม่จากงาน CPX Vienna และ CPX APAC ที่กำลังจัดขึ้นระหว่าง 18 -19 กุมภาพันธ์ 2025 ณ กรุงเทพฯ เกี่ยวกับแพลตฟอร์ม Infinity ที่นำเสนอเรื่องการรวมศูนย์การจัดการทุกความต้องการไว้ได้ในหน้าจอเดียวกันอย่างแท้จริง
สาระสำคัญเกี่ยวกับข้อมูลอัปเดตด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์จากสถิติของ Check Point พบว่าประเทศไทยยังคงมีอัตราการถูกโจมตีต่อองค์กรต่อสัปดาห์ที่ 3,180 ครั้งเทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 1,843 ครั้ง โดยไฮไลต์สำคัญคือภัยจาก Botnet, Banking Malware และ Ransomware ซึ่งสถิติสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกทั้งหมด ดังนั้นจึงนำไปสู่ข้อบ่งชี้ที่ว่าประเทศไทยคือเป้าหมายที่ผู้ไม่หวังดีจับตาอยู่ นอกจากนี้ในประเด็นด้าน AI ก็ยังกลายเป็นเครื่องมือของผู้ไม่หวังดีได้ในหลายด้าน เช่น การปลอมแปลงเนื้อหาสำหรับแคมเปญ Phishing ทั้งข้อความ วีดีโอ รวมถึงตัว AI เองก็ยังถูกตั้งคำเกี่ยวกับความพร้อมต่อการใช้งานจริงในองค์กรด้วย เพราะยังมีความผิดพลาดขึ้นได้

อย่างไรก็ดีในหลายปีที่ผ่านมา คุณ ชาญวิทย์ อิทธิวัฒนะ ผู้จัดการสาขาประจำประเทศไทย บริษัท เช็ค พอยท์ ซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีส์ เผยว่า Check Point ได้มีขยายผลกับธุรกิจองค์กรไทยประเทศไทยเพิ่มขึ้นออกไปในประเภทต่างๆ เช่น ค้าปลีก และอื่นๆ นี่ถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญที่ Check Point ทุ่มเทอย่างต่อเนื่อง
ในมุมด้านเทคนิคปัจจุบัน Check Point ได้ชูโรง แพลตฟอร์ม Infinity ในการเป็นระบบกลางที่รวมศูนย์การบริหารจัดการทุกโซลูชันของ Check Point ได้ทั้งหมด (มีเมนูในหน้าเดียวไม่ใช่การเปิด Portal นำไปสู่ Console อื่น) ช่วยลดความซับซ้อนในการทำงานได้อย่างมหาศาล โดยมีแกนโซลูชันหลัก 3 ตัวคือ

1.) Quantum – โซลูชันระดับเครือข่ายหรือไฟวอล์ที่ทุกคนเคยรู้จักดี ซึ่ง Check Point ได้ออกแบบให้มีประสิทธิภาพ รองรับการขยายตัว และใช้งานได้ง่าย โดยซอฟต์แวร์เวอร์ชันล่าสุดมีความล้ำสมัยถึงการคิดเผื่อต่อการมาถึงของควอนตัมแล้ว
2.) CloudGuard – โซลูชัน Cloud Security และ Web Application & API ซึ่งอย่างหลังเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการทำงานขององค์กร เพราะแอปพลิเคชันส่วนใหญ่ทำงานผ่านเว็บและ API
3.) Harmony – โซลูชันอีเมล Endpoint SASE และ Generative AI จะอยู่ในส่วนนี้ โดยองค์กรสามารถควบคุมการเข้าถึง Generative AI จากภายในองค์กรและการนำออกข้อมูลสำคัญได้ อีกหนึ่งไฮไลต์คือ Endpoint ที่รวบทุกความสามารถไว้ใน Agent ตัวเดียวจะช่วยลดการใช้ทรัพยากรบนเครื่องได้

นอกจากนี้เอง CheckPoint ยังได้นำเสนอโซลูชัน XDR ที่สามารถรับข้อมูลจากทุกโซลูชันข้างต้น ผสานเข้ากับคลังข้อมูลจาก ThreatCloud AI รวมถึงเปิดรับข้อมูลจาก 3rd Party เข้าเพื่อประมวลผลร่วมกันนำไปสู่การตอบสนองภัยคุกคามได้อย่างมีประสิทธิภาพ วาระเดียวกันนี้ คุณคงศักดิ์ ก่อตระกูล ผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิค ประจำภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้และเกาหลีใต้ บริษัท เช็ค พอยท์ ซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีส์ ยังกล่าวถึงฟีเจอร์ใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวไปในงานใหญ่ CPX Vienna ดังนี้
- มีรบ AI ที่สามารถช่วยดู Policy ได้ว่าสามารถปรับปรุงได้ดีขึ้นหรือไม่ หรือกำหนดการใช้งานให้จำกัดวงมากที่สุด หรือทราบถึงอัตราการใช้งานที่อาจลบออกไปได้
- AIOps ช่วยให้แอดมินสามารถตามติดสภาพการทำงาน การแจ้งเตือน ซึ่งโดยปกติแล้วต้องใช้แรงงานคนเข้าไปคอยติดตามงานซ้ำๆเหล่านี้
- AI Copilot สามารถตอบคำถามข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสาเหตุแบบเรียลไทม์
- Playblocks กำหนดการทำงานซ้ำๆให้ทำได้อย่างอัตโนมัติ
อย่างไรก็ตามภายในงานยังได้กล่าวถึงบริษัท Cyberint ซึ่งเป็นโซลูชันด้าน External Risk Management ที่จะสร้างความได้เปรียบให้กับ Check Point เทียบกับคู่แข่งอื่น เพราะสามารถทราบถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในโลกอินเทอร์เน็ตที่อาจเชื่อมโยงกับองค์กร เช่น มีข้อมูลความลับขององค์กรกำลังถูกเร่ขายหรือแจกในเว็บใต้ดิน บัญชีบริษัทปลอมในโซเชียลมีเดีย ซึ่งความน่าสนใจหรือบริการสามารถประสานงานกับโซเชียลมีเดียเพื่อ Take down โดเมนหรือ บัญชี นั้นลงได้ ที่ปกติมักเป็นเรื่องยุ่งยากและใช้เวลา